วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2557

ลุ่มน้ำบางปะกง สมัยรัตนโกสินทร์





ขอขอบคุณภาพจากhuahin.thaivisa.com

ลุ่มน้ำบางปะกงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

ทรงโปรดให้หัวเมืองต่างๆ ขึ้นกับกรมพระกลาโหม กรมมหาดไทยและกรมท่าดังเดิมเพื่อสะดวกในการปกครอง เมืองฉะเชิงเทรานั้นเดิมขึ้นกับกรมพระกลาโหม ต่อมาให้ขึ้นกับกรมมหาดไทย ในการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ทรงให้ เมืองฉะเชิงเทราขึ้นกับกรมมหาดไทยตามเดิม



ขอขอบคุณภาพจากth.wikipedia.org

ในสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

ทรงมีช้างเผือกมาสู่พระบารมี ๖ เชือก เป็นช้างเผือกเอก ๓ เชือก พระองค์ทรงได้รับสมญาว่า" พระเจ้าช้างเผือก "

ใด้มีข้อสันนิษฐานว่า เมืองฉะเชิงเทราซึ่งเป็นป่าใหญ่และมีช้างโขลงมาก บริเวณเขตใกล้เมืองมีตำบล"สนามช้าง" "อ่าวช้างไล่่" มีคำบอกกล่าวในประวัติศาสตร์ว่า มีพวกทหารอาสามอญมาตั้งกองจับช้างไปถวายพระเจ้าแผ่นดิน เพราะเป็นแหล่งที่มีช้างมาก เชื่อกันว่าส่วนหนึ่งเป็นช้างจากเมืองฉะเชิงเทรา
ในรัชกาลนี้ มีการนำช้างเผือกประดับไว้ในธงชาติเป็นครั้งแรกเรียกว่าธงช้าง เป็นช้างสีขาวอยู่ในวงจักรติดในผืนธงแดง

ขอขอบคุณภาพจากhttp://allknowledges.tripod.com/thaiflag.html

ในรัชกาลนี้ เริ่มมีการส่งออก น้ำตาล ที่ผลิตจากอ้อยซึ่งเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของลุ่มน้ำบางปะกง เป็นสิ่งที่ชาวจีนนำมาเผยแพร่ในเมืองไทย เป็นผู้นำพันธุ์อ้อยเข้ามาพร้อมทั้งความเชี่ยวชาญการทำน้ำตาลจากพืชชนิดนี้ จนทำให้กิจการดังกล่าวมีคนจีนเป็นเจ้าของกิจการและแรงงานจำนวนมาก


ขอขอบคุณภาพจากwww.dtn.go.th

ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยูหัว


บริเวณลุ่มแม่น้ำบางปะกงเป็นอีกพื้นที่หนึ่งซึ่งรุ่งเรืองด้วยไร่อ้อยและอุตสาหกรรมน้ำตาล โดยมีเมืองฉะเชิงเทราเป็นศูนย์กลางการผลิตน้ำตาลของพื้นที่แห่งนี้ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ นี้ เมืองฉะเชิงเทรามีความสำคัญทางเศรษฐกิจจากการเป็นแหล่งผลิตน้ำตาล ข้าว ผลเร่ว ใบจาก และพืชผลอื่นๆ


เกิดกบฎเจ้าอนุวงศ์ ในปี ๒๓๖๙ มีการกวาดต้อนชาวลาว เข้ามาอยู่เมืองฉะเชิงเทรา



เจ้าอนุวงศ์ถูกคุมตัวมาที่กรุงเทพฯ
ขอขอบคุณภาพจากwww.esanguide.com

เมืองฉะเชิงเทรามีบทบาทในฐานะ “เมืองหน้าด่าน” ที่สำคัญแห่งหนึ่งของชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อญวนเกิดฮึกเหิม หมายจะแย่งชิงอำนาจในการปกครองเขมรและสถาปนากษัตริย์เขมรจากไทย จนเกิดเหตุลุกลามกลายเป็นสงคราม “อานามสยามยุทธ” ระหว่างไทยกับญวนดำเนินไปได้ราว ๑ ปี คือในปี พ.ศ. ๒๓๗๗ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายที่ว่าการเมืองฉะเชิงเทราจากเดิมซึ่งตั้งอยู่ที่ปากน้ำโจ้โล้ มาสร้างกำแพงเมืองใหม่ที่บ้านท่าไข่ แขวงเมืองฉะเชิงเทรา ชิดกับลำน้ำบางปะกง ซึ่งเป็นเสมือนกำแพงธรรมชาติที่ป้องกันศัตรูได้อย่างดี หมายให้ช่วยรักษาเมืองหลวงให้พ้นภัยจากข้าศึก


กำแพงนี้นอกจากจะเป็นปราการในการปกป้องเมืองหลวงแล้ว ยังกลายเป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐแห่งใหม่และเป็นเครื่องแสดงอาณาเขตของเมืองด้วย ต่อมาเมื่อเกิดการสร้างบ้านแปลงเมืองใหม่ภายในกำแพง ความเป็น “เมือง” ที่มีอาณาเขตแน่นอนของฉะเชิงเทราจึงได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์


ภาพวาดเวียงจันทน์ของศิลปินชาวฝรั่งเศส
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.oknation.net/blog/print.php?id=577055

นอกจากนี้ ยังมีการสร้างศาลเจ้าพ่อหลักเมือง การสร้างวัดเมือง (ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามวัดว่าวัดปิตุลาธิราชรังสฤษฏิ์)


สงครามอานามสยามยุทธ ที่กินเวลาถึง ๑๔ ปี ทำให้มีการสร้างป้อมปราการและขุดคลองจากหัวหมากไปบางขนาก ที่อยู่บริเวณเมืองฉะเชิงเทราเพื่อใช้เป็นเส้นทางลำเลียงกองทัพ เมืองแห่งนี้จึงเป็นค่ายพักระหว่างทางของกองทัพไทย

จอห์น ครอว์เฟิด ซึ่งเดินทางเข้ามาสมัยรัชกาลที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กล่าวว่า เรือสำเภาที่บรรทุกสินค้าไปขายจะบรรทุกคนจีนกลับเข้ามาถึงลำละประมาณ ๑,๒๐๐ คน หรือในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยุ่หัว มีคนจีนอพยพเข้ามายังกรุงเทพฯ ถึงปีละ ๑๕,๐๐๐ คน จากนั้นจึงกระจายไปยังเมืองต่าง ๆ ของไทย เพราะความต้องการแรงงานชาวจีนจำนวนมากเพื่อใช้ในการก่อสร้าง เช่น การขุดคลองตั้งแต่หัวหมากไปถึงบางขนาก เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๐ หรือคลองแสนแสบในเวลาต่อมา



ภาพวาดแสดงการขนส่งทางเรือสำเภาในยุค รัชการ ที่ ๒ และ รัชการที่ ๓
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.oknation.net/blog/print.php?id=648835

รวมไปถึงการก่อสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ ทั้งปราสาทราชวังและวัดวาอาราม ทั้งนี้เป็นเพราะชาวจีนผู้อพยพส่วนหนึ่งเป็นช่างฝีมือหรือไม่ก็เป็นผู้ชำนาญการในศาสตร์แขนงต่างๆ เช่น กลุ่มช่างฝีมือชาวจีนแคะมาจากตำบลถงอัน มณฑลฝูเจี้ยน ซึ่งอพยพเข้ามาในรัชกาลที่ ๓ บรรดาผู้ชำนาญการหลากหลายประเภทล้วนเป็นที่ต้องการของทางราชการ อาทิ ช่างก่ออิฐ ช่างทำอิฐช่างต่อเรือ ช่างไม้ การเดินเรือ และทำน้ำตาล จึงทำให้ชาวจีนหลั่งไหลกันเข้ามาอยู่ในเมืองไทยกันมากขึ้น

จอห์น ครอเฟิด (John Crawfurd)
ขอขอบคุณภาพจากsanamluang2008.blogspot.com


มีราษฎร์ที่อาศัยที่เมืองฉะเชิงเทรานับหมื่นคน ซึ่งมีชาวจีนส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะเป็นชาวจีนอพยพเข้ามาปลูกอ้อยและทำโรงน้ำตาลที่เมืองฉะเชิงเทรามากขึ้น ขณะเดียวกันทางการได้ให้ความสนใจก่อสร้างโรงงานน้ำตาลของหลวงขึ้นในบริเวณใกล้เคียงกัน โดยให้พระยาวิเศษฦาไชย เจ้าเมืองฉะเชิงเทรานำงบประมาณทางการไปจัดซื้อยอดอ้อย เพื่อป้อนไร่อ้อยของรัชกาลที่ ๓ ที่เมืองพนัสนิคม พร้อมกับจ้างแรงงานชาวจีน และตระเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ แต่ต้องขาดทุนเนื่องจากการทุจริตของข้าราชการ และการขาดประสบการณ์ทางธุรกิจ แตกต่างจากชาวจีนที่มีความเชี่ยวชาญการผลิตน้ำตาลทุกขั้นตอนเป็นทั้งแรงงานและผู้ประกอบการ สำหรับแรงงานชาวจีนนอกจากดูแลวัตถุดิบที่ใช้ทำน้ำตาลแล้วยังเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตน้ำตาล เช่น เครื่องหีบอ้อย (ลูกหีบ) พลั่ว จอบ เสียม กระทะ ขณะเดียวกันงานด้านอื่น ๆ ในโรงงาน เช่น หัวหน้าคนงาน เสมียน และผู้ดูแล (หลงจู๊) ต่างก็เป็นชาวจีนทั้งสิ้น



ความสำคัญของชาวจีนในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลที่เมืองฉะเชิงเทรา ปรากฏจากบันทึกของสังฆราชปาลเลอกัวซ์ ซึ่งได้มาเยือนเมืองฉะเชิงเทรา เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๑ ความว่า




เมืองแปดริ้ว ที่นี่มีกำแพงเชิงเทิน อันภายในเป็นที่ตั้งจวนของเจ้าเมือง ส่วนราษฎรนั้นอยู่เรียงรายกันไปทั้งสองฝั่งฟากแม่น้ำ มีพลเมืองรวมทั้งสิ้นราว ๑๐,๐๐๐คน ทั้งจังหวัดเป็นที่ราบใหญ่อุดมไปด้วยนาข้าว สวนผลไม้และไร่อ้อย มีโรงหีบอ้อยไม่ต่ำกว่า ๒๐ โรง ซึ่งเจ้าของเป็นคนจีน ข้าพเจ้าพักอยู่กับจีนคริสตังคนหนึ่ง ซึ่งเป็นเถ้าแก่ใหญ่โรงน้ำตาล จึงอยู่ในสถานะที่พอจะพรรณนาความได้ถูกต้อง ที่ริมฝั่งแม่น้ำเราจะเห็นฟืนกองพะเนินเทินทึก ๒- ๓ กอง สูงตั้ง ๑๕- ๒๐ เมตร ใกล้ ๆ กองฟืนนั้น มีโรงหลังคากลม มีควายสองตัวดึงกว้านลูกหีบทำด้วยไม้แข็งสองลูกให้หมุนขบกันเพื่อบดลำอ้อย น้ำอ้อยไหลลงในบ่อซีเมนต์ ด้านหลังโรงหีบก่อเป็นเตาอิฐรูปร่างคล้าย ๆ กับหอคอย ชั้นบนของเตานี้มีแท่งเหล็กใหญ่ขวางอยู่ 3 ท่อน เป็นที่ตั้งหม้อขนาดมหึมา ๓ หม้อ เชื่อมถึงกันด้วยการโบกปูน เมื่อสุมไฟแรงแล้วเคี่ยวน้ำอ้อยในหม้อเหล่านี้จนงวดแล้วเทลงเก็บไว้ในกรวยดิน



พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์
ขอขอบคุณภาพจากhttp://haab.catholic.or.th/article/articleart/art05.html

วันรุ่งขึ้น เขารินน้ำตาลแดงออกแล้วฟอกด้วยดินเหนียวแฉะ ๆ ได้น้ำตาลซึ่งค่อนข้างขาวมาก การเคี่ยวน้ำตาลแดงกับฟองของมันอีกครั้งหนึ่ง ก็ยังได้น้ำตาลอีกเป็นจำนวนมาก ในที่สุดกากน้ำตาลแดงนั้นจะถูกส่งไปที่โรงต้มกลั่นสุรา เพื่อผสมเข้ากับปูนขาวใช้ในการโบกตึก บ่อกากน้ำตาลนั้นตั้งอยู่กลางแจ้ง เพราะฉะนั้น จิ้งจก หนูและคางคกมักจะตกลงไปตายกลายเป็นแช่อิ่มอยู่ในนั้นมากมาย โรงใหญ่ ๆ สองโรง กว้างยาวตั้งโรงละ ๕๐ เมตร ยังไม่ค่อยพอที่จะบรรจุเครื่องมือเครื่องใช้ของโรงหีบได้หมดสิ้น ซ้ำยังใช้เป็นที่อยู่อาศัยของพวกคนงานตั้ง ๒๐๐ คนอีกด้วย ภายในโรงใหญ่โรงหนึ่งนี่เอง ข้าพเจ้าได้ประกอบพิธีกรรมต่อหน้าบุคคล ๒๐๐ คน ให้สมาทานรับศีลเข้ารีตใหม่


พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์
ขอขอบคุณภาพจากhttp://haab.catholic.or.th/article/articleart/art05.html


บันทึกดังกล่าวนอกจากให้รายละเอียดถึงจำนวนประชากร จำนวนโรงน้ำตาล ตลอดจนขั้นตอนการผลิตแล้ว ยังกล่าวถึงจำนวนคนงานที่ใช้ผลิตน้ำตาลซึ่งมีความสำคัญมากจนเจ้าของโรงงานซึ่งเป็นจีนคริสตังได้ให้คนงานของตนทั้งหมดรับศีลเข้ารีตจากสังฆราชปาลเลอกัวซ์ นับเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้ควบคุมแรงงานให้อยู่กับตนได้นาน ๆ อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลจึงมีส่วนทำให้เกิดการรวมตัวของคนจีนจำนวนมาก มิหนำซ้ำในกลุ่มชาติพันธุ์ชาวจีนมีธรรมเนียมช่วยเหลือกันภายในกลุ่มของตนจนสามารถสร้างอิทธิพลระหว่างกลุ่มชาวจีนด้วยกัน ซึ่งแม้แต่ทางการก็ไม่สามารถควบคุมได้ในเบื้องต้น จนเกิดกรณีจีนตั้วเหี่ยครั้งใหญ่ขึ้นที่เมืองฉะเชิงเทราช่วงปลายรัชกาลพระบาทสม้ด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยุู่หัว


ขอขอบคุณบทความของคูณนนทพร อยู่มั่งมี
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1314615743&grpid=no&

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น