แรมซาร์ไซต์ (Ramsar Site) หมายถึง พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ...พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วมขัง พื้นที่พรุ ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล ทั้งที่เป็นน้ำจืดและน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเล มีความสำคัญต่อระบบนิเวศเพราะแหล่งเก็บกักน้ำ ป้องกันน้ำเค็มมิให้รุกเข้ามาในแผ่นดิน...
วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557
ชะวากทะเล.
ชะวากทะเล
ชะวาก หมายถึงช่องกว้าง, ช่องที่เวิ้งว้างเข้าไป.
ชะวากทะเล (Estuary) บริเวณปากแม่น้ำกระบุรี จังหวัดระนอง
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.rspg.or.th/articles/anurak/anurak4_1.htm3
กรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล
จาก....ชะวาก วุ้งเวิ้ง ตะเพิงพัก.... ก็หักเลี้ยวกลัับมาเรื่องราวที่ต้องสื่อทำความเข้าใจกันจริง ๆ ของพื้นที่ชุ่มน้ำทั่วโลก
พื้นที่ชุมน้ำทั่วโลกเปนถิ่นที่อยูอาศัยของสิ่งมีชีวิตนานาชนิด อาจแบงออกตามลักษณะของถิ่นที่อยู อาศัย(habitat) เปน ๒ ประเภทใหญ ๆ ไดแก พื้นที่ชุมน้ำชายฝงทะเล และพื้นที่ชุมน้ำน้ำจืด
ในสองประเภทนี้ประกอบดวยทะเลหรือชายฝั่งทะเล ปากแมน้ำหรือ ชะวากทะเล แหลงน้ำไหล ทะเลสาบหรือบึงที่ลุมชื้นแฉะหรือหนองน้ำ นอกจากนี้ยังรวมถึงแหลงน้ำที่สรางขึ้น เชนบอเลี้ยงสัตวน้ำ พื้นที่ ชลประทาน อางเก็บน้ำ รวมถึงคลองที่ขุดขึ้นอีกด วย
ชะวากคืออะไร หมายถึงอะไร
ชะวาก หมายถึงช่องกว้าง, ช่องที่เวิ้งว้างเข้าไป.
ชะวากทะเล
ชะวากปากอ่าวที่แม่น้ำเวฬุ รอยต่อจันทบุรี-ตราด
ขอขอบคุณภาพจากwww.siamrath.co.th
ชะวากทะเล (อังกฤษ: Estuary) คือ บริเวณส่วนล่างของปากแม่น้ำที่มีความกว้างมากจนมีลักษณะคล้ายอ่าว ตอนบนของชะวากทะเลนั้นจะตอบแหลมเป็นรูปกรวยและจะค่อยขยายขนาดออกไปเมื่อเข้าหาในส่วนที่เป็นทะเลมากขึ้น บริเวณนี้เป็นบริเวณที่มีการผสมกันระหว่างน้ำจืดกับน้ำเค็ม เนื่องจากเป็นพื้นที่บริเวณปากแม่น้ำยุบตัวลงสู่แนวชายฝั่งทะเลจึงได้รับอิทธิพลของน้ำทะเล ตัวอย่างของชะวากทะเลในประเทศไทย ได้แก่ บริเวณปากแม่น้ำกระบุรี จังหวัดระนอง, ปากแม่น้ำเวฬุ จังหวัดจันทบุรี และปากแม่น้ำชุมพร จังหวัดชุมพร
ชะวากทะเล เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลที่มีแม่น้ำหรือลำธารไหลผ่านเชื่อมต่อลงสู่ทะเล ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เกิดขึ้นบริเวณรอยต่อระหว่างสภาพแวดล้อมแบบทางน้ำและสภาพแวดล้อมแบบทะเล จึงทำให้พื้นที่ในบริเวณนี้ได้รับทั้งอิทธิพลจากทะเลอันได้แก่ น้ำขึ้น - น้ำลง, คลื่นและการไหลเวียนของน้ำเกลือ รวมถึงอิทธิพลจากแม่น้ำอันได้แก่ ตะกอนและการไหลเวียนของน้ำจืด ซึ่งการที่มีน้ำจืดและน้ำเค็มไหลเวียนแบบนี้นั้นส่งผลให้พื้นที่ชะวากทะเลประกอบด้วยธาตุอาหารที่สำคัญจำนวนมาก จึงเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเป็นแหล่งอาศัยของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดได้
ชะวากทะเลที่พบในปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่เป็นชะวากทะเลที่เกิดขึ้นในช่วงยุคโฮโลซีน (Holocene) โดยการไหลท่วมของแม่น้ำหรือการกัดเซาะจากธารน้ำแข็งในช่วงที่มีการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลในช่วงประมาณ ๑๐,๐๐๐ - ๑๒,๐๐๐ ปีที่ผ่านมา และการจำแนกลักษณะของชะวากทะเลนั้นจะอาศัยลักษณะทางธรณีสัณฐานหรือรูปแบบการไหลของน้ำในการจำแนก ซึ่งหมายถึงการจำแนกเป็นอ่าว (Bay) หรือ ทะเลสาบ (Lagoon) เป็นต้น
ชะวากทะเลเป็นพื้นที่มีประชากรมาอาศัยอยู่จำนวนมาก คือประมาณร้อยละ60 จากประชากรทั้งหมดของโลกที่ชอบอาศัยตามแนวชายฝั่งทะเลและชะวากทะเล เป็นผลให้พื้นที่ชะวากทะเลนี้ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก เพราะได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆได้แก่ การตกตะกอนของตะกอนจากการพังทลายของหน้าดินเนื่องจากการตัดไม้ทำลายป่า การเพิ่มความเข้มข้นของปริมาณสารเคมีในระบบนิเวศจากสิ่งปฏิกูลและมูลสัตว์ (Eutrophication) มลพิษจากโลหะหนัก, สารพีซีบีเอส (PCBs), ธาตุกัมมันตรังสีและสารประกอบไฮโดรคาร์บอนจากสิ่งปฏิกูล และแนวกั้นน้ำหรือเขื่อนที่ใช้ในการควบคุมปริมาณการไหลของน้ำ
ชะวากทะเลสามารถจำแนกโดยอาศัยลักษณะทางธรณีสัณฐาน ออกเป็นชนิดต่าง ๆ ได้ ๔ ประเภท ดังนี้
ชะวากทะเลแบบร่องน้ำจมตัว (Drowned river valleys-type estuaries)
ชะวากทะเลชนิดนี้ส่วนมากจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาประมาณ ๖,๐๐๐ ถึง ๑๕,๐๐๐ ปีที่ผ่านมา หรือในช่วงปลายของ Wisconsin glaciation (เป็นช่วงเวลาที่ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มขี้นประมาณ ๑๐๐ ถึง ๑๓๐ เมตร) เมื่อระดับน้ำทะเลลดลงจึงได้มีการเกิดลักษณะชะวากทะเลเช่นนี้ขึ้น นอกจากนี้แล้วการทรุดตัวของบริเวณชายฝั่งยังช่วยให้เกิดชะวากทะเลแบบร่องน้ำจมตัวได้อีกด้วย โดยลักษณะเช่นนี้มักเกิดขึ้นในที่ราบต่ำ ขนากกว้าง มีความลึกไม่มากนัก มักพบได้ตามแนวชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก สหรัฐอเมริกา ตัวอย่างเช่น Chesapeake Bay, Delaware Bay, Galveston Bay และ Tampa Bay
ชะวากทะเลแบบลากูน (Lagoon-type estuaries)
ชะวากทะเลชนิดนี้จะได้รับอิทธิพลของน้ำทะเลน้อยมาก เนื่องจากในบริเวณนั้นมีเกาะสันดอน (Barrier islands)หรือจะงอยทราย (Sand spit)เป็นตัวกั้นอิทธิพลจากน้ำทะเลเอาไว้ จะมีช่องแคบๆเท่านั้นที่ติดต่อกับน้ำทะเล โดยมากมักจะพัฒนาอยู่บนบริเวณชายฝั่งที่มีความมั่นคงทางธรณีแปรสัณฐานสูง และมีการสะสมตัวของตะกอนตามแนวชายฝั่ง แต่จะต้องมีอัตราของน้ำขึ้นน้ำลงไม่เกิน 4 เมตร และเกาะสันดอนที่เกิดร่วมกันนั้นมักจะเกิดขึ้นในบริเวณทะเลน้ำตื้นคือลึกไม่เกิน 5 ถึง 10 เมตร และมีกระแสที่มากระทำขนานกับแนวชายหาด โดยมากจะพบตามแนวชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก สหรัฐอเมริกา ตัวอย่างเช่น Barnegat Bay นิวเจอร์ซีย์, Laguna Madre เทกซัส และ Pamlico Sound นอร์ธคาโรไลนา
ชะวากทะเลแบบฟยอร์ด (Fjord-type estuaries)
ชะวากทะเลชนิดนี้เกิดขึ้นในบริเวณที่เป็นร่องลึกเนื่องจากการกัดเชาะของธารน้ำแข็ง ร่องลึกดังกล่าวมีลักษณะเป็นรูปตัวยู บริเวณตื้นของชะวากทะเลชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นปากอ่าว และมักจะได้รับผลจากการไหลเวียนของกระแสน้ำขึ้นน้ำลงจากน้ำลึกไปยังน้ำตื้นบริเวณชะวากทะเล พบได้ตามแนวชายฝั่งของอะแลสกา ตะวันออกของแคนาดา กรีนแลนด์ ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และนอร์เวย์
ชะวากทะเลแบบผลจากธรณีแปรสัณฐาน (Tectonically produced estuaries)
ชะวากทะเลชนิดนี้เกิดจากการทรุดตัว หรือแผ่นดินถูกตัดจากทะเลโดยการเคลื่อนที่ของแผ่นดินที่เกี่ยวข้องกับรอยเลื่อน ภูเขาไฟ และแผ่นดินถล่ม น้ำท่วมจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นในยุคโฮโลซีนซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสร้างชะวากทะเล ตัวอย่างเช่น อ่าวซานฟรานซิสโกที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกตามแนวรอยเลื่อนซานแอนเดรียส
แม่น้ำกระบุรี จังหวัดระนอง
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.dooasia.com/ranong/064m007.shtml
แม่น้ำกระบุรี จังหวัดระนอง
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.dooasia.com/ranong/064m007.shtml
บริเวณปากชะวากทะเล
ชะวากทะเลบริเวณปากแม่น้ำนิธ (Nith River)สกอตแลนด์
ชะวากทะเลของแม่น้ำคลามัธ สหรัฐอเมริกา
ชะวากทะเลบริเวณปากแม่น้ำริโอเดอลาพลาตา (Rio De La Plata) เปอร์โตริโก อเมริกาใต้
ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงลักษณะชะวากทะเล บริเวณปากแม่น้ำอะเมซอน
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
วิกิพีเดีย
http://www.nextsteptv.com/mysci/?p=2072
ป้ายกำกับ:
บทความ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น