แรมซาร์ไซต์ (Ramsar Site) หมายถึง พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ...พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วมขัง พื้นที่พรุ ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล ทั้งที่เป็นน้ำจืดและน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเล มีความสำคัญต่อระบบนิเวศเพราะแหล่งเก็บกักน้ำ ป้องกันน้ำเค็มมิให้รุกเข้ามาในแผ่นดิน...
วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557
เพชรพระมหามงกุฏแห่งลุ่มน้ำบางปะกง
ขอขอบคุณภาพจากwww.oknation.net
“พระมหามงกุฎเป็นเครื่องหมายของราชาธิปไตย
พระมหามงกุฎสง่างามด้วยประดับเพชรนิลจินดาอันมีค่าฉันใด
ข้าราชการที่อุตส่าห์พยายามช่วยกันทะนุบำรุงบ้านเมืองให้มีเจริญสุข
ก็เปรียบเหมือนเพชรนิลเครื่องประดับพระมหามงกุฎฉันนั้น”
(พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
ซึ่งในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ พระทรงทรงมี เพชรพระมหามงกุฏ มากมายหลายเม็ดประดับแพรวพราวประจำรัชกาลของพระองค์
พระราชดำรัสนี้ควรค่ายิ่งกับพระยาศรีสุนทรโวหาร ญาณปรีชามาตย์ บรมนารถนิตยภักดี พิริพาหะ ท .จ .น .,ภ., ม., ร.,ด.,ม., (น้อย อาจารยางกูร)
เจ้ากรมพระอาลักษณ์ และองคมนตรี ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
หากจะกล่าวว่าท่านคือ เพชรพระมหามงกุฎ ก็ควรค่ากับคุณลักษณะของท่านอย่างยิ่ง
พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ชาวจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นบุคคลสำคัญท่านหนึ่งของชาติไทย
พระยาศรีสุนทรโวหาร ญาณปรีชามาตย์ บรมนารถนิตยภักดีพิริยะพาหะ (น้อย อาจารยางกูร) ชาวจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นบุคคลสำคัญของชาติไทยคนหนึ่ง
ท่านเป็นนักปราชญ์ทางภาษาและหนังสือ มีความรู้แตกฉานทั้งภาษาไทย ภาษาขอม ภาษามคธ และการแต่งคำประพันธ์ มีความรอบรู้และเชี่ยวชาญวิชาการหลายแขนง รวมทั้งด้านศาสนา
ท่านรับราชการเป็นเจ้ากรมอาลักษณ์
เป็นองคมนตรีที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน
เป็น “อาจารย์ใหญ่”คนแรกของโรงเรียนหลวง และเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรพระบรมวงศานุวงศ์ในราชวงศ์จักรีหลายพระองค์
ท่านได้แต่งวรรณกรรมล้ำค่าไว้เป็นจำนวนมาก
โดยเฉพาะตำราเกี่ยวกับภาษาไทย ที่สำคัญก็คือ “มูลบทบรรพกิจ วาหนิติ์นิกร อักษรประโยค สังโยคพิธาน ไวพจน์พิจารณ์ พิศาลการันต์”
ซึ่งรวมเรียกว่า “แบบสอนหนังสือไทย” เป็นมรดกตกทอดมาถึงอนุชนรุ่นหลัง
นอกจากนี้ยังมีหนังสือ กวีนิพนธ์อีกมากมายหลายเรื่อง คำนมัสการคุณานุคุณ มีเนื้อหาว่าด้วยการน้อมรำลึกในคุณงามความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา และครูอาจารย์ พระมหากษัตริย์ เหล่าเทวา โดยมีความมุ่งหมายที่จะให้ผู้อ่านโดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทยตั้งอยู่ในความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและนำแบบอย่างอันดีงามไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
ท่านได้รับยกย่องจากพระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ซึ่งมีนามปากกาว่า น.ม.ส. โดยทรงนิพนธ์ไว้ในคำนำหนังสือปกีระณำพจนาดถ์ ว่า
“...พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย) ผู้แต่งหนังสือนี้เป็นใหญ่ในพวกอาจารย์หนังสือไทย... เป็น “ศาลฎีกาในเรื่องหนังสือไทย” เมื่อตัดสินว่ากระไร ก็เป็นคำพิพากษาสุดท้าย ใครจะเถียงว่ากระไรก็ฟังไม่ขึ้นในสมัยนั้น”
ท่านทุ่มเททำงานด้วยความวิริยะอุตสาหะ ความเพียรพยายามมิได้ละลดถอยน้อยลงจนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรม เมื่ออายุ ๖๙ ปีเศษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงยกย่องว่าพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย) เป็นผู้ทำคุณประโยชน์อย่างสูงแก่แผ่นดิน
นอกจากนี้ ท่านยังเป็นผู้มีเกียรติประวัติอันงดงามที่ยุวชนรุ่นหลังควรได้ศึกษาไว้เป็นแบบอย่าง ทั้งในด้านความขยันหมั่นเพียร ความวิริยะอุตสาหะในการศึกษา ในชีวิตการรับราชการ ท่านมีความซื่อสัตย์ กตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ต่อแผ่นดิน และมีความจงรักภักดีเป็นเลิศต่อพระมหากษัตริย์
ป้ายกำกับ:
บทความ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น