แรมซาร์ไซต์ (Ramsar Site) หมายถึง พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ...พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วมขัง พื้นที่พรุ ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล ทั้งที่เป็นน้ำจืดและน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเล มีความสำคัญต่อระบบนิเวศเพราะแหล่งเก็บกักน้ำ ป้องกันน้ำเค็มมิให้รุกเข้ามาในแผ่นดิน...
วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557
หลวงพ่อวัดไร่ขิง
หลวงพ่อวัดไร่ขิง
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.oknation.net/blog/print.php?id=755358
พุทธปัญจภาคีวารีปาฏิหาริย์
เล่าขานตำนานหลวงพ่อลอยน้ำ ๕ พี่น้อง
มีตำนานกล่าวว่า กาลครั้งหนึ่งมีพี่น้องชาวเมืองเหนือ ๕ คน บวชเป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนา ได้สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบัน มีฤทธิ์อำนาจทางจิตมาก ได้พร้อมใจกันตั้งสัจจะอธิษฐานว่า
“เกิดมาชาตินี้จะขอบำเพ็ญบารมีช่วยสัตว์โลกให้พ้นทุกข์ แม้ตายไปแล้ว ก็จะสร้างบารมีช่วยสัตว์โลกให้พ้นทุกข์ต่อไป จนกว่าจะถึงซึ่งนิพพาน”
ครั้นพระอริยบุคคลทั้งห้าองค์นี้ดับขันธ์ไปแล้ว ก็เข้าสถิตอยู่ในพระพุทธรูปทั้งห้าองค์ มีความปรารถนาจะช่วยปลดเปลื้องทุกข์ให้คนทางเมืองใต้ จึงพากันแสดงฤทธิ์ปาฏิหาริย์ให้พระพุทธรูปทั้งห้าองค์ลอยน้ำมาทางใต้ตามแม่น้ำสายหลักของภาคกลางทั้ง ๕ สาย
แม่น้ำแม่กลอง
ขอขอบคุณภาพจากhttp://travel.mthai.com/region/central/67244.html
ชาวบ้านชาวเมืองตามริมฝั่งแม่น้ำเห็นพระพุทธรูปทั้งห้าองค์ลอยน้ำมาก็พากันเลื่อมใส จึงได้นำพระพุทธรูปเหล่านั้นขึ้นฝั่งและอาราธนาให้ขึ้นสถิตอยู่ตามวัดต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงกับจุดที่ชะลอองค์พระขึ้นจากแม่น้ำ
โดยพระพุทธรูปองค์แรก ลอยมาตามแม่น้ำบางปะกง แล้วขึ้นประดิษฐานอยู่ที่วัดโสธรวรารามวรวิหาร อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา เรียกว่า “หลวงพ่อโสธร”
พระพุทธรูปองค์ที่สอง ลอยมาตามแม่น้ำนครชัยศรี ขึ้นประดิษฐานอยู่ที่วัดไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม เรียกว่า “หลวงพ่อวัดไร่ขิง”
พระพุทธรูปองค์ที่สาม ลอยมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา ขึ้นประดิษฐานอยู่ที่วัดบางพลีใหญ่ใน อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ เรียกว่า “หลวงพ่อโต”
พระพุทธรูปองค์ที่สี่ ลอยมาตามแม่น้ำแม่กลอง ขึ้นประดิษฐานอยู่ที่วัดเพชรสมุทรวรวิหาร (วัดบ้านแหลม) อ.เมืองจ.สมุทรสงคราม เรียกว่า “หลวงพ่อบ้านแหลม”
และพระพุทธรูปองค์ที่ห้า ลอยมาตามแม่น้ำเพชรบุรี ขึ้นประดิษฐานอยู่ที่วัดเขาตะเครา อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี เรียกว่า “หลวงพ่อ (ทอง) เขาตะเครา”
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.oknation.net/blog/print.php?id=755358
ในขณะที่บางตำนานก็กล่าวไว้ว่า การที่พระพุทธรูปทั้ง ๕ ลอยน้ำมานี้ ก็เพราะเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ ข้าศึกได้เผาไฟเพื่อหลอมเอาทองที่หล่อจากองค์พระพุทธรูป ชาวบ้านเองก็ต้องการจะรักษาพระพุทธรูปไว้ จึงเอาปูนบ้าง รักดำบ้าง ไปพอกไว้ที่องค์พระเพื่อให้ดูไม่สวยงามและปกปิดความมีค่าไว้จากข้าศึก แต่เมื่อไม่อาจปกป้องได้ไหวจึงขนย้ายพระพุทธรูปสำคัญลงแพไม้ไผ่ล่องมาตามแม่น้ำเพื่อไม่ให้ข้าศึกทำลาย ด้วยน้ำหนักขององค์พระ เมื่อวางพระลงบนแพไม้ไผ่จึงดูเหมือนพระพุทธรูปลอยมาตามน้ำ จนผู้ที่พบเห็น ถือเป็นเรื่องปาฏิหาริย์ที่พระพุทธรูปองค์ใหญ่น้ำหนักมากจะสามารถจะลอยน้ำได้
พระพุทธรูปทั้ง ๕ องค์นี้ ถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัด ที่มีผู้คนทั้งชาวไทยและต่างประเทศหลั่งไหลมาเคารพสักการะมิได้ขาด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13542
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.oknation.net/blog/print.php?id=755358
หลวงพ่อวัดไร่ขิง” อ.สามพราน จ.นครปฐม ที่ว่าลอยน้ำมาตามแม่น้ำนครชัยศรี และถูกอัญเชิญขึ้นไว้ที่วัดไร่ขิงซึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ
หลวงพ่อวัดไร่ขิงเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง ๔ ศอก ๒ นิ้ว สูง ๔ ศอก ๑๖ นิ้ว พุทธศิลปะน่าจะเป็นพระพุทธรูปที่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
วัดไร่ขิง
ตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำท่าจีนหรือเรียกอีกชื่อว่าแม่น้ำนครชัยศรี ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม มีหลวงพ่อวัดไร่ขิงซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยเป็นพระประธาน ที่ชาวนครปฐมเคารพนับถือ
วัดไร่ขิง หรือ วัดมงคลจินดาราม ตั้งอยู่ที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม วัดไร่ขิง เป็นวัดราษฎร์
คนรุ่นเก่าได้เล่าสืบต่อกันมาว่า วัดไร่ขิงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๔ โดยพระธรรมราชานุวัตร (พุก) ชาวเมืองนครชัยศรี มณฑลนครชัยศรี (ต่อมา ท่านได้รับสถาปนาสมศักดิ์เป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก)) ในขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดศาลาปูนวรวิหาร ท่านได้กลับมาสร้างวัดไร่ขิงและวัดดอนหวาย ซึ่งเป็นบ้านโยมบิดาและมารดาของท่าน แต่ยังไม่แล้วเสร็จ มรณภาพ
สำหรับชื่อวัดนั้น มีเรื่องเล่าว่า พื้นที่วัดในอดีตมีชาวจีนปลูกบ้านอาศัยอยู่กันเป็นจำนวนมากและนิยมปลูกขิงกันอย่างแพร่หลาย จนเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านหรือชุมชนในแถบนี้ว่า “ไร่ขิง” ต่อมา เมื่อมีชุมชนหนาแน่นมากยิ่งขึ้นจึงได้มีการสร้างวัดเพื่อเป็นจุดศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน ดังนั้น วัดจึงได้ชื่อตามชื่อของหมู่บ้านหรือชุมชนว่า “วัดไร่ขิง”
ต่อมาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ เสด็จตรวจเยี่ยมวัดในเขตอำเภอสามพราน สมเด็จฯ ได้เสด็จมาที่วัดไร่ขิง และทรงตั้งชื่อวัดใหม่ว่า “วัดมงคลจินดาราม” ทั้งทรงใส่วงเล็บชื่อเดิมต่อท้ายจึงกลายเป็น “วัดมงคลจินดาราม (ไร่ขิง)” เมื่อเวลาผ่านพ้นมานานและคงเป็นเพราะความกร่อนของภาษาจีนทำให้วงเล็บหายไป คงเหลือเพียงคำว่า “ไร่ขิง” ต่อท้ายคำว่า “มงคลจินดาราม” จึงต้องเขียนว่า “วัดมงคลจินดาราม-ไร่ขิง” แต่ในทางราชการยังคงใช้ชื่อเดิมเพียงว่า “วัดไร่ขิง” สืบมาจนทุกวันนี้
หลวงพ่อวัดไร่ขิง
มีตำนานเล่าขานกันดังนี้
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.oknation.net/blog/print.php?id=755358
ซึ่งหน้าวัดมีแม่น้ำนครชัยศรีหรือแม่น้ำท่าจีนไหลผ่าน จากหนังสือประวัติของวัดไร่ขิงได้กล่าวไว้ว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) ได้อัญเชิญมาจากวัดศาลาปูน โดยนำล่องมาทางน้ำด้วยการทำแพไม้ไผ่หรือที่เรียกกันว่าแพลูกบวบรองรับองค์พระปฏิมา
แม่น้ำนครชัยศรี
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.panoramio.com/photo/28132465
• ตำนานที่ ๑
ครั้งเมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์(พุก)ชาวเมืองนครชัยศรี ได้มาตรวจเยี่ยมวัดในเขตอำเภอสามพราน ได้เข้าไปในพระอุโบสถวัดไร่ขิง หลังจากกราบพระประธานแล้ว มีความเห็นว่าพระประธานมีขนาดเล็กเกินไป จึงบอกให้ท่านเจ้าอาวาสพร้อมชาวบ้านไปอัญเชิญมาจากวัดศาลาปูนฯ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยวางลงบนแบบไม้ไผ่และนำล่องมาตามลำน้ำและอัญเชิญขึ้นประดิษฐานในพระอุโบสถ
• ตำนานที่ ๒
วัดไร่ขิงสร้างเมื่อปีกุน พุทธศักราช ๒๓๙๔ ตรงกับปีสุดท้ายในรัชกาลที่ ๓ ต้นปีในรัชการที่ ๔ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก)ซึ่งเป็นชาวเมืองนครชัยศรี ในขณะนั้นดำรงสมณศักดิ์พระราชาคณะที่ "พระธรรมราชานุวัตร" ปกครองอยู่ที่วัดศาลาปูนวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้กลับมาสร้างวัดที่บ้านเกิดของตนที่ไร่ขิง เมื่อสร้างพระอุโบสถเสร็จแล้วจึงได้อัญเชิญพระพุทธรูป
สำคัญองค์หนึ่งจากกรุงเก่า ( จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ) มาเพื่อประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถแต่การสร้างยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ ท่านได้มรณภาพเสียก่อน
• ตำนานที่ ๓.
ตามตำนานเป็นเรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมาเกี่ยวกับมีพระพุทธรูปลอยน้ำมา ๕ องค์ก็มี ๓ องค์ก็มี
โดยเฉพาะในเรื่องที่เล่าว่ามี ๕ องค์นั้น ตรงกับคำว่า " ปัญจภาคี ปาฏิหาริยกสินธุ์โน " ดังข้อมูลข้างต้น
แม่น้ำท่าจีน ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.panoramio.com/photo/63821397
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=523196
http://www.palungdham.com/t441.html
สารานุกรมวิกิพีเดีย
ป้ายกำกับ:
บทความ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น