ขอขอบคุณภาพจากhttp://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=2&chap=8&page=t2-8-infodetail01.html
พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร ) ขณะอุปสมบทอยู่ที่วัดสเกษ (วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร)
ขณะเป็นมหาน้อยเปรียญ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้ปรับปรุงกุฎีใหม่ในวัด และในครั้งนั้นก็มีกุฎีมหาน้อย
ครั้นถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ยังมีกุฏิพระประสิทธิสุตคุณ อีกหลังหนึ่งด้วย ตามคำบอกเล่า
และนามของพระประสิทธิสุตคุณ ก็เป็นนามพระราชาคณะที่ปรากฎในการกล่าวถึงเจ้าอาวาสของวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ปรากฎดังนี้
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.reurnthai.com/index.php?topic=1442.30
อดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
พระราชาคณะที่ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดสระเกศมาแต่ก่อนนั้นที่มีจดหมายเหตุแลพอที่จะสืบทราบความได้มีลำดับดังนี้คือ
สมเด็จพระวันรัต (อาจ)
เป็นพระราชาคณะมาแต่ในรัชกาลที่ ๑ แต่จะเป็นตำแหน่งใดก่อนไม่ทราบปรากฏในบัญชีพระสงฆ์นั่งหัตถบาศ เมื่อกรมพระราชวังหลังทรงผนวช เมื่อ ณ เดือน ๘ ขึ้น ๑๑ ค่ำปีจอ จัตวาศก จุลศักราช ๑๑๖๔ พุทธศักราช ๒๓๔๕ เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่พระพรหมมุนีอยู่แล้วถึงรัชกาลที่ได้เลื่อน เป็นพระพิมลธรรมแล้วได้เป็น สมเด็จพระวันรัตเมื่อปีชวด อัฐศก จุลศักราช ๑๒๗๘ พุทธศักราช ๒๓๕๙ คราวเดียวกับเมื่อทรงตั้ง สมเด็จพระวันรัต (มี) วัดราชบูรณะ เป็นสมเด็จพระสังฆราช ต่อมาไม่ช้า เมื่อสมเด็จพระสังฆราช (มี) สิ้นพระชนม์ ในปีเถาะ เอกศก จุลศักราช ๑๑๘๑ พุทธศักราช ๒๓๖๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชดำริ จะทรงตั้งสมเด็จพระวันรัต (อาจ) เป็นสมเด็จพระสังฆราชโปรดให้แห่ไปอยู่วัด มหาธาตุแล้ว แต่เกิดอธิกรณ์ ต้องออกจากที่พระราชาคณะไปอยู่ที่วัดแหลม ( ปัจจุบันคือวัดเบญจมบพิตร)
สภาพเจดีย์ “ภูเขาทอง” เมื่อสมัยรัชกาลที่ ๔ (ปี ๒๔๐๘)
ขอขอบคุณภาพจากhttp://tamroiphrabuddhabat.com/xmb/viewthread.php?fid=25&tid=874&action=printable
สมเด็จพระวันรัต (ด่อน)
เห็นจะเป็นพระราชาคณะมาแต่ในรัชกาลที่ ๑ เหมือนกันแต่จะเป็นที่ใดก่อนไม่ทราบปรากฏนามเป็นที่พระเทพโมฬี อยู่วัดหงส์ เมื่อในรัชกาลที ๒ ได้เลื่อนเป็นพระพรหมมุนี แล้วเลื่อนเป็นพระพิมลธรรมเมื่อปีชวด อัฐศก จุลศักราช ๑๑๗๘ พุทธศักราช ๒๓๕๙ แต่อยู่วัดหงส์ ครั้นสมเด็จพระวันรัต (อาจ) ไปอยู่วัดมหาธาตุ จึงโปรดให้ พระพิมลธรรม (ด่อน) ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดสระเกศ แล้วเลื่อนที่เป็นสมเด็จพระวันรัต เมื่อปีเถาะ เอกศก จุลศักราช ๑๑๘๑ พุทธศักราช ๒๓๖๒ ครั้นเมื่อสมเด็จพระสังฆราช (ศุขญาณสังวร) ซึ่งได้เป็นสมเด็จพระ สังฆราชต่อสมเด็จพระสังฆราช (มี) สิ้นพระชนม์ เมื่อปีมะเมีย จัตวาศก จุลศักราช ๑๑๘๔ พุทธศักราช ๒๓๖๕ พระบาท สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงโปรดให้แห่สมเด็จพระวันรัต (ด่อน) ไปอยู่วัดมหาธาตุแล้วทรงตั้ง เป็นสมเด็จพระสังฆราช อยู่มาจนถึงรัชกาลที่ ๓
ขอขอบคุณภาพจาก www.stambook.net
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนธิ์)
อยู่วัดสระเกศ มาแต่เดิม ได้เป็นพระราชาคณะที่ พระญาณวิริยะ เมื่อรัชกาลที่ ๒ จนถึงรัชกาลที่ ๓ ได้เป็นที่ พระพรหมมุนี แล้วเลื่อนขึ้นเป็น พระพุฒาจารย์ เมื่อปีเถาะ เบญจศก จุลศักราช ๑๒๐๕ พุทธศักราช ๒๓๘๖ ถึงรัชกาลที่ ๔ โปรดให้เลื่อนยศเป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ เมื่อปีกุญ ตรีศก จุลศักราช ๑๒๑๓ พุทธศักราช ๒๓๙๔ อยู่มาจนปลายรัชกาลที่ ๔ ในเวลาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนธิ์) เป็นเจ้าอาวาสนั้น มีพระราชาคณะอีกองค์หนึ่ง คือ พระประสิทธิสุตคุณ (น้อย) เป็นเปรียญเอกอยู่วัดสระเกศมาแต่เดิมลาสิกขาเมื่อรัชกาลที่ ๔ ไปทำราชการในกรมพระอาลักษณ์ ได้เลื่อนยศโดยลำดับจนเป็นพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย) ได้เป็น อาจารย์ของเจ้านายแลข้าราชการเป็นอันมาก
(ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://watsrakesa.makewebeasy.com/customize-อดีตเจ้าอาวาส-4463-1.html
(“ภูเขาทอง” สมัยรัชกาลที่ ๕)
ขอขอบคุณภาพจากhttp://tamroiphrabuddhabat.com/xmb/viewthread.php?fid=25&tid=874&action=printable
ในปีพ.ศ. ๒๕๒๕ -๒๕๒๖ นายสุเมธ สุริยจันทร์ ประธานสภาเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา ในขณะนั้นกำลังรวบรวมและเรียบเรียง จัดทำหนังสือ “ศรีสุนทรานุสรณ์ “ รำลึกถึงพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร ) ได้ไปที่วัดสระเกศราชวรวิหาร
ได้ไปนมัสการกราบเรียนถามพระเดชพระคุณพระพรหมคุณาภรณ์ เจ้าอาวาสวัด ( ในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นสมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏ ที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ ) กับพระครูสุวรรณสิริธรรม เจ้าคณะ ๑๑ ท่านกรุณาพาไปดู และได้รับคำชี้แจงจากพระเดชพระคูณทั้ง ๒ องค์ เพิ่มเติมว่า จากคำบอกเล่าของพระภิกษุเก่าที่อยู่วัดนี้มาแต่เดิม เล่าให้พระเดชพระคุณฟังว่า กุฏิของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย ) สมัยบวชอยู่ที่วัดสระเกศราชวรวิหาร มี ๒ หลัง
หลังแรกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวสร้างพระราชทานเมื่อสอบเปรียญอก ๕ ประโยคได้นั้น เป็นกุฏิแรกเรียกว่า กุฏิมหาน้อย
ส่วนกุฏิหลังใหญ่หลังคาทรงปั้นหยานั้นเรียกว่ากุฏิเจ้าคุณพระประสิทธิสุตคุณ เพราะเป็นกุฏิตึกที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระราชทานเมื่อทรงสถาปนาพระมหาน้อย เป็นที่พระประสิทธิสุตคุณ
กุฏิหลังนี้เป็นกุฏิหลังใหญ่กว้างขวางโอ่โถงสังเกตดูสมเป็นกุฏิดังเดิมที่สร้างสมัยรัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๔ จริง เมื่อเปรียบเทียบกับกุฏิของท่านสุนทรภู่ที่วัดเทพธิดา ซึ่งสร้างก่อนกุฏิที่วัดสระเกศราชวรวิหาร
(โดยสุเมธ สุริยจันทร์ ๒๕๒๖)
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ พลอยโพยมได้พยายามไปสืบค้นตามข้อความข้างต้น
เป็นช่วงที่ยังมีการสวดพระภิธรรมสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ ) มีพระคุณเจ้าองค์หนึ่งในวัดได้แนะนำให้ไปหา
หลวงพ่อบุญมี ที่คณะ ๒ ซึ่งท่านจำพรรษาอยู่วัดสระเกศราชวรมหาวิหารมานาน
หลวงพ่อบุญมีเล่าว่าเมื่อก่อน ตำหนักสมเด็จมี กุฏิ ที่แยก ปลูก เดี่ยว ๆ หลังหนึ่ง ถูกรื้อไป แล้วสร้าง ตำหนักสมเด็จขึ้นมา ไม่ทราบว่าจะเป็นกุฏิที่ กำลังตามหาหรือไม่ ท่านบอกว่า พระครูสุวรรณสิริธรรม เจ้าคณะ ๑๑ ที่ถูกกล่าวถึง เป็นพระชาวแปดริ้ว อยู่ แถบตำบลเทพราช ขณะนี้ยังมีศิษย์ท่านชื่อ มหาบุญชู อยู่คณะ ๑๑ อาจจะพอรู้เรื่อง
พระมหาบุญชู (เกิดชูชื่น) คือพระครูธรรมธร สิทธิปุญโญ ท่านเป็นคนคลองสวน จังหวัดฉะเชิงเทรา ท่านเล่าว่า พระอาจารย์ (พระครูสุวรรณสิริธรรม) ไม่เคยเล่าอะไรเกี่ยวกับพระยาศรี(น้อย) ให้ฟัง แต่เมื่อพระคุณเจ้าอ่านข้อความที่คุณสุเมธ เขียนไว้ พระมหาบุญชู ก็เลยพาไปที่กุฎิ หลังหนึ่ง ซึ่งเป็นกุฎิของ พระประสิทธิสุตคุณ-สวัสดิ์ แสงเพ็ง พระประสิทธิสุตคุณ องค์หลังเรื่องราวพระยาศรี สุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร ) ขณะนี้อยู่วัดที่ประเทศเนเทอร์แลนด์ ว่า น่าจะเป็นกุฎที่คุณสุเมธกล่าวถึง เป็นที่น่าเสียดายที่กุฎิปิดกุญแจเข้าไปข้างในไม่ได้
กุฏิหลังนี้อยู่แนวกุฏิกุฏิพระทั่วไป แต่โอ่โถงกว้างขวางเป็นสองหลังแฝดเป็นที่เรียกขานกันว่า กุฎิท่านเจ้าคุณประสิทธิสุตคุณ
พระมหาบุญชูบอกว่า ข้างในกุฏิโอ่โถงกว้างขวาง เสาต้นใหญ่ เป็นกุฎิทรงปั้นหยาหลังเดียวในวัดนี้ และเป็นกุฎิพิเศษไม่ใช่กุฎิพระทั่ว ๆ ไป ก่อนที่จะเป็นพระประสิทธิสุตคุณองค์ปัจจุบัน ท่านเป็นพระครู อรรถเมธี เจ้าคณะ ๑๖ มาก่อน แต่ก็พักที่กุฎินี้มายาวนาน พระมหาบุญชูบอกว่า ท่านเป็นพระคงแก่เรียน ต่อมา เลื่อนเป็นพระประสิทธิสุตคุณ พระมหาบุญชูเลยสันนิษฐานว่า ทินนามของท่านน่าจะได้มาจากการที่ได้ครองกุฎิชื่อ กุฏิเจ้าคุณของพระประสิทธิสุตคุณองค์ก่อน คือพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) กระมังฟังดูเหมือนจะลงตัวดี เพราะกุฏิหลังนี้ ดูจะเป็นกุฏิพิเศษ เพราะ
๑ เป็นกุฏิอยู่ตรงข้าม (มีถนนคั่น) กับกุฎิ (ตำหนัก ) เจ้าอาวาสเดิม แต่ตอนนี้กลายเป็นศาลา มีจารึก ชื่อสามีภรรยา คนจีน ตำหนักเจ้าอาวาสก็กลายเป็นตำหนักสมเด็จใหม่อยู่คนละด้านกัน
๒ กุฏิหลังนี้อยู่แนว กุฏิพระทั่วไป แต่ รูปทรงสวยงามมีลวดลาย งามกว่ากุฏทั่วไป กว้างขวาง แปลกพิเศษ
๓ ปัจจุบัน หลวงพ่อบุญมีบอกว่า ไม่มีใครครองกุฎิหลังนี้ ใช้เป็นเรือนรับรองเพราะกว้างขวาง ( ซึ่งพลอยโพยมเห็นด้วยเพราะกว้างขวางเกินพระทั่วไป องค์เดียวจะพักอยู่ ต้องเป็นพระองค์สำคัญจึงจะสมควรได้ครองกุฎินี้)
ภายในกุฏิ
แม้ว่าที่หน้าจั่ว กุฎิ ที่มีลวดลาย มีตัวอักษร ว่า ร.ศ. ๑๓๑ (พ.ศ.๒๔๕๕ ) ซึ่งพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ท่านอยู่ที่วัดนี้แค่ ปี พ.ศ. ๒๓๙๖ เอง และถึงแก่อนิจกรรม พ.ศ. ๒๔๓๔ คือ ร.ศ. ๑๑๐
พระมหาบุญชู บอกว่าบางครั้งการซ่อมแซม วัตถุต่าง ๆ ในวัด ก็มีการเปลี่ยนนามผู้ซ่อมแซม (วิธีนี้วัดบ้านเราใช้กันมาก การสลักรายชื่อเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ตามเจ้าของเงินที่บริจาคซ่อมแซม)
แต่ ถ้าคำนวณ เวลา ๖๐ ปี ก็ยังไม่น่าต้องมีการซ่อมแซม หรือกุฎินี้จะสร้างในสมัย รัชกาลที่หก ใครสร้างสร้างเพื่อใคร ใช่กุฏิที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ ) และพระครูสุวรรณสิริธรรมบอกหรือเปล่า ใช่กุฏิที่คุณสุเมธถ่ายรูปมาหรือไม่
น่าแปลกที่พระในวัดสระเกศราชวรมหาวิหารรุ่นปัจจุบัน แม้แต่ พระมหาบุญชู ไม่รู้จัก พระประสิทธิสุตคุณในรัชกาลที่ ๔ ซึ่งคือพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร )
สำหรับประวัติของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) นอกจากมีผลงานประพันธ์เรื่อง มหาสุปัสสีชาดก บทธรรมเทศน์ ๑ บท บทนมัสการคุณานุคุณ ในด้านการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ท่านได้บริจาคทรัพย์สร้างสะพานและส้วมที่วัดชุมพลนิกายาราม ที่เกาะบางปะอิน และได้สร้างถนนและสะพานตั้งแต่ประตูพฤฒิบาศตลอดไปจนถึงวัดโสมนัสวิหาร (ศรีสุนทราณุประวัต โดยหลวงมหาสิทธิโวหาร)
นี่เป็นเรื่องราวของปราชญ์สยามสามสมัยในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ นามพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร ) แห่งลุ่มน้ำบางปะกง เมืองฉะเชิงเทรา ที่ผู้คนส่วนใหญ่แม้ชาวแปดริ้วเองก็ลืมเลือนเรื่องราวของท่านไปแล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น