แรมซาร์ไซต์ (Ramsar Site) หมายถึง พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ...พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วมขัง พื้นที่พรุ ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล ทั้งที่เป็นน้ำจืดและน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเล มีความสำคัญต่อระบบนิเวศเพราะแหล่งเก็บกักน้ำ ป้องกันน้ำเค็มมิให้รุกเข้ามาในแผ่นดิน...
วันจันทร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2557
งานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร
ขอขอบคุณภาพจาก
http://www.encyclopediathai.org/watthai/center/chachengsao/watsotorn.htm
หลวงพ่อองค์ลอยขึ้นที่หน้าวัดหงส์ ชาวบ้านพยายามฉุดขึ้นฝั่งหลายครั้งหลายหนไม่สามารถอัญเชิญได้ มีผู้มีความรู้ทางไสยศาสตร์ ตั้งศาลเพียงตาบวงสรวงเอาสายสิญจน์คล้องพระพุทธรูปแล้วเชิญชวนชาวไทยจีนพร้อมใจจับสายสิญจน์ สามารถอาราธนาขึ้นฝั่งโดยคนไม่มากนัก ประดิษฐานที่วิหารวัดหงส์เมื่อวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๕ ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะอยู่ราวปี พ.ศ. ๒๓๑๓ คือสมัยต้นกรุงธนบุรี
(วัดหงส์" มีที่ตั้งเดิมอยู่ชิดริมฝั่งแม่น้ำบางปะกงทางด้านตะวันตกต่อมาแม่น้ำกัดเซาะจนตลิ่งพังลงมา วัดเดิมจึงหายไป มีการสร้างวัดขึ้นใหม่แทนที่และถอยร่นจากริมฝั่งแม่น้ำเข้ามา)
วัดหงส มีลักษณะเด่นที่มีเสาสูงใหญ่มีหงส์เป็นเครื่องหมายอยู่บนยอดเสา แต่ต่อมาเกิดพายุใหญ่พัดตัวหงส์บนยอดเสาหักลงมาเหลือแต่ตัวเสาชาวบ้านจึงเอาธงขึ้นไปแขวนแทน และเปลี่ยนชื่อวัดว่า "วัดเสาธง" แทน ครั้นเมื่อกิดพายุพัดเสาธงหักลงอีกครั้งชาวบ้านจึงพากันเรียก "วัดเสาธงทอน" บ้าง "วัดเสาทอน" บ้าง
แต่เนื่องจากคำเรียกขานไม่ไพเราะ กอปรกับต่อมาได้มีการอัญเชิญพระพุทธรูปที่ลอยน้ำมาขึ้นประดิษฐานอยู่ที่วัดนี้ได้ หลังจากนั้น ชาวบ้านได้พร้อมใจเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "วัดศรีโสทร" ซึ่งสันนิษฐานว่ามาจากชื่อเดิมขององค์พระที่อยู่วัดศรีเมือง ทางภาคเหนือ
แต่บางตำราก็กล่าวว่าชื่อ "วัดโสทร" อันหมายถึงพระพุทธรูป สามองค์ ซึ่งพี่น้องร่วมอุทร สามคน ร่วมกันสร้างขึ้นและลอยน้ำมาตามตำนาน
(ความหมายของคำว่า"โสทร" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน แปลว่า พี่น้องร่วมท้องกัน)
ต่อมา คำว่าโสทร ได้เปลี่ยนเป็นโสธร
สำหรับคำว่า "โสธร" ที่ปรากฎในปัจจุบันนั้น มีความหมายว่า "บริสุทธิ์" หรือ "ศักดิ์สิทธิ์" สันนิษฐานว่ามาจากการที่หลวงพ่่อโสธรเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และมีรูปทรงสวยงาม
ขอขอบคุณภาพจาก
http://www.encyclopediathai.org/watthai/center/chachengsao/watsotorn.htm
งานนมัสการหลวงพ่อโสธร
งานเทศกาลกลางเดือน ๑๒ จัดมาเนิ่นนานกว่าร้อยปีแล้ว โดยเริ่มในราว พ.ศ. ๒๔๓๔ ผู้เริ่มจัดงานคือ โต้โผทรัพย์เจ้าของละครคลองโสธร
มูลเหตุมีว่าในปีนั้นเกิดทุพภิกขภัย ข้าวยากหมากแพง ฝนแล้ง ข้าวและผลหมากรากไม้ไม่ได้ผล โรคห่า (อหิวาต์) และโรคพุพอง (ฝีดาษ) ระบาดทั่วไป ผู้คนสัตว์เลี้ยงล้มตายมากมาย ประชาชนทิ้งบ้านเรือนไร่นาเพื่อหนีโรคภัย ผู้เจ็บป่วยไปไม่ไหวก็รอวันตายเพราะหาหมอรักษาได้ยาก ผู้คนจึงบนบานศาลกล่าว คนไทยบนด้วยลิเกและละครแก้บน คนจีนบนด้วยงิ้ว ล่อโก๊ะ สิงโต ฯลฯ
ซึ่งคณะละครของนายทรัพย์เองก็เป็นโรคฝีดาษต้องหยุดแสดงละครอาชีพ นายทรัพย์จึงได้บนหลวงพ่อว่า ถ้ารักษาหาย จะจัดการฉลองสมโภชหลวงพ่อทางเรือให้เป็นที่สนุกสนาน จู่ๆ ฟ้าฝนที่แห้งแล้งอยู่นานก็โปรยปรายลงมา นำพาให้ประชาชนชื่นบาน แผ่นดินชุ่มชื้นโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ หายไป
ชาวบ้านชาวเมืองจึงร่วมกับนายทรัพย์ หัวหน้าคณะละคร จัดงานฉลองสมโภชหลวงพ่อครั้งใหญ่เพื่อแก้บน เดิมทีเดียวไม่มีการแห่หลวงพ่อทางเรือไปถึงตำบลท่าพลับ (โรงสีล่าง )
โดยจัดขึ้นในกลางเดือน ๑๒
แต่มีอยู่ครั้งหนึ่ง โต้โผทรัพย์ได้นำละครไปแสดงถึงโรงบ่อนท้าย ตลาดโรงสีล่าง ตำบลท่าพลับ อำเภอบ้านโพธิ์ เกิดเรื่องราวขึ้นขณะที่ลูกสาวโต้โผทรัพย์กำลังแสดงละครอยู่ สมัครพรรคพวกของผู้มีอิทธิพลอยู่ใน ขณะนั้นได้ใช้กำลังลักพาลูกสาวโต้โผทรัพย์ไปทั้งเครื่องละคร โต้โผทรัพย์ได้บนบานหลวงพ่อว่า ถ้าได้ลูกสาวกลับคืนมา จะแห่หลวงพ่อไปสมโภชที่โรงสีล่าง ตำบลท่าพลับ ด้วยบุญญาภินิหารของหลวงพ่อ โต้โผทรัพย์ก็ได้ลูกสาวกลับคืนมาภายใน ๓ วัน นับแต่นั้นมา จึงได้มีการแห่หลวงพ่อโสธร ทางเรือมาถึงโรงสีล่าง เป็นประเพณีสืบมาจนทุกวันนี้ (ฐิระวัตร,๒๕๓๙ )
ปัจจุบันจังหวัดฉะเชิงเทราจัดให้มีงานนมัสการหลวงพ่อโสธร ปีละ ๓ ครั้งคือ
๑.เทศกาลกลางเดือน ๕ โดยถือตามวันที่อาราธนาหลวงพ่อขึ้นประดิษฐานในวัดได้
๒.เทศกาลกลางเดือน ๑๒ โดยถือตามวันที่มีการจัดงานฉลองสมโภชหลวงพ่อครั้งใหญ่จากการพ้นภัยภืบัติ โรคระบาด
๓.ทศกาลตรุษจีน ตามความนิยมของชาวจีนที่จะไปมนัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ๋ที่ตนเคารพนับถือ ในเทศกาลตรุษจีน
ป้ายกำกับ:
บทความ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น