วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สงครามอานามสยามยุทธ






ขอขอบคุณภาพจาก tumtoilet3.tarad.com



เมื่อประเทศญวนเกิดกบฏไกเซิน
ต่อมาพระยาชลบุรีอยู่เป็นผู้นำองเชียงสือเจ้าเมืองญวนซึ่งถูกกบฏไกเซินล้มล้างราชบัลลังก์เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โดยองเชียงสือขอเป็นบุตรบุญธรรมพระยาชลบุรี

องเชียงสือได้รับใช้เบื้องพระยุคลบาททั้งในราชการสงครามและได้นำเอาประเพณีการแสดงต่าง ๆ ของญวนมาเผยแพร่ จนเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๔๔         องเชียงสือสามารถปราบกบฏไกเซินได้ด้วยความช่วยเหลือด้านอาวุธและอาหารของกองทัพไทย จึงตั้งตนเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า พระเจ้าเวียดนามยาลอง ส่งต้นไม้ทองเงินมาถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก


ภาพวาดของกษัตริย์ยาลอง(องเซียงสือ) ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์เหวียน ของเวียตนาม
วาดตอนที่อยู่ในไทยปี ค.ศ .1783

ขอขอบคุณภาพจากhttp://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/03/K7677562/K7677562.html

อย่างไรก็ดีฝ่ายญวนเองต้องการทรัพยากรจากลาวและเขมรเพื่อเลี้ยงตัวเองและสร้างความเข้มแข็ง จึงต้องขยายอิทธิพลเข้าไปในเขมรและลาวด้วย ฝ่ายไทยเองถึงแม้จะไม่พอใจ แต่ไม่ต้องการทำศึกหลายด้าน จึงทำเป็นไม่รับรู้ ทำให้ญวนขยายอิทธิพลเข้าไปในเขมรได้อย่างเปิดเผยและมีท่าทีขยายเข้าไปในลาว

การขยายอิทธิพลและท่าทีไม่เป็นมิตรของญวน ดังประจักษ์จากการที่ญวนมีส่วนสนับสนุนอย่างลับ ๆ ในกรณีกบฏเจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทน์ รวมทั้งกรณีกษัตริย์เขมรต่อต้านอำนาจของไทย ทำให้ไทยไม่สามารถอดทนได้อีกต่อไป




จักรพรรดิ์ญาลอง หรือ Kia Long หรือ องเชียงสือ จักรพรรดิ์ราชวงศ์เหวียนองค์แรก...ณ พระราชวังหลวงเมืองเว้
ขอขอบคุณภาพจากhttp://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/03/K7677562/K7677562.html


ต่อมาพม่าต้องตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ประกอบกับไทยเลือกไม่ปะทะกับอังกฤษด้วยการขยายอิทธิพลลงไปในแหลมมลายู ทำให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่ สามารถเลือกเผชิญหน้ากับญวนทางตะวันออกได้อย่างเต็มที่ โดยทำสงครามกับญวนที่เรียกว่า สงครามอานามสยามยุทธ หรือสงครามไทยญวน ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๗๖- ๒๓๙๐ ซึ่งเป็นสงคราม ใช้เวลานาน ๑๔ ปี ระหว่างสองชนชาติใหญ่ที่เหลืออยู่ในขณะนั้นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สงครามครั้งนั้นเกิดขึ้นเพื่อชิงความเป็นใหญ่ในเขมร อันเป็นดินแดนกั้นกลางระหว่างไทยกับญวน สงครามที่เนิ่นนานเช่นนี้ก่อความเสียหายให้ทั้ง ๒ ฝ่ายอย่างมาก


ใน พ.ศ.๒๓๗๖ เมืองไซง่อนก่อการจลาจลโดยฝ่ายกบฏ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็น แม่ทัพบกยกกองทัพไปตีเขมรและหัวเมืองญวนลงไปถึงเมืองไซง่อนเพื่อช่วยฝ่ายกบฏ และให้เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) เป็นแม่ทัพเรือไปตีหัวเมืองเขมรและญวนตามชายฝั่งทะเล โดยไปสมทบกับกองทัพบกที่เมืองไซง่อน ในส่วนของกองทัพเรือต้องยกกำลังไปหลายครั้งเช่นเดียวกับการรบทางบก



พระเจ้ามินมาง
ขอขอบคุณภาพจากhttp://salakohok.freeforums.org/2-t11-75.html

http://dlxs2.library.cornell.edu/s/sea/

จากหนังสือ La Cochinchine en 1859 : notes extraits d'une correspondance inedite




เรือรบมีชื่อของสยาม คือเรือสำเภาจีนที่เป็นแบบ "เรือสำเภาปากปลา" กว้าง ๙ ศอก ยาว  ๑๑ วา ติดปืนใหญ่ ๔-๖ กระบอก
ขอขอบคุณภาพจากhttp://salakohok.freeforums.org/2-t11-270.html

ใน พ.ศ.๒๓๘๔พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์เป็นแม่ทัพเรือยกกองทัพเรือ ไปตีเมืองโจดก เรือรบไทยที่เดินทางไปร่วมรบในครั้งนี้มี
 เรือกำปั่นพุทธอำนาจ
เรือเทพโกสินทร์
เรือราชฤทธิ์
เรือวิทยาคม
เรืออุดมเดช เรือค่าย
เรือปักหลั่น และ
เรือมัจฉานุ

ซึ่งใช้บรรทุกเสบียงอาหาร อย่างไรก็ดีการรบทางเรือครั้งนี้ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากทหารไทยไม่ชำนาญภูมิประเทศ และเรือไทยมีสมรรถนะที่ด้อยกว่า เรือญวน (ดูรายละเอียดใน พลเรือตรี แชน ปัจจุสานนท์, ๒๕๐๘ ) ทั้งในเรื่องของขนาดและประสิทธิภาพ




ภาพขุนนางญวน นั่งเปลญวน
จากหนังสือ The French in Indo-China : with a narrative of Garnier's explorations in Cochin-China, Annam, and Tonquin
ขอขอบคุณภาพจากhttp://salakohok.freeforums.org/2-t11-75.html

ด้วยเหตุผลดังกล่าวพระบาทสมเด็จพระนั่ง เกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงเห็นความจำเป็นที่จะต้องต่อเรือรบใหม่เป็นเรือป้อมอย่างญวน สามารถติดตั้งปืนใหญ่ได้หลายกระบอก ทั้งนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาพระคลังเป็น แม่กอง อำนวยการต่อเรือป้อมแบบญวนไว้ใช้ในราชการ  ๘๐ ลำ ในที่สุดการรบระหว่างญวนกับไทยที่ยืดเยื้อมาถึง ๑๔ ปี ก็ต้องยุติลง

โดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ยกเลิกการศึกครั้งนี้และมีการเจรจาสงบศึกใน พ.ศ. ๒๓๙๐ เพราะทรงพิจารณาเห็นว่ามีแต่จะสิ้นเปลืองทรัพยากรและกำลังคน เปรียบเหมือนว่ายน้ำท่าม กลางมหาสมุทรไม่เห็นเกาะเห็นฝั่ง


หอสังเกตการณ์ญวน ริมน้ำ
ขอขอบคุณภาพจากhttp://salakohok.freeforums.org/2-t11-75.html


ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถรบชนะอีกฝ่ายได้เด็ดขาด ทำให้ต้องทำสนธิสัญญาสงบศึกกัน โดยไทยยังคงไว้ซึ่งสิทธิในการสถาปนากษัตริย์เขมร แต่เขมรก็ยังต้องส่งเครื่องบรรณาการแก่ญวนทุก ๆ ๓ ปี ถือเป็นข้อตกลงที่น่าพอใจทั้ง ๒ ฝ่าย สงครามจึงยุติลง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://th.wikipedia.org/wiki/อานัมสยามยุทธ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น