แรมซาร์ไซต์ (Ramsar Site) หมายถึง พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ...พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วมขัง พื้นที่พรุ ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล ทั้งที่เป็นน้ำจืดและน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเล มีความสำคัญต่อระบบนิเวศเพราะแหล่งเก็บกักน้ำ ป้องกันน้ำเค็มมิให้รุกเข้ามาในแผ่นดิน...
วันพุธที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557
คลองสำโรง
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.vcharkarn.com/vcafe/reurnthai/uploaded_pics/RW2031x56.jpg)
ประวัติคลองสำโรง
คลองสำโรงเป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำบางปะกง เป็นคลองที่สำคัญของจังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดฉะเชิงเทรา เริ่มจากแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลสำโรง และตำบลสำโรงกลาง (เทศบาลเมืองสำโรงใต้) อำเภอพระประแดงจังหวัดสมุทรปราการ ผ่านพื้นที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอบางเสาธง อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ และบรรจบแม่น้ำบางปะกง ตำบลท่าสะอ้าน อำเภอบางปะกงจังหวัดฉะเชิงเทรา
มีความยาวประมาณ ๕๕.๖๕ กิโลเมตร สำหรับความกว้างของคลองสำโรง ช่วงที่กว้างที่สุดอาจกว้างได้ถึง ๕๐ เมตร และมีความลึกโดยประมาณ ๔-๕ เมตร สันนิษฐานว่า ขุดในสมัยขอมเรืองอำนาจ ระหว่างพ.ศ. ๙๗๘ ถึง พ.ศ. ๑๗๐๐ หลักฐานที่พบคือ คำดั้งเดิมซึ่งเป็นภาษาขอม เช่น ทับนาง หนามแดง บางโฉลง ผู้เชี่ยวชาญทางภาษาขอมชี้แจงว่า "โฉลง" เพี้ยนมาจากคำว่า จรรโลง แปลว่า ยก (ยกในที่นี้ อาจบ่งถึงสภาพท้องถิ่น มีการยกยออยู่ตามลำคลองหรือมีการยกเรือ ลากเรือในช่วงหน้าแล้ง)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/samutprakan/pracha_c/bangplee/sec03p01.html
http://th.wikipedia.org/wiki/คลองสำโรง
ตลาดโบราณบางพลี
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.panoramio.com/photo/38426136
คลองสำโรง สมุทรปราการ ต้นเหตุไที่ด้ชื่อ พระประแดง
ความเป็นมาของชื่อ พระประแดง (ที่สมุทรปราการ) เกี่ยวข้องกับการขุดพบเทวรูป ๒ องค์ ในคลองสำโรง
คลองสำโรง เมื่อนานเข้าก็ตื้นเขินจนเรือใหญ่แล่นไปมาไม่สะดวก
ราว พ.ศ. ๒๐๔๑ เชื่อกันสืบมาว่าสมเด็จพระรามาธิบดี (ที่ ๒ ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๒๐๓๔ -๒๐๗๒ ) โปรดให้ขุดลอกชำระคลองสำโรงกับคลองทับนางให้กว้างขึ้น แล้วเรียกชื่อเดียวทั้งสายว่า คลองสำโรง
สำโรง หมายถึง ต้นสำโรง เป็นคำมาจากภาษาเขมรว่า สํโรง (อ่านว่า ซ็อมโรง)
ชุมชนในคลองสำโรงมีเทวสถานตั้งรูปเคารพในศาสนาพราหมณ์ ครั้นขุดลอกชำระเมื่อ พ.ศ. ๒๐๔๑ จึงพบเทวรูปสัมฤทธิ์ ๒ องค์ เรียกภายหลังว่า พระยาแสนตา องค์หนึ่ง กับ บาทสังขกร อีกองค์หนึ่ง
เทวรูปสัมฤทธิ์ ๒ องค์นี้ คนสมัยหลังเรียกด้วยภาษาปาก (ชาวบ้าน) ว่า พระประแดง มีรากจากภาษาเขมรว่า “กมรเตง” เป็นชื่อยศใช้เรียกพราหมณ์แบบเขมรโบราณสมัยนครธม มีศาลอยู่ตรงโค้งแม่น้ำเจ้าพระยา (กระเพาะหมู) ตรงข้ามปากคลองสำโรง เรียก ศาลพระประแดง
ต่อมายุคปลายกรุงศรีอยุธยายาเรียกบ้านเมืองบริเวณปากน้ำว่า เมืองพระประแดง และ ปากน้ำพระประแดง (ขณะนั้นยังไม่มีชื่อเจ้าพระยา) ครั้นถึงยุครัตนโกสินทร์ ยกเป็นชื่อ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
สุนทรภู่ ได้พรรณนาถึง คลองสำโรง ไว้ในนิราศเมืองแกลงว่า
( แต่งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๙- ๒๓๕๐ สมัยรัชกาลที่ ๑ )
ถึงปากชื่อคลองสำโรงสำราญใจ
พอน้ำไหลขึ้นเช้าก็เข้าคลอง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20110429/95989/คลองสำโรงสมุทรปราการต้นเหตุได้ชื่อพระประแดง.html
คลองสำโรง (ช่วงที่ผ่านวัดบางพลีใหญ่ใน)
คลองสำโรงในระบบอุทกวิทยา
ระบบแม่น้ำ เชื่อมระบบแม่น้ำเจ้าพระยากับระบบแม่น้ำภาคตะวันออก
ลุ่มน้ำประธาน เชื่อมลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยากับลุ่มแม่น้ำบางปะกง
ลุ่มน้ำ เ ชื่อมลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาสายหลักกับลุ่มที่ราบแม่น้ำบางปะกง
เนื่องจากคลองสำโรงเป็นคลองที่สำคัญ จึงทำให้มีสะพานข้ามคลองสำโรงบริเวณถนนสายสำคัญต่อไปนี้ (เรียงลำดับจากต้นน้ำถึงท้ายน้ำ)
• ถนนทางรถไฟสายเก่า
• ถนนสุขุมวิท
• ถนนศรีนครินทร์
• ทางพิเศษบางพลี-สุขสวัสดิ์
• ถนนกิ่งแก้ว
• ถนนเคหะบางพลี
• ถนนเลี่ยงเมืองบางบ่อ
• ถนนรัตนราช
• ถนนบางนา-ตราด
• ถนนฉะเชิงเทรา-บางปะกง
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจากhttp://th.wikipedia.org/wiki/คลองสำโรง
คลองสำโรงบริเวณวัดสำโรงเหนือ
วัดสำโรงเหนือสร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๐๐ สมัยอยุธยาตอนปลาย เดิมมีชื่อว่า "วัดเกาะแก้วศรีเมือง" เหตุที่เรียกนามว่า "สำโรง"เพราะบริเวณที่ตั้งวัดและหมู่บ้านนี้เดิมมีโรงนาอยู่ ๓ โรง คำว่า สามโรงจึงเพี้ยนเป็นสำโรง ครั้นต่อมาเปลี่ยนเป็นวัดสำโรงเหนือแต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า "วัดปากคลองสำโรง" เนื่องจากวัดตั้งอยู่ ปากคลองสำโรง
วัดสำโรงเหนือ ตั้งอยู่ตำบลสำโรงกลาง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจากhttp://www.samrongnuea.org/78-2014-04-24-08-56-09
ป้ายกำกับ:
บทความ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น