วันเสาร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2557

แรมซาร์ไซต์ และอนุสัญญาแรมซาร์



ปลาโลมาอิรวดีที่แม่น้ำบางปะกง
ขอขอบคุณภาพจากwww.edtguide.com


ที่มาของชื่อ bangpakongramsar.blogspot.com

คำว่า Bangpakong หมายความถึง แม่น้ำบางปะกง

คำว่า Ramsar โดยนามเต็มหมายถึง Ramsar SIte แต่เพื่อไมให้ชื่อยาวจนเกินไป จึงตัดคำว่า Site ออก และใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษ เนื่องจากคำว่า Ramsar เป็นชื่อภาษาอังกฤษ ซึ่งมีคำอธิบายความหมายของคำว่า Ramsar Site โดยย่อไว้ที่ใต้ชื่อของ blog

วัตถุประสงค์ เพื่อบอกเล่าถึงความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำบางปะกง และเล่าความเป็นมาที่เกิดการผลักดันแม่น้ำบางปะกงให้ขึ้นทะเบียน เป็น Ramsar Site แห่งที่ ๑๕ ของประเทศไทย






Ramsar Site
แรมซาร์ไซต์ หมายถึง พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งอนุสัญญาแรมซาร์

พื้นที่ชุ่มน้ำหมายถึง พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะพื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วมขัง พื้นที่พรุ ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล ทั้งที่เป็นน้ำจืดและน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเล มีความสำคัญต่อระบบนิเวศเพราะแหล่งเก็บกักน้ำ ป้องกันน้ำเค็มมิให้รุกเข้ามาในแผ่นดิน ป้องกันชายฝั่งพังทลาย ดักจับตะกอนและแร่ธาตุ ดักจับสารพิษ เป็นแหล่งรวมสายพันธุ์พืชและสัตว์ เช่น กาบอ้อย ปากงาช้าง นกกระสา นกยาง เป็นต้น

โดยขยายความละเอียดได้ดังนี้
พื้นที่ชุมน้ำ หมายถึง
“พื้นที่ลุม พื้นที่ราบลุม พื้นที่ลมชื้ นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำมีน้ำทวม มีน้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหลงน้ำทั้ งที่ เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่ มนุษยสรางขึ้นทั้ งที่ มีน้ำขังหรือทวมอยู ถาวรและชั่วครั้งชั่วคราวทั้งที่ เปนแหลงน้ำนิ่งและน้ำไหล ทั้งที่ เปนน้ำจืดน้ำกรอยและน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ ชายฝงทะเล และพื้นที่ ของทะเลในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดลงต่ำสุดมี ความลึกของระดับน้ำไม เกิน ๖ เมตร

ประเภทของพื้นที่ชุมน้ำ
พื้นที่ชุมน้ำทั่วโลกเปนถิ่นที่อยูอาศัยของสิ่งมีชีวิตนานาชนิด อาจแบงออกตามลักษณะของถิ่นที่อยูอาศัย (habitat) เปน ๒ ประเภทใหญ ๆ ไดแก

พื้นที่ชุมน้ำชายฝงทะเล และ
พื้นที่ชุมน้ำน้ำจืด

ในสองประเภทนี้ประกอบดวยทะเลหรือชายฝงทะเล ปากแมน้ำหรือชะวากทะเล แหลงน้ำไหล ทะเลสาบหรือบึงที่ลุมชื้นแฉะหรือหนองน้ำ นอกจากนี้ยังรวมถึงแหลงน้ำที่สรางขึ้น เชนบอเลี้ยงสัตวน้ำ พื้นที่ ชลประทาน อางเก็บน้ำ รวมถึงคลองที่ขุดขึ้นอีกด วย





อนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention) หรืออนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ
คือ อนุสัญญาที่จัดขึ้นที่เมืองแรมซาร์ ประเทศอิหร่าน ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2514 ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างรัฐบาล ซึ่งกำหนดกรอบการทำงานสำหรับความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อการอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์และยับยั้งการสูญหายของพื้นที่ชุ่มน้ำในโลกซึ่งจะต้องมีการจัดการเพื่อใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาด อนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ปัจจุบันมีภาคีอนุสัญญาฯ จำนวน ๑๖๘ ประเทศ


Ramsar เป็นชื่อเมืองตากอากาศช่ยทะเลสาบแคสเปียน ประเทศอิหร่าน

เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๔ ได้มีการร่วมลงนามอนุสัญญาแรมซาร์ (อังกฤษ: Ramsar Convention) คือสนธิสัญญาระหว่าวงประเทศเพื่อการอนุรักษ์และเพื่อการใช้พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างยั่งยืน
เช่น เพื่อการสกัดกั้นและยับยั้งการบุกรุกเข้าครอบครองและการลดถอยของพื้นที่ชุ่มน้ำทั้งในปัจจุบันและในอนาคต และเป็นการเพื่อรับรู้และรับรองความสำคัญพื้นฐานของพื้นที่ชุ่มน้ำในเชิงหน้าที่ทางนิเวศ ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ตลอดจนคุณค่าทางนันทนาการ



โปสเตอร์การประชุมอนุสัญญาแรมซาร์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔ ที่เมืองแรมซาร์ ประเทศอิหร่าน
ขอขอบคุณภาพจากวิกิพีเดีย


ชื่อเต็มที่เป็นทางการของ อนุสัญญาแรมซาร์ คือ อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะในการเป็นถิ่นที่อยู่ของนกน้ำ (The Convention on Wetlands of International Importance, especially as Waterfowl Habitat.) อนุสัญญาแรมซาร์ได้รับการร่างและรับรองจากประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมการประชุมกันที่เมืองแรมซาร์

อนุสัญญานี้มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๘
อนุสัญญานี้เป็นข้อตกลงระหว่ารัฐบาล เพื่อการอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์และยับยั้งการสูญหายของพื้นที่ชุ่มน้ำในโลก โดยสนับสนุนให้มีการใช้อย่างชาญฉลาด
อนุสัญญฉบับแรกมีประเะทศเป็นภาคี รวม ๗ ประเทศ

The United Nations Scientific and Cultural Organization (UNESCO) เปนองคกรรับรองการเขาเปนภาคีอนุสัญญาฯ ของประเทศตาง ๆ ในการเขาเปนภาคีอนุสัญญาแรมซาร์
และควบคุมดูแลการดำเนินการตามอนุสั ญญาฯ โดยมี สำนักเลขาธิ การ(TheSecretariat of Ramsar Bureau) ซึ่งเปนหนวยงานบริหารที่เปนอิสระ ประกอบดวยทีมงานผูเชี่ยวชาญและผูบริหารตั้งอยูที่เดียวกันกับสำนักงานสหพันธนานาชาติเพื่อการอนุรักษธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ(IUCN) ประเทศสวิตเซอร แลนด



สำนักงานที่ทำการใหญ่ของสหภาพการอนุรักษ์แห่งโลกในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สถานที่ซึ่งสำนักเลขาธิการแรมซาร์ร่วมใช้ด้วย ภาพจากเว็บไซต์ของสำนักเลขาธิการแรมซาร์: ถ่ายโดย D. Peck, Ramsar
ขอขอบคุณภาพจากวิกิพีเดีย


จวบจนถึงวันนี้มีประเทศร่วมเป็นภาคี ๑๖๘ ประะเทศ และประเทศไทยเข้าร่วมภาคีเป็นประเทศที่ ๑๑๐ มีพื่นที่ชุ่มน้ำขึ้นทะเบียนแล้ว ๑๔ แห่ง ตามบทความแรมซาร์ไซต์ (Ramsar Site) คืออะไร?เมื่ิอวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๗

ประเด็นสำคัญที่ควรรู

๑. อนุสัญญาแรมซารไมละเมิดอำนาอธิปไตยของภาคี ซึ่งเปนเจาของดินแดนที่มีพื้นที่ชุมน้ำ

๒.อนุสัญญาแรมซารเปนอนุสัญญาระหวางประเทศที่ส งเสริมใหประเทศตาง ๆ มีการอนุรักษและใชประโยชนทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ชุมน้ำอยางยั่งยืน โดยเฉพาะอยางยิ่งใหความสำคัญตอการมีสวนรวมของชุมชุน

๓. พื้นที่ชุมน้ำใดที่ไดรับการเสนอเปนพื้นที่ชุมน้ำที่มีความสำคัญระหวางประเทศแลว ตอมามีความจำเปนภาคีสามารถเพิกถอนออกจากทำเนียบหรือจำกัดขอบเขตใหมได แตทั้งนี้ตองเสนอพื้นที่อื่นทดแทนดวย


ภาพนกที่เกาะนกปากแม่น้ำบางปะกง

ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.zthailand.com/place/dolphins-watching-in-bang-pakong-river-chachoengsao


การเปนภาคีอนุสัญญาแรมซาร์

๑. ทำใหมีการอนุรักษ และยับยั้งการสู ญเสียของพื้นที่ชุ มน้ำในแตละภูมิภาคของโลก

๒. ลดปญหาความขัดแยงในการอนุรักษ์และการใชประโยชนพื้นที่ชุมน้ำระหวางประเทศ ตลอดจนสิ่งมีชีวิตตาง ๆ ในพื้นที่รวมทั้งฝูงนกน้ำที่อพยพตามฤดูกาลไปอยู่ในประเทต่าง ๆ ทั้งนี้เนื่องจากอนุสัญญาฯ ระบุวาภาคีจะตองรวมมือในการจัดการพื้นที่ชุมน้ำและสิ่งมีชีวิตในพื้นที่ที่ใชรวมกัน

๓. ทำใหมีการอนุรักษและการใช ประโยชนพื้นที่ชุมน้ำและสิ่งมีชีวิตในพื้นที่ที่ใชอยางฉลาด เนื่องจากอนุสัญญา ฯ ระบุหนาที่ที่ภาคีจะตองกระทำ คือ ใหคำนึงถึงการอนุรักษพื้นที่ชุมน้ำในการกำหนดแผนการใชที่ดินและแผนการจัดการระดับชาติ
ซึ่งการดำเนินการตามแผนนี้ จะเปนการสงเสริมการใชประโยชนอยางฉลาดตลอดจนทำใหมีพื้นที่ชุมน้ำที่ตองสงวนรักษาไว้ทำใหมีการปองกันการเสื่อมสภาพของพื้นที่ชุมน้ำ โดยเฉพาะที่ขึ้นทะเบียนไวโดยมีการติดตามตรวจสอบอยางสม่ำเสมอ



ภาพนกที่เกาะนกปากแม่น้ำบางปะกง
ขอขอบคุณภาพจาก
http://www.zthailand.com/place/dolphins-watching-in-bang-pakong-river-chachoengsao


ผลดีในการเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาแรมซาร์

อนุสัญญาแรมซารเปนหนึ่งในกฎหมายระหวางประเทศอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการอนุรักษและใชประโยชนทรัพยากรธรรมชาติอยางยั่งยืน เช่น อนุสัญญาวาดวยการคาระหวางประเทศซึ่งชนิดสัตวปาและพืชปาที่ใกลจะสูญพันธุ (CITES)
อนุสั ญญามรดกโลก อนุสั ญญาวาดวยชนิดพันธุอพยพ อนุสัญญาวาดวยความหลากหลายทางชีวภาพ และอนุสัญญาวาดวยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกในการเปนภาคี อนุสัญญาประเภทนี้ เปนการแสดงใหเห็นถึงความเปนน้ำหนึ่งใจ
เดียวกันของประชาคมโลก ในการอนุรักษสิ่งแวดลอมรวมกัน

การเปนภาคีอนุสัญญาแรมซารทำใหมี โอกาสเขารวมในการแสดงความคิดเห็นกับนานาประเทศในการประชุมเพื่อพิจารณาหลักการอนุรักษและใชประโยชนพื้นที่ชุมน้ำอยางชาญฉลาด เชน มติของประเทศภาคีจากการประชุมสมัชชาภาคี ครั้งที่ ๓ ทำใหเกิดกองทุนความชวยเหลือในการจัดการพื้นที่ชุ มน้ำแกประเทศที่ กำลังพัฒนาขึ้น

การเปนภาคีอนุสั ญญาแรมซารจะนำชื่อเสียงมาสูประเทศและเปนการนำพื้นที่ชุมน้ำสำคัญของประเทศ เขาไปในทะเบียนรายชื่อพื้นที่ชุมน้ำที่มีความสำคัญระหวางประเทศ(Ramsar Site) ทำใหเปนที่รูจักกันทั่วโลก นอกจากนั้ นยังเปนการเพิ่มความเปนไปไดสำหรับภาคีที่เปนประเทศกำลังพัฒนาจะไดรั บการสนับสนุนและความชวยเหลือในการดำเนินงานอนุรักษและจัดการพื้นที่ชุมน้ำในประเทศของตน

การเปนภาคีอนุสัญญาแรมซาร จะทำใหภาคีประเทศตาง ๆ ไดรั บขาวสารขอมูลและคำแนะนำที่ทันสมัยเกี่ยวกับพื้นที่ชุมน้ำ และขอคิดเห็นตาง ๆ โดยเฉพาะอยางยิ่งในเรื่องการใชประโยชนพื้นที่ชุมน้ำอยางชาญฉลาด ทั้งนี้ซึ่งอาจจะนำมาประยุกตใชในการอนุรักษและการแกไขปญหาความเสื่อมโทรมของพื้นที่ชุ มน้ำของประเทศไทยตอไป

ภาคีสามารถเสนอขอรับการสนับสนุนความชวยเหลือจากตางประเทศหรือเงินกองทุนอนุญญาฯ(Ramsar Small Grants Fund for Wetland Conservation and Wise Use) ไดโครงการละประมาณ ๔๐,๐๐๐ ฟรังคสวิส หรือประมาณ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท

ขอขอบคุณภาพจากhttps://www.facebook.com/bangpakongramsar
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
วิกิพีเดีย
http://chm-thai.onep.go.th/wetland/pdf/RamsarConvention.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น