วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ลุ่มน้ำ...สยามประเทศ



แม่น้ำโขงต้นกำเนิดจาภูเขาในทิเบตไหลผ่านจีน
ขอขอบคุณภาพจากhttp://soclaimon.wordpress.com/2013/06/16/

ลักษณะสำคัญของแม่น้ำโขงนั้นมีลักษณะแตกต่างกัน บ้างมีตลิ่งสูงชันมากทั้งสองฝั่ง ไหลเลี้ยวเลาะไปตามไหล่เขาบ้างเป็นหาดทรายกว้าง บ้างเป็นเกาะ กระแสน้ำ ได้ไหลจากทางเหนือลงสู่ทางใต้ตลอดปี ระดับน้ำในฤดูฝนกับฤดูแล้งจะมีความแตกต่างกันอย่างมาก ความเร็วของกระแสน้ำนั้นขึ้นอยู่กับฤดูกาล แผ่นดินในแม่น้ำโขงเป็นดินทราย และมีเกาะแก่งน้อยใหญ่นับร้อยแห่ง เรียงรายอยู่ตลอดแม่น้ำ



แม่น้ำหลานชางเจียงผ่านประเทศจีนลงใต้
ขอขอบคุณภาพจากhttp://soclaimon.wordpress.com/2013/06/16/




เส้นทางการขนส่งทางน้ำผ่านแม่น้ำโขง จากเมืองจิ่งหงของสิบสองปันนาในยูนนานล่องเรือตามแม่น้ำโขง(ในจีนเรียกแม่น้ำหลานชางเจียง หรือแม่น้ำล้านช้าง )
ขอขอบคุณภาพจากthai.cri.cn



ลำน้ำโขง
ขอขอบคุณภาพจากboard.postjung.com


แม่น้ำโขง (คำเมือง: Lanna-river-Khong.png) มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัย ไหลผ่านมณฑลชิงไห่ ประเทศจีน และบริเวณที่ราบสูงธิเบต ไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ ผ่านประเทศจีน ประเทศลาว ประเทศพม่า ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา และประเทศเวียดนาม มีความยาวทั้งหมด ๔,๘๘๐ กิโลเมตร เป็นความยาวในประเทศจีน ๒,๑๓๐ กิโลเมตร ช่วงที่แม่น้ำไหลผ่านประเทศจีนมีชื่อเรียกว่า แม่น้ำหลานชางเจียง หรือ แม่น้ำล้านช้าง และเมื่อไหลผ่านเข้าเขตประเทศพม่า และประเทศลาว เรียกว่า แม่น้ำของ รวมถึงคำเมืองล้านนาก็เรียก แม่น้ำของ เช่นกัน แต่ในภาษาไทยเรียกว่า แม่น้ำโขง ยังเป็นเส้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศลาวด้วย

ลักษณะสำคัญของแม่น้ำโขงคือ มีตลิ่งที่สูงชันมากทั้งสองฝั่ง ไหลเลี้ยวเลาะไปตามไหล่เขา กระแสน้ำจะไหลจากทางเหนือลงสู่ทางใต้ตลอดทั้งปี ระดับน้ำในฤดูฝนกับฤดูแล้งจะมีความแตกต่างกันอย่างมาก ความเร็วของกระแสน้ำขึ้นอยู่กับแต่ละฤดูกาล ดินในแม่น้ำโขงเป็นดินทราย มีเกาะแก่งน้อยใหญ่กว่าหนึ่งร้อยแห่งเรียงรายตลอดแม่น้ำ การที่แม่น้ำโขงไหลผ่านประเทศต่างๆหลายประเทศเช่นเดียวกับแม่น้ำดานูบในยุโรป ทำให้บางคนเรียกว่าแม่น้ำน้ำนานาชาติ และทำให้ได้รับการขนานนามว่า แม่น้ำดานูบตะวันออก
ขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย



พื้นที่สามเหลี่ยมทองคำแม่น้ำโขง
ขอขอบคุณภาพจากwww.houseofopium.com


นอกจากอารยธรรมลุ่มแม่น้ำที่ยิ่งใหญ่ของโลกแล้ว ในประเทศไทยก็มีลุ่มแม่น้ำสายสำคัญจำนวนมากที่เป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรม วิถีชีวิต ภูมิปัญญา และความเจริญรุ่งเรืองของชนชาติไทย ไม่ว่าจะเป็น ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน, ลุ่มแม่น้ำบางปะกง, ลุ่มแม่น้ำแม่กลอง, ลุ่มแม่น้ำสาขาแม่น้ำโขง, ลุ่มแม่น้ำสาขาแม่น้ำสาลวิน และลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลอ่าวไทย เป็นต้น และการบริหารจัดการน้ำของโครงการในพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้แก่ โครงการกังหันน้ำชัยพัฒนา, โครงการแก้มลิง, โครงการฝนหลวง และ โครงการแหลมผักเบี้ย เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง และปัญหามลพิษทางน้ำในประเทศไทยด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม
สำหรับในเมืองไทยก็เช่นกัน ชุมชนก็ตั้งตามแหล่งลุ่มน้ำต่าง ๆ


คณะกรรมการอุทกวิทยาแห่งชาติ ได้แบ่งพื้นที่ประเทศไทยออกเป็นกลุ่มลุ่มน้ำ ๙ แห่ง ประกอบด้วย ลุ่มน้ำสำคัญ ๒๕ ลุ่มน้ำ และแบ่งออกเป็นลุ่มน้ำย่อย ๒๕๔ ลุ่มน้ำย่อย มีพื้นที่ลุ่มน้ำรวมทั้งประเทศประมาณ ๕๑๑,๓๖๑ ตารางกิโลเมตร (ยังไม่รวมพื้นที่เกาะต่าง ๆ ยกเว้นเกาะภูเก็ต)



พื้นที่สามเหลี่ยมทองคำแม่น้ำโขง
ขอขอบคุณภาพจากwww.sadoodta.com

กลุ่มลุ่มน้ำ ๙ แห่ง ประกอบด้วย
กลุ่มลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำโขง
กลุ่มลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำสาละวิน
กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน
กลุ่มลุ่มน้ำแม่กลอง
กลุ่มลุ่มน้ำบางปะกง
กลุ่มลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตะวันออก
กลุ่มลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตะวันตก
กลุ่มลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก (ฝั่งอ่าวไทย)
กลุ่มลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก (ฝั่งทะเลอันดามัน)
มีจำนวนลุ่มน้ำสาขา ๙๕ สาขาลุ่มน้ำ ดังนี้


ขอขอบคุณภาพจากhttps://www.facebook.com/bangpakongramsar

๑.กลุ่มลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำโขงประกอบด้วย
ลุ่มน้ำโขง
ลุ่มน้ำกก
ลุ่มน้ำชี
ลุ่มน้ำมูล
ลุ่มน้ำโตนเลสาบ

มีจำนวนลุ่มน้ำสาขา ๙๕ ลุ่มน้ำ พื้นที่รวมประมาณ ๑๘๕, ๖๔๕ ตารางกิโลเมตร


๒. กลุ่มลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำสาละวิน ประกอบด้วย
ลุ่มน้ำสาละวิน
มีจำนวนลุ่มน้ำสาขาสา ๑๗ ลุ่มน้ำ พื้นที่รวมประมาณ ๑๗,๙๑๘ ตารางกิโลเมตร



ขอขอบคุณภาพจาก
http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2012/04/X11941323/X11941323.html



๓. กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน ประกอบด้วย กลุ่มลุ่มน้ำ
ลุ่มน้ำปิง
ลุ่มน้ำวัง
ลุ่มน้ำยม
ลุ่มน้ำน่าน
ลุ่มน้ำสะแกกรัง
ลุ่มน้ำป่าสัก
ลุ่มน้ำเจ้าพระยา
ลุ่มน้ำท่าจีน
มีสาขาลุ่มน้ำย่อย ๗๐ สาขา มีพื้นที่รวม ประมาณ ๑๕๗,๙๒๕ ตารางกิโลเมตร



ขอขอบคุณภาพจากhttp://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2012/04/X11941323/X11941323.html


๔. กลุ่มลุ่มน้ำแม่กลอง ประกอบด้วย
ลุ่มน้ำแม่กลอง
มีสาขาลุ่มน้ำย่อย ๑๑ สาขา มีพื้นที่ประมาณ ๓๐,๘๓๖ ตารางกิโลเมตร




ลุ่มน้ำแม่กลอง
ขอขอบคุณภาพจากsocanth.tu.ac.th

๕ .กลุ่มลุ่มน้ำบางปะกง ประกอบด้วย

ลุ่มน้ำปราจีนบุรี
ลุ่มน้ำบางปะกง
มีสาขาลุ่มน้ำ ๘ สาขา มีพื้นที่ประมาณ ๑๘,๔๕๘ ตารางกิโลเมตร

๖. กลุ่มลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตะวันออกประกอบด้วย
ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก
มีสาขาลุ่มน้ำ ๖ สาขา มีพิ้นที่ประมาณ ๑๓, ๘๒๙ ตารางกิโลเมตร




ลุ่มแม่น้ำเวฬุ จันทบุรี
ขอขอบคุณภาพจากwww.tawanaok.com



แม่น้ำระยอง
ขอขอบคุณภาพจากwww.panoramio.com

๗. กลุ่มลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตะวันตก ประกอบด้วย
ลุ่มน้ำเพชรบุรี
ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลประจวบคีรีขันธ์
มีสาขาลุ่มน้ำ ๘ สาขา มีพื้นที่ประมาณ ๑๒,๓๔๗ ตารางกิโลเมตร



ต้นน้ำแม่น้ำเพชรบุรี ปราณบุรี
ขอขอบคุณภาพจากtravel.thaiza.com

๘. กลุ่มลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก (ฝั่งอ่าวไทย)ประกอบด้วย
ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลภาคใต้ฝั่งตะวันออก
ลุ่มน้ำตาปี
ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
ลุ่มน้ำปัตตานี
มีสาขาลุ่มน้ำ ๒๖ สาขา มีพื้นที่ประมาณ ๕๐,๙๓๐ ตารางกิโลเมตร



ลำน้ำตาปี
ขอขอบคุณภาพจากhttp://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2012/04/X11941323/X11941323.html

๙.กลุ่มลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตะวันตก (ฝั่งอันดามัน) ประกอบด้วย
ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลภาคใต้ฝั่งตะวันตก
มีสาขาลุ่มน้ำ ๑๓ สาขามีพื้นที่ประมาณ ๒๐,๔๗๓ ตารางกิโลเมตร

รวม ๙ กลุ่มลุ่มน้ำหลัก ๒๕ ลุ่มน้ำหลัก ๒๕๔ ลุ่มน้ำสาขา มีพื้นที่ประมาณ ๕๑๑,๓๖๑ ตารางกิโลเมตร(ยังไม่รวมพื้นที่เกาะต่าง ๆ ยกเว้นเกาะภูเก็ต)



ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.haii.or.th/wiki/index.php/ลุ่มน้ำในประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น