วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ลุ่มน้ำบางปะกง ต้นน้ำบางปะกง ๑




นอกจากชะวาก และชะวากทะเลแล้ว ชาวลุ่มแม่น้ำบางปะกง น่าจะควรรู้จักคำว่า ฉนวนไทย


เขตที่ราบในภาคตะวันออก ได้แก่ บริเวณที่ราบใหญ่อยู่ทางตอนเหนือของภาค ต่อเนื่องกับที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาของภาคกลาง ที่ราบนี้อยู่ระหว่างแนวเทือกเขาสันกำแพงและ เทือกเขาจันทบุรี ในเขตจังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว นักภูมิศาสตร์ชาวต่างประเทศเรียกที่ราบนี้ว่า ฉนวนไทย
หมายถึง พื้นที่ราบที่เชื่อมระหว่างที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาของภาคกลาง กับที่ราบต่ำเขมรในประเทศกัมพูชา ที่ราบดังกล่าวเป็นที่ราบดินตะกอน ที่แม่น้ำพัดมาทับถมกัน (alluvial plain) เนื่องจากบริเวณพื้นที่ลุ่มแม่น้ำบางประกง เป็นที่ราบต่ำ โดยเฉพาะบริเวณตั้งแต่ตัวเมืองฉะเชิงเทรา ไปจนถึงปากแม่น้ำบางประกง จึงทำให้แม่น้ำบางปะกง ลดอัตราการไหลของน้ำลงอย่างมาก และไหลคดเคี้ยวมากจนเปลี่ยนทิศทาง




ที่ราบสูงตอนบน
ขอขอบคุณภาพจากhttp://kimpool1122.wordpress.com/ลักษณะภูมิประเทศ

คำว่าลุ่มน้ำบางปะกง หนึ่งในเก้าสุ่มน้ำสยามประเทศ ในสมัยก่อนที่ยังเรียกเขตการปกครองเป็นมณฑล เป็นลุ่มน้ำสำคัญของมณฑลปราจีนบุรี หัวเมืองที่รวมตัวเป็นมณฑลปราจีนบุรีครั้งแรก เป็นหัวเมืองทางลำน้ำบางปะกงเมืองปราจีนบุรี เมืองนครนายก เมืองพนมสารคาม และเมืองฉะเชิงเทรา มีข้าหลวงใหญ่ประจำอยู่ที่เมืองปราจีนบุรีต่อมาได้รับโอนเมืองชลบุรี เมืองพนัสนิคม และเมืองบางละมุง เข้ามาอยู่ในเขตปกครอง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๗

ในครั้งนั้นการเรียกขานแม่น้ำบางปะกงเรียกตลอดตั้งแต่จุดตั้งต้น คนที่เคยไปปราจีนบุรี สมัยก่อนๆ จะพบคำว่า ต้นแม่น้ำบางปะกง และป้ายบอกชื่อเวลาผ่านสะพานข้ามแม่น้ำว่า แม่น้ำบางปะกง แม้แต่ที่นครนายก ก็มีป้ายเขียนว่าต้นแม่น้ำบางปะกง และป้ายที่สะพานข้ามแม่น้ำว่า แม่น้ำบางปะกง (ในราวพ.ศ ๒๕๒๑- ๒๕๒๘ ) ก็ยังเรียกว่าแม่น้ำบางปะกงที่จังหวัดนครนายก



แม่น้ำบางประกงเป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดของภาคตะวันออก ต้นน้ำ เกิดจากเทือกเขาสันกำแพง และเทือกเขาจันทบุรี ไหลผ่านจังหวัดสระแก้วและปราจีนบุรี เรียกว่า แม่น้ำปราจีนบุรี และ แม่น้ำนครนายกซึ่งมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ไหลมารวมกัน แล้วไหลลงสู่อ่าวไทยระหว่างอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา กับอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี แม่น้ำบางปะกง นับเป็นแม่น้ำที่สำคัญที่สุดของภาคตะวันออก

ต่อมาภายหลัง จึงมีการเรียกชื่อแม่น้ำตามเมืองที่ไหลผ่าน เมื่อไหลผ่านปราจีนบุรี เรียกว่าแม่น้ำปราจีนบุรี เมื่อไหลผ่านนครนายกเรียกแม่น้ำนครนายก

และการกล่าวถึงแม่น้ำบางปะกงปัจจุบันจึงเป็นข้อความดังนี้

แม่น้ำบางปะกง มีต้นกำเนิดจากแม่นครนายก และแม่น้ำน้ำปราจีนบุรี ไหลมาบรรจบกันบริเวณ ตำบลบางแตน อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี และจากความยาวของแม่น้ำบางปะกง ประมาณ ๒๓๐ กิโลเมตร จึงเหลือเพียง ๑๒๒ กิโลเมตร จากจุดบรรจบที่ตำบลโยธะกา อำเภอบางน้ำเปรี้ยว


แม่น้ำนครนายก





ต้นน้ำนครนายก
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.siamfishing.com/board/view.php?tid=649373


๑. แม่น้ำนครนายก มีต้นกำเนิดจากยอดเขาใหญ่ ไหลผ่านตัวเมืองนครนายก ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ผ่านเขตอำเภอบ้านนา และอำเภอองครักษ์ ไปบรรจบกับแม่น้ำบางปะกง ที่อำเภอบ้านสร้างจังหวัดปราจีนบุรี มีความยาวประมาณ ๑๓๐ กิโลเมตร

แม่น้ำบางปลากด เกิดจากลำน้ำเล็ก ๆ สองสายคือ ลำน้ำนอก และลำน้ำใน บริเวณอำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรีไหลผ่านตำบลบางปลากด ไปบรรจบแม่น้ำนครนายก ในเขตอำเภอองครักษ์ ในฤดูแล้งมีปริมาณน้ำน้อย
คลองบ้านนา มีต้นกำเนิดจากภูเขาติดต่อกับเขาใหญ่ ในเขตอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ไหลจากทิศเหนือลงไปทิศใต้ไปบรรจบแม่น้ำนครนายก ในเขตอำเภอบ้านนา มีความยาวประมาณ ๕๗ กิโลเมตร
คลองวังบอน คลองยาว คลองปากพลี มีต้นกำเนิดจากเขาสมอปูน ไหลจากทิศเหนือลงใต้ ผ่านเขตอำเภอปากพลี แล้วไหลไปบรรจบแม่น้ำปราจีนบุรี


ลำน้ำสาขาของแม่น้ำนครนายก มีต้นกำเนิดส่วนใหญ่อยู่ในเทือกเขาใหญ่ เป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำนครนายก ลำน้ำสาขาที่สำคัญได้แก่คลองนางรอง คลองตะเคียน คลองท่าด่าน และคลองมะเดื่อ เป็นต้น

ข้อมูลจากhttp://www1.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/oldcity/nakhonnayok1.htm





ขอขอบคุณภาพจากhttp://www1.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/oldcity/nakhonnayok1.htm

๒. แม่น้ำนครนายก มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ได้แก่ เขาสูง เขาแก้ว เขาสามยอด และเขาเขียว
แม่น้ำนครนายก ไหลผ่านเขตอำเภอเมืองนครนายก เขตอำเภอบ้านนา และเขตอำเภอองครักษ์ ไปบรรจบกับแม่น้ำบางปะกงที่อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี เรียกว่า “ปากน้ำโยธะกา” ความยาวประมาณ 130 กิโลเมตร ส่วนลำน้ำย่อยที่สำคัญได้แก่ คลองนางรอง คลองวังตะไคร้ คลองแม่น้ำบางปลากด คลองโบด คลองจมูกกลวง คลองเหมือง คลองสาริกา คลองห้วยทราย และคลองบ้านนา


ข้อมูลจากhttp://www.haii.or.th//wiki/index.php/สภาพภูมิประเทศลุ่มน้ำบางปะกง
(สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร - Hydro and Agro Informatices Institute )


ขอขอบคุณภาพจากhttp://pimchan.blogspot.com/2013/09/blog-post.html

๓. แม่น้ำนครนายก เป็นแม่น้ำสายสำคัญของจังหวัดนครนายก จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดปราจีนบุรี มีความยาวประมาณ ๑๓๐ กิโลเมตร ไหลผ่านทุกอำเภอในจังหวัดนครนายก ต้นน้ำจากภูเขาในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก ไหลผ่านน้ำตกเหวนรก ซึ่งในช่วงต้นน้ำมีชื่อเรียกว่า "คลองท่าด่าน" ถูกกั้นโดยเขื่อนขุนด่านปราการชล หลังจากนั้นได้ไหลผ่าน อำเภอเมืองนครนายก อำเภอบ้านนา และอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก นอกจากนี้แม่น้ำนครนายกยังเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก และอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา กับอำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี สุดท้ายจึงไหลไปบรรจบกับแม่น้ำปราจีนบุรีที่ปากน้ำโยธะกาเป็นแม่น้ำบางปะกง
( ข้อมูลจากวิกิพีเดีย )


แม่น้ำนครนายก
ขอขอบคุณภาพจากhttp://pimchan.blogspot.com/2013/09/blog-post.html


แม่น้ำปราจีนบุรี
ประกอบด้วยลำน้ำสาขาคือแม่น้ำพระปรง แควหนุมาน และแม่น้ำประจันตคาม




แม่น้ำปราจีนบุรี
ขอขอบคุณภาพจากwww.khaosod.co.th


๑..แม่น้ำพระปรง

เกิดจากการไหลมาบรรจบกันของลำคลองสองสายคือ คลองพระปรง และคลองพระสะทึง

คลองพระปรง เป็นลำคลองที่เป็นต้นกำเนิดสำคัญของแม่น้ำพระปรง มีความยาวประมาณ ๓๒ กิโลเมตร มีกำเนิดจากเทือกเขาในเขตติดต่อสามจังหวัดคือ อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา และอำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์



คลองพระสะทึง ขอบคุณภาพจาก
www.thairath.co.th


คลองพระสะทึง เป็นสาขาสำคัญของแม่น้ำพระปรง ตอนต้นจะไหลจากทิศใต้ไปทิศเหนือ ผ่านอำเภอเขาฉกรรจ์ ถึงทางใต้ของอำเภอเมือง ฯ แล้วไหลไปบรรจบคลองพระปรงที่ไหลมาทางด้านเหนือ คลองพระสะทึงมีความยาวมาก มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาจันทบุรี และภูเขาในเขตอำเภอวังน้ำเย็น

http://www1.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/oldcity/prachinburi1.htm

http://www1.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/oldcity/prachinburi1.htm



อ่างเก็บน้ำพระปรง
ชอขอบคุณภาพจากhttp://www.chanpixs.com/forums/index.php?topic=2628.0

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www1.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/oldcity/sakaeo1.htm

http://www1.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/oldcity/prachinburi1.htm




แม่น้ำปราจีนบุรี
ขอขอบคุณภาพจากhttp://topicstock.pantip.com/food/topicstock/2007/11/D6027488/D6027488.html

๒ แควหนุมาน
เกิดจากห้วยเขาขาด เขากำพร้า ในเขตอำเภอนาดี และเขากำแพง เขารังในเขตอำเภอกบินทร์บุรี ไหลมาบรรจบกันที่บ้านสะพานหิน อำเภอกบินทร์บุรี เป็นแควหนุมาน แล้วไหลไปบรรจบกับคลองพระปรง ในเขตอำเภอเดียวกันเป็นแม่น้ำบางปะกง
(http://www1.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/oldcity/prachinburi1.htm )



แควหนุมาน ขอขอบคุณภาพจากportal.rotfaithai.com

ยังข้อมูลอื่นของแควหนุมานดังนี้

๒. ๑ แควหนุมาน เกิดจากลำน้ำ ๒ สายคือลำน้ำโสมง และลำน้ำสะโอมซึ่งเกิดจากภูเขาบรรทัดไหลมาบรรจบกันที่ตำบลสามพันตารวมเป็นแควหนุมานและไหลผ่านมาถึงด่านกบินทร์บุรี (จาก กระทรวงศึกษาธิการ กรมตำรา ภูมิศาสตร์ประเทศสยาม หน้า ๒๗ )
แต่ไม่พบชื่อลำน้ำสะโอมในเอกสารที่ใดเลย นอกจากในปริิญญานิพนธ์ของสุดใจ พงศ๋กล่ำ



ขอขอบคุณภาพจากwww.weekendhobby.com


แควโสมง
ขอขอบคุณภาพจากhttp://board.kobalnews.com/view.php?category=&wb_id=8171


๒.๒ แควหนุมาน ในเขตอำเภอนาดี และแควพระปรงในเขตอำเภอกบินทร์บุรี ไหลมารวมกันที่บริเวณตลาดใหม่ในเขตเทศบาลตำบลกบินทร์ อำเภอกบินทร์บุรีโสมงในเขตอำเภอนาดี โดยลำน้ำใสน้อย ใสใหญ่ไหลมาบรรจบกันที่บ้านปากร่วม ตำบลสะพานหิน เป็นต้นกำเนิด (แควหนุมานเกิดจากการรวมตัวของลำน้ำใสน้อย-ใสใหญ่ลำพญาธาร และลำน้ำห้วยนิดแควหนุมาน และมีลำน้ำห้วยโสมงไหลมาบรรจบกันที่บริเวณบ้านแห่ ตำบลสำพันตา (สำหรับแควพระปรงมีตันกำเนิดมาจากแควพระปรง จังหวัดสระแก้ว โดยมีคลองพระสทึง จากเขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรีไหลมาบรรจบแควพระปรงบริเวณรอยต่อ อำเภอกบินทร์บุรี ซึ่งเรียกว่า บ้านปากน้ำ) โดยไหลผ่านเขตอำเภอกบินทร์บุรี ศรีมหาโพธิ และอำเภอเมืองปราจีนบุรีไปรวมกับแม่น้ำนครนายก ที่ตำบลบางแตน อำเภอบ้านสร้าง เป็นแม่น้ำบางประกง มีความยาว ๑๘๐ กิโลเมตร

(ทีี่มาของข้อมูล http://www.prachin.tmd.go.th/aear.htm )-สถานีอุตุนิยมวิทยาปราจีนบุรี กรมอุตุนิยมวิทยา




๒.๓ อำเภอกบินทร์บุรี (จังหวัดปราจีนบุรี) เดิมชื่อบ้านด่านหนุมาน เป็นหมู่บ้านทำหน้าที่เป็นด่านแห่งหนึ่งบนเส้นทางไปบ้านเมืองทางโตนเลสาป (ทะเลสาบ) ในกัมพูชา บ้านด่านหนุมาน มีลำน้ำไหลผ่าน เรียก แควหนุมาน ต้นน้ำเกิดจากลำห้วยน้อยใหญ่บนเทือกเขาใหญ่ เขต อำเภอนาดี (จังหวัดปราจีนบุรี) ไหลไปรวมกับลำน้ำพระปรง (มาจาก จังหวัดสระแก้ว) เป็นแม่น้ำปราจีนบุรี

(ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีกวาดต้อนผู้คนชาติพันธุ์หลากหลายจากดินแดนต่าง ๆ เข้ามา เลยมีคนตั้งหลักแหล่งทางบ้านด่านหนุมานและใกล้เคียงมากขึ้น จึงยกบ้านด่านหนุมานขึ้นเป็นเมืองกบินทร์บุรี ราวหลัง พ.ศ. ๒๓๖๙

ชื่อกบินทร์บุรี ผูกคำขึ้นใหม่ให้มีเค้าชื่อเดิม (ว่า หนุมาน คือลิง ในรามเกียรติ์) ได้จาก กระบี่ แปลว่า ลิง, บุรี แปลว่า เมือง รวมหมายถึงเมืองลิง คือ หนุมาน เดิมเขียน “กระบินทรบุรี” แต่นานเข้ากลายเป็นกบินทร์บุรี

(ที่มาของแควหนุมาน 2 และ ๓ จาก http://www.sujitwongthes.com/2012/09/siam27092555/ )



แม่น้ำปราจีนบุรี
ขอขอบคุณภาพจากwww.wongnai.com


อำเภอกบินทร์บุรีมีสถานะเป็นเมืองมาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยมีที่ว่าการเมืองตั้งอยู่ที่บ้านหนุมาน ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔ ได้ย้ายที่ว่าการเมืองไปอยู่ที่บ้านปากน้ำ ซึ่งเป็นจุดที่แควหนุมานและแควพระปรงรวมกันเป็นแม่น้ำปราจีนบุรี และเมื่อมีการปฏิรูประบบการปกครองก็มีสถานะเป็นจังหวัดกบินทร์บุรีเรื่อยมา

ต่อมาทางราชการเห็นว่าการคมนาคมระหว่างจังหวัดกบินทร์บุรีและจังหวัดปราจีนบุรีมีความสะดวกมากขึ้นแล้ว จึงมีประกาศเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๙ ให้ยุบจังหวัดกบินทร์บุรีลงเป็นอำเภอขึ้นกับจังหวัดปราจีนบุรีจนถึงปัจจุบัน

ผักกระเฉดชะลูดน้ำ เลื่องลือนามด่านหนุมาณ
ปราการภาคบูรพา แร่มีค่าทองคำ
ต้นแม่น้ำบางปะกง ดงข้าวโพดแหลมทอง
ถิ่นของนกเป็ดน้ำ งามล้ำหนองปลาแขยง

(ที่มา วิกิพีเดีย)

ผู้จะนำข้อมูลแควหนุมานนี้ไปใช้คงต้องพิจารณาข้อมูลข้างต้น

๓ .ลำน้ำประจันตคาม



ลำน้ำประจันตคาม
ขอขอบคุณภาพจากhttp://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=3147&postdays=0&postorder=asc&start=250


๓.๑ลำน้ำประจันตคาม เกิดจากเทือกเขาในเขตอำเภอประจันตคาม ใหลมาบรรจบแม่น้ำบางปะกง ที่บ้านห้วยแหลม อำเภอเมือง ฯ

(ข้อมูลจาก http://www1.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/oldcity/prachinburi1.htm )


๓.๒ ลำน้ำประจันตคาม เป็นแควขนาดเล็ก ต้นน้ำเกิดจากทิวเขาบรรทัดไหลไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ไปบรรจบลำน้ำปราจีนที่บ้านกระแจะ มีความยาวประมาณ ๔๕ กิโลเมตร

( ข้อมูลจาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=106484 )



ปากคลองประจันตคามอยู่ฝั่งตรงข้าม ไหลมา“กบแจะ”แม่น้ำปราจีนบุรี (บางปะกง) ที่ขวางข้างหน้า แล้วไหลจากขวาไปซ้ายออกอ่าวไทย
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.sujitwongthes.com/2010/12/พระเจ้าตากข้ามน้ำ-ที่-“ด/

(บ้านกบแจะ หมายถึงชุมชนที่ตั้งอยู่บริเวณมีลำน้ำสองสายไหลมาพบกัน แจะกัน พบกัน คือ คลองประจันตคามจากทางเหนือ กับแม่น้ำปราจีนบุรีจากตะวันออก แล้วไหลรวมเป็นแม่น้ำเดียวกันไปทางตัวเมืองปราจีนบุรี )



และมีการสรุปว่าแม่น้ำบางปะกง มาจากไหน? โดยคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ อีกครั้งดังนี้


แม่น้ำบางปะกง เกิดจากแม่น้ำ ๒ สาย คือ แม่น้ำนครนายก (จังหวัด นครนายก) กับแม่น้ำปราจีนบุรี (จังหวัด ปราจีนบุรี) ไหลรวมกันที่ อำเภอ บางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา แล้วเรียกชื่อใหม่ว่าแม่น้ำบางปะกง ไหลลงอ่าวไทยที่ ตำบลบางปะกง อำเภอ บางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา

แม่น้ำปราจีนบุรี มีต้นน้ำจาก ๒ ทาง คือทางเหนือ กับทางใต้

ทางเหนือ ไหลลงใต้ จากทิวเขาใหญ่ มี ๔ สาย คือ ๑. แม่น้ำพระปรง ๒. แม่น้ำหนุมาน ๓. ห้วยยาง ๔. ห้วยโสมง ทั้ง ๔ สาย ไหลไปรวมกันที่ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี เรียกแม่น้ำปราจีนบุรี
จากนั้นไหลผ่าน อำเภอ ศรีมหาโพธิ, อำเภอประจันตคาม, อำเภอเมืองปราจีนบุรี

ทางใต้ ไหลขึ้นเหนือ มี ๑ สาย เรียกคลองพระสทึง (สทึง เป็นภาษาเขมร แปลว่า คลอง) จากทิวเขาอำเภอต่าง ๆใ น จังหวัด จันทบุรี คือ อำเภอมะขาม, อำเภอโป่งน้ำร้อน, และ อำเภอสอยดาว
ผ่านอำเภอต่าง ๆ ใน จังหวัด สระแก้ว คือ อำเภอวังสมบูรณ์, อำเภอวังน้ำเย็น, อำเภอเขาฉกรรจ์, และ อำเภอเมืองสระแก้ว แล้วรวมกับแม่น้ำพระปรง ไหลไป อำเภอ กบินทร์บุรี รวมกับแม่น้ำหนุมาน เรียกแม่น้ำปราจีนบุรี

(ท้องที่ อำเภอ กบินทร์บุรี จังหวัด ปราจีนบุรี จะเห็นว่าเป็นที่รวมรับน้ำอย่างน้อย ๕ สาย จากทิศทางต่าง ๆ กัน จึงมีน้ำหลากมารวมท่วมมากกว่าที่อื่น)

บริเวณแนวคลองพระสทึง (ทำแนวเหนือ-ใต้) เป็นที่ดอนกลายเป็นสันปันน้ำ แบ่งน้ำเป็น ๒ ส่วน ไหลไปทางตะวันตกลงอ่าวไทย กับไหลไปทางตะวันออกลงโตนเลสาบประเทศกัมพูชา


คลองท่าลาด
หน้าวัดหนองรี จังหวัดฉะเชิงเทรา

แม่น้ำบางปะกง ยังมีลำน้ำสาขาอีก ๑ สาย เรียกคลองท่าลาด (อยู่ใน อำเภอพนมสารคาม จังหวัด ฉะเชิงเทรา) เกิดจากแควระบม (อำเภอสนามชัยเขต) กับแควสียัด (อำเภอ ท่าตะเกียบ) รวมกันที่ ตำบล เกาะขนุน อำเภอพนมสารคาม ไหลผ่าน อำเภอ ราชสาส์น ลงรวมแม่น้ำบางปะกงที่ ตำบลปากน้ำ (เจ้าโล้) อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา



ทั้งหมดนี้ไม่ได้คิดหรือเดาขึ้นมาเองโดยไม่ตรวจสอบ แต่สรุปจากอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย เล่ม ๑ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พิมพ์ครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๔๕ ) และจากประสบการณ์ตรงที่เคยไปสำรวจถึงบริเวณต้นน้ำทุกสายหลายปีมาแล้ว
ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1381405758



ทั้งนี้พลอยโพยมก็วนไปวนมากับต้นน้ำของแม่น้ำบางปะกงเหมือนอยู่ในเขาวงกต มา ๔-๕ วัน หาทางออกมาจากต้นน้ำที่จังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดนครนายกไม่ได้ จึงขอเสนอเรื่องราวของต้นน้ำแม่น้ำบางปะกง ตามแหล่งข้อมูลตามที่กล่าวมา
รวมทั้งการใช้ คำว่าแคว และคำว่าคลอง ซึ่งมีความหมายของแคว และคลอง แนบท้ายบทความข้างล่างนี้มาด้วยแล้ว



คลองท่าลาด
หน้าวัดหนองรี จังหวัดฉะเชิงเทรา


แม่น้ำบางปะกงมีึความเกี่ยวข้องกับทิวเขาดังนี้
๑..ทิวเขาสันกำแพง

เป็นทิวเขาที่มีทิศทางเฉียงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ กั้นเขตจังหวัดนครราชสีมากับ จังหวัดนครนายก และปราจีณบุรี ทางด้านตะวันออกเป็นเขตจังหวัดนครราชสีมา ด้านตะวันตกเป็นเขตจังหวัดนครนายก และปราจีณบุรี บางตอนของทิวเขานี้ เช่นทางด้านนครราชสีมาเป็นเขาหินปูน ซึ่งสันนิษฐานว่า เป็นขอบของปากปล่องภูเขาไฟ

ยอดเขาสูงของทิวเขานี้ได้แก่ เขาแหลม สูง ๑,๓๒๘ เมตร เขาร่มน้อย สูง ๑,๐๓๓ เมตร เขาเขียว สูง ๑,๒๗๐ เมตร เขาแก้ง สูง ๑,๐๑๓ เมตร เขาอินทนิล สูง ๑,๐๗๘ เมตร เขาฝาละมี สูง ๑,๐๖๓ เมตร และเขาสามยอด สูง ๑,๑๑๙ เมตร


ทิวเขาสันกำแพงมีช่องทางไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สำคัญอยู่สามช่องทาง คือ ช่องบุขนุนช่องบุพราหมณ์ และช่องตะโก
ทิวเขาสันกำแพงได้แบ่งน้ำลงสู่ลำน้ำต่าง ๆ ดังนี้คือ ไหลลงลำน้ำป่าสัก ได้แก่ ลำห้วยมวกเหล็ก มีน้ำตลอดปี ไหลลงลำน้ำมูล ได้แก่บรรดาสาขาต่าง ๆ ของลำน้ำมูล และลำตะคอง ไหลลงลำน้ำปราจีนบุรี ได้แก่ ลำน้ำนครนายก ลำน้ำประจันตคาม และลำน้ำกบินทร์ ลำน้ำดังกล่าวนี้มีน้ำตลอดปี
บริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์ของเทือกเขานี้ได้แก่ บริเวณอำเภอปากช่อง และอำเภอจันทึก จะมีน้ำตลอดปี


๒..ทิวเขาจันทบุรี

เริ่มต้นจากจังหวัดชลบุรีทอดตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ กั้นเขตจังหวัดปราจีนบุรี กับจังหวัดชลบุรี ระยอง และจันทบุรีออกจากกันคนละด้าน เป็นทิวเขาที่อยู่ระหว่างลุ่มน้ำปราจีนบุรีกับ อ่าวไทยด้านตะวันออก เป็นเทือกเขาหินแกรนิตที่มีเทือกเขาหินปูนกระหนาบอยู่สองด้าน คือทางตอนกลางของบริเวณเขาเป็นหินแกรนิต ทางชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย และลุ่มน้ำปราจีนบุรี เป็นเทือกเขาหินปูนในเขตพื้นที่ จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นตอนต้นของทิวเขานี้

มีเขาเขียว สูง ๙๗๙ เมตร มีอีกชื่อหนึ่งเขาทิวเขาบางปลาสร้อย ในเขตอำเภอแกลง จังหวัดระยอง มีเขาชะเมา สูง ๑,๐๓๕ เมตร ในเขตจังหวัดจันทบุรีมีเขาสอยดาวเหนือ สูง ๑,๕๘๐ เมตร เขาสอยดาวใต้ สูง ๑,๖๓๙ เมตร เขาทรายขาว สูง ๑,๔๗๒ เมตร เขาพระบาท สูง ๑,๐๗๙ เมตร เขาสระบาป สูง ๙๓๒ เมตร พนมกะบุงบายกะเร็ง สูง ๙๔๗ เมตร และพนมตาเด็ด สูง ๑,๑๑๘ เมตร


ทิวเขาจันทบุรีปันน้ำลงทางลุ่มน้ำปราจีนบุรี และลงทางอ่าวไทย ทางลุ่มน้ำปราจีนบุรีมีคลองต่าง ๆ คือ คลองท่าลาด ห้วยไคร้ และคลองนางชิง ทางด้านอ่าวไทยมีลำน้ำต่าง ๆ คือ หนองปลาไหล ลำน้ำประแส และลำน้ำจันทบุรี



เขาสอยดาว
ขอขอบคุณภาพจากboard.trekkingthai.com

๓..ทิวเขาบรรทัด

ทิวเขาบรรทัด เป็นทิวเขาเทือกเดียวกับทิวเขาจันทบุรี แต่มีทิศทางจากจังหวัดจันทบุรีลงไปทางใต้ จนถึงจังหวัดตราด และติดต่อกับทิวเขาอบเชยในเขมร ทิวเขานี้กั้นเขตแดนไทยกับเขมรทางด้านจังหวัดตราด และปันน้ำลงสองข้างด้วยกันคือ
ทางอ่าวไทย ได้แก่ลำน้ำเวฬุในจังหวัดตราด ทางเขมรได้แก่ลำน้ำต่าง ๆ ที่ไหลลงทะเลสาบเขมร
ช่องทางผ่านทิวเขานี้ไปสู่ประเทศเขมร ในเขตอำเภอไพลินมีช่องทางอยู่หลายช่องทางด้วยกัน
ยอดเขาสูงในทิวเขานี้ได้แก่ เขาดาบ สูง ๑,๒๕๖ เมตร

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=106484



หมายเหตุ
แคว : (แคฺว) น. ลํานํ้าที่ไหลมารวมกับลํานํ้าอีกสายหนึ่งซึ่งมีขนาดใหญ่พอ ๆ กัน เช่น แควน้อย แควใหญ่; แม่น้ำหรือลำธารสายเล็กที่ไหลลงสู่แม่น้ำหรือลำธารสายใหญ่ เช่น แควป่าสัก
ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.online-english-thai-dictionary.com/?word=%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B8%A7&d=2&m=0&p=1


คลอง
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ กล่าวถึงความหมาย ของคลองว่า เป็นทางน้ำ หรือลำน้ำที่เกิดขึ้นเอง หรือขุดเชื่อมกับแม่น้ำ หรือทะเล นอกจากนี้ พจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๔ (ปรับปรุง) เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ อธิบายว่า คลอง คือ ลำน้ำที่ขุดขึ้น เพื่อใช้ในการคมนาคมขนส่ง โดยเชื่อมการติดต่อระหว่างแม่น้ำ หรือน่านน้ำ ให้สะดวกขึ้น หรือขุดเพื่อช่วยในการชลประทาน
(ขอขอบคุณข้อมูลจากสารานุกรมไทยฉบับเยาวชน)

คลอง
(อังกฤษ: canal) คือ ทางน้ำหรือลำน้ำที่เกิดขึ้นเองหรือขุดเชื่อมกับแม่น้ำหรือทะเล ในภาษาไทยมีคำที่ใช้เรียกทางน้ำหรือลำน้ำขนาดต่าง ๆ รวมกันว่า แม่น้ำคูคลอง โดยแม่น้ำเป็นลำน้ำที่มีขนาดใหญ่มาก ส่วนคลอง และคูมีขนาดเล็กรองลงมาตามลำดับ คลองมักจะเชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำ สู่แม่น้ำ หรือ ระหว่างทะเลสาบ และมหาสมุทร คลองมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการส่งน้ำสำหรับการเดินทาง และอุปโภคบริโภค คลองที่เก่าแก่ที่สุดปรากฏในยุคเมโสโปเตเมีย ๔,๐๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช

ขอขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย

4 ความคิดเห็น:

  1. ได้ความรู้ดีมากครับ

    ตอบลบ
  2. บันทึกได้ละเอียดมากค่ะ เก็บเป็นข้อมูลอ้างอิงได้เลย

    ตอบลบ
  3. ขอขอบคุณองค์ความรู้แหล่งกำเนิดต้นน้ำ ลุ่มแม่น้ำบางปะกง ปราจีนบุรี นครนายก ด้วยครับ

    ตอบลบ
  4. ขอขอบคุณในองค์ความรู้ และแหล่งต้นกำเนิดลุ่มน้ำบางปะกง เพื่อการนำไปเผยแพร่ต่อสาธารณะชน ด้วยครับ

    ตอบลบ