แรมซาร์ไซต์ (Ramsar Site) หมายถึง พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ...พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วมขัง พื้นที่พรุ ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล ทั้งที่เป็นน้ำจืดและน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเล มีความสำคัญต่อระบบนิเวศเพราะแหล่งเก็บกักน้ำ ป้องกันน้ำเค็มมิให้รุกเข้ามาในแผ่นดิน...
วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2557
ลุ่มน้ำบางปะกง ๙ อดีตกาลที่ผ่านมา ๕
อาคารมณฑลปราจีนบุรีต่อมาเป็นศาลาจังหวัดฉะเชิงเทรา
ขอขอบคุณภาพจากhttp://region2.dld.go.th/th/index.php/2014-01-16-09-28-01/27-resumu
หัวเมืองในมณฑลปราจีนบุรี เป็นเสมือนสะพานเชื่อมหัวเมืองอื่น ๆ กับเมืองหลวงมณฑลปราจีนบุรีจึงมีความสำคัญในด้านการปกครองและเศรษฐกิจ
ทางด้านการปกครองนั้น บรรดาคำสั่ง สารตรา ใบบอก ที่มีไปมาระหว่างเมืองหลวงกับหัวเมืองทางตะวันออกเฉียงเหนือ และหัวเมืองมณฑลเขมร ก็จะใช้เส้นทางนี้ โดยออกจากเมืองหลวงผ่านขึ้นไปตามลำน้ำบางปะกง ไปต่อทางบกอีกทอดหนึ่ง เช่นจากเมืองหลวงไปพระตะบอง ก็จะผ่านลำน้ำบางปะกงขึ้นบกที่เมืองปราจีนบุรี และเดินทางผ่านป่าเข้าไปยังเมืองกบินทร๋บุรี วัฒนานคร มงคลบุรี อรัญประเทศ และถึงพระตะบองอีกทีหนึ่ง
การส่งส่วยจากหัวเมืองทางตะวันออกและหัวเมืองขึ้น ใช้เส้นทางนี้ ส่วยที่ส่งผ่านที่สำคัญได้แก่ พวกเร่ว กระวาน พริกไทย งาช้างเป็นต้น
ปัจจุบันเป็นสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ขอขอบคุณภาพจากhttp://region2.dld.go.th/th/index.php/2014-01-16-09-28-01/27-resumu
การส่งส่วยจำเป็นต้องแวะพักระหว่างทาง เพื่อเคิมเสบียงอาหาร หรือเปลี่ยนยานพาหระ เมืองที่เป็นศูนย์กลางในการลำเลียงส่วยทางแถบนี้คือ ปราจีนบุรี กบินทร์บุรี วัฒนานคร มงคลบุรี อรัญประเทศ
อย่างเช่นการส่งส่วยของเมืองสีทันดร ในปี พ.ศ ๒๓๘๑ ก็ส่งผ่านมาด้านเมืองปราจีนบุรี ส่วนส่วยที่ส่งมาทางด้านเขมรก็มักมาแวะพักที่เมือง มงคลบุรี
(จากจดหมายรัชกาลที่ ๓ จ.ศ. ๑๒๐๖ เลขที่ ๗ ใบบอกหลวงราชสุเรนทร ส่งส่วยศรีผึ้ง)
และผ่านมาตามลำน้ำบางปะกงเข้าสู่เมืองหลวง จากการส่งส่วยของหัวเมืองตะวันออกเฉียงเหนือและทางตะวันออกนั้น มักจะมาแวะพักที่ปากน้ำเมืองกบินทร์บุรีมากกว่าแห่งอื่น และส่งถึงเมืองหลวงโดยทางแม่น้ำบางปะกงตามลำดับ
สาเหตุที่การส่งส่วยดังกล่าวผ่านเส้นทางนี้มากกว่าเส้นทางอื่นซึ่งอาจจะผ่านทางสระบุรีก็ได้
หากดูตามแผนที่แล้ว เส้นทางเดินทางเรือถึงปากน้ำเมืองกบินทร์บุรี สะดวกกว่าการเดินทางบกที่ต้องผ่านป่าเขาและมาทางสระบุรี ประกอบกับหัวเมืองทางตะวันออกเฉียงเหนือของไทยไม่มีแม่น้ำที่จะติดต่อโดยตรงกับเมืองหลวงโดยตรงจึงทำให้เส้นทางผ่านมณฑลปราจีนบุรีมีความสำคัญอย่างมากในการติดต่อระหว่างเมืองหลวงคือกรุงเทพกับหัวเมืองอื่น ๆ ที่อยู่รอบนอกออกไป
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
มณฑลปราจีนบุรี สมัยเริ่มแรกถึงสมัยพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงศ์ศิริพัฒน์
ปริญญานิพนธ์ของ สุดใจ พงศ์กล่ำ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ป้ายกำกับ:
บทความ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น