แรมซาร์ไซต์ (Ramsar Site) หมายถึง พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ...พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วมขัง พื้นที่พรุ ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล ทั้งที่เป็นน้ำจืดและน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเล มีความสำคัญต่อระบบนิเวศเพราะแหล่งเก็บกักน้ำ ป้องกันน้ำเค็มมิให้รุกเข้ามาในแผ่นดิน...
วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557
ลุ่มน้ำบางปะกง ๑๐ อดีตกาลที่ผ่านมา ๖
ขอขอบคุณภาพจากhttp://salakohok.freeforums.org/topic-t78-90.html
นอกจากความสำคัญในทางเศรษฐกิจแล้ว ลุ่มน้ำบางปะกงยังมีความสำคัญในทางยุทธศาสตร์
เนื่องจากเวลาเกิดศึกสงครามหรือปราบปรามหัวเมืองทางภาคตะวันออกที่คิดกบฏ หรือจะแยกตนออกไปจากการปกครองของไทย เช่น ลาว เขมร ญวน เป็นต้น จะใช้เส้นทางเดินทัพจากเมืองหลวงผ่านไปยังปราจีนบุรี ทั้งทางบกและทางน้ำไปสู่หัวเมืองนั้นด้วย
เช่นในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ราว ปี พ.ศ ๒๓๑๔ นั้นนักพระโสทัตบิดาเลี้ยงนักองตน (สมเด็จพระนารายณ์ราชา)ของเขมร ได้เกณฑ์ไพร่พลมาตีเมืองตราด เมืองจันทบุรี กวาดต้อนครอบครัวไทยไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินโปรดเกล้าฯ ให้พระยาจักรี (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) เป็นแม่ทัพยกไปตีเขมรทางเมืองปราจีนบุรี
หรือเหตุการณ์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ได้ก่อกบฏในปี พ.ศ. ๒๓๖๙ พระองค์ทรงเกณฑ์ทัพไปปราบปราม ทรงใช้เส้นทางนี้ในการเดินทัพกล่าวคือ โปรดเกล้าให้จัดกองทัพบกไปทางเมืองปราจีนบุรี ซึ่งมีทัพของพระยาราชสุภาวดี (เจ้าพระยาบดินทร์เดชา) เป็นแม่ทัพขึ้นไปทางบ่อโพงยกไปเมืองปราจีนบุรี ไปสบทบกับทัพอื่นอีก ๓ ทัพ ที่เดินทางไปทางคลองสำโรงขึ้นไปตามลำน้ำบางปะกงไปขึ้นที่เมืองปราจีนบุรี และยกทัพพร้อมกันโดยตั้งค่ายที่เมืองประจันตคามก่อน แล้วจึงเดินทัพไปทางเมืองนครราชสีมาทางช่องเรือแตก ไปปราบปรามกบฏต่ออไป
นอกจากนั้นแล้วในรัชกาลเดียวกันได้โปรดเกล้าให้ขุดคลองแสนแสบหรือคลองบางขนาก เพื่อความสพดวกในการคมนาคมและขนส่งเสบียงอาหาร และลำเลียงทหารในคราวทำสงครามกับเขมรและญวน ซึ่งไทยได้ทำสงครามกับหัวเมืองดังกล่าวเป็นเวลาถึง ๑๔ ปี คั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๙๖ - ๒๓๙๐ ก็ได้ใช้เส้นทางดังกล่าวในการทำสงครามด้วย หรือที่เราเรียกกันว่า
สงครามอานามสยามยุทธ หรือสงครามไทยญวน ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๗๖ - ๒๓๙๐ ซึ่งเป็นสงคราม ๑๔ ปี ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สงครามครั้งนั้นเกิดขึ้นเพื่อชิงความเป็นใหญ่ในเขมร อันเป็นดินแดนกั้นกลางระหว่างไทยกับญวน สงครามที่เนิ่นนานเช่นนี้ก่อความเสียหายให้ทั้ง ๒ ฝ่ายอย่างมาก
ขอขอบคุณภาพจากwww.reurnthai.com
หมายเหตุ
ช่องเรือแตกนี้ เป็นหนึ่งในสามของช่องเขาบรรทัดที่จะขึ้นจากปราจีนบุรีไปมณฑลลาวพวน ลาวกาว (มณฑลนครราชสีมา) โดยที่สมัยต่อมาไม่ได้เรียกว่าช่องเรือแตก เพราะช่องเขาของเทือกเขาบรรทัด มีช่อง สะแกราด ช่องบุกขนุน และช่องตะโก เข้าใจว่า ที่เรียกว่าช่องเรือแตก คงจะเป็นช่องใดช่องหนึ่งในสามช่องนี้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
มณฑลปราจีนบุรี สมัยเริ่มแรกถึงสมัยพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงศ์ศิริพัฒน์
ปริญญานิพนธ์ของ สุดใจ พงศ์กล่ำ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ป้ายกำกับ:
บทความ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น