แม่น้ำเข้าพระยาที่สามเสนในปัจจุบัน
ขอขอบคุณภาพจากwww.innnews.co.th
เมื่อครั้งที่สุนทรภู่ กวีแห่งรัตนโกสินทร์ เดินทางโดยเรือไปยังพระพุทธบาท เมื่อปลายปี พ.ศ.๒๓๕๐ ก็ยังได้กล่าวถึงความเป็นมาของชื่อสามเสนไว้ใน นิราศพระบาท ว่า
ถึงสามเสนแจ้งความตามสำเนียก
เมื่อแรกเรียกสามแสนทั้งกรุงศรี
ประชุมฉุดพุทธรูปในวารี
ไม่เคลื่อนที่ชลธารบาดาลดิน
จึงสาปนามสามแสนเป็นชื่อคุ้ง
เออชาวกรุงกลับเรียกสามเสนสิ้น
นี่หรือรักจะมิน่าเป็นราคิน
แต่ชื่อดินเจียวยังกลายเป็นหลายคำ
แม่น้ำเจ้าพระยาย่านสามเสน
ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9520000125099
เมื่อไปสืบค้นเรื่องราว ของตำบลสามเสนได้ข้อมูลมาดังนี้
สามเสน เป็นชุมชนเก่าแก่ของกรุงเทพแห่งหนึ่ง ในอดีต บริเวณนี้ถือเป็นสถานที่ห่างไกลจากพระนคร ช่วงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประชากรเพิ่มมากขึ้นกว่าในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขยายเขตพระนครออกไปทางทิศตะวันออก จนถึงทุ่งวัวลำพอง ทุ่งส้มป่อย และทุ่งสามเสน
บริเวณย่านสามเสนจึงมีเรื่องราวเค้าเงื่อนปรากฏอยู่หลายแห่งทั้งในนิทานปรัมปราเล่าสืบต่อกันมาถึงเรื่องพระลอยน้ำ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ สามแสน หรือสามเสน
พระลอยน้ำที่สามเสน
มีเรื่องราวที่เล่าขานสืบต่อกันมาว่า กาลครั้งหนึ่ง มีพระเจ้าไตรตรึงษ์ ครองเมืองพระนครอโยธยา มีพระราชธิดาทรงพระสิริโฉมงดงาม ความงามของพระองค์เลื่องลือไปทั่ว จนเจ้าชายไชยสงคราม โอรสของผู้ครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ เสด็จลงมาลักลอบได้เสียกับพระราชธิดา เมื่อความรู้ถึงพระเจ้าไตรตรึงษ์ว่า เจ้าชายแปลงกายเข้ามาทางท่อน้ำ จึงทำลอบดักไว้ เจ้าชายจึงติดลอบสิ้นพระชนม์ เมื่อเพื่อนเจ้าชายทราบข่าวจึงลงมาแก้แค้น โดยแปลงกายเป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ลอยน้ำมาถึงเมืองอโยธยาก็หยุดนิ่งไม่ลอยต่อไป พระเจ้าไตรตรึงษ์ให้ฉุดพระพุทธรูปไว้ แต่ไม่สำเร็จ จนกระทั่งพระพุทธรูปลอยมาถึงตำบลบางกอก ผู้คนพากันแตกตื่นช่วยกันฉุดพระพุทธรูปอีกแต่ก็ไม่สำเร็จ จนในที่สุดต้องระดมคนจำนวนถึงสามแสนคนจึงสามารถฉุดพระพุทธรูปขึ้นมาได้ แต่พระพุทธรูปปรากฏอยู่เพียงชั่วครู่ก็หายไป นับแต่นั้นมาผู้คนจึงเรียกสถานที่นี้ว่า สามแสน ซึ่งต่อมาคงกร่อนเหลือเพียง “สามเสน” เท่านั้น
เมื่ออ่านต่อไปเรื่อย ๆ ตอนท้าย ๆ ของเรื่อง ลัดเลาะคลองสามเสน ก็พบว่า
หลวงพ่อสามเสน
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9520000125099
ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๖ เมื่อชาวบ้านที่รับจ้างขนอิฐ ทราย อยู่บริเวณท่าน้ำสามเสน ได้พบพระพุทธรูปไม้ลอยน้ำมาติดที่ท่าน้ำ จึงแจ้งให้นายทองอ่อน บุญกลิ่น เจ้าของท่าทรายสามเสนทราบ
เล่ากันว่าผู้คนที่ระดมกันมากว่าสามสิบคนกลับไม่สามารถยกพระขึ้นจากน้ำได้ ทั้งๆ ที่องค์พระพุทธรูปก็มิได้ใหญ่โต จนมีผู้ทักขึ้นว่าต้องทำพิธีบวงสรวงเสียก่อน การอัญเชิญองค์พระพุทธรูปขึ้นจากน้ำจึงเป็นไปโดยง่ายดาย
จากการสันนิษฐานของผู้รู้ พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระปางห้ามสมุทร สมัยต้นรัตนโกสินทร์ แกะจากแก่นโพธิ์ สภาพองค์พระเมื่อขึ้นจากน้ำชำรุดมาก พระกรและพระบาททั้งสองข้างหักหายไป ปลายพระเกตุมาลาชำรุด ทั่วทั้งองค์มีสีดำสนิทเหมือนเคยลงรักมาก่อน ชาวบ้านและตำรวจ พร้อมด้วยผู้มีจิตศรัทธาจึงช่วยกันบูรณะซ่อมแซมองค์พระให้สมบูรณ์ แล้วนำมาประดิษฐานไว้บนสถานีตำรวจสามเสน ผู้คนทั่วไปจึงขนานนามว่า “หลวงพ่อสามเสน”
ที่นำเรื่องหลวงพ่อสามเสนมาเล่าสู่ จะได้ ไม่สับสนว่า หลวงพ่อสามเสนองค์ปัจจุบันที่สามเสนนั้น เป็นเรื่องราวคนละยุคคนละสมัยก่อนมีการตั้งชื่อชุมชนนี้ว่าสามเสน
ขอขอบคุณภาพจากwww.fm91bkk.com
ซึ่งเรื่องราวก็คล้ายคลึงกับตำนานของย่านนี้ที่เล่ากันมาว่า ในสมัยก่อนมีพระพุทธรูป๓ องค์ลอยน้ำมา เมื่อพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ลอยมาถึงตำบลหนึ่งก็แสดงองค์ ให้เห็น ประชาชนเกิดความศรัทธาจึงอาราธนาพระพุทธรูปทั้งสามขึ้นจากน้ำ ด้วยการพร้อมใจกันฉุดแต่ฉุดเท่าไรก็ไม่ขึ้น จนต้องเกณฑ์จำนวนคนมาช่วยกันฉุดถึงสามแสนคน พระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ก็ไม่ยอมขึ้นจากน้ำ ประชากรหมดหวังที่จะนำพระพุทธรูปทั้งสามขึ้นจากน้ำ จึงปล่อยให้ลอยน้ำต่อไปอีก เหตุการณ์นั้นจึงเป็นที่มาของชื่อตำบล "สามแสน" ต่อมามีการเรียกเพี้ยนจนกลายเป็น "สามเสน" เช่นปัจจุบัน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=11
(วารสารเมืองโบราณ)
http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9520000125099
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น