วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557

ลุ่มน้ำบางปะกง .. ผลเร่ว.




ขอขอบคุณภาพจากhttp://flickrhivemind.net/Tags/แม่น้ำบางปะกง/Interesting


แม้ว่าเรื่องราวของแม่น้ำบางปะกงจะออกจากต้นแม่น้ำบางปะกงได้แล้วอย่างที่คนเรียบเรียงก็งง คนอ่านก็งงไปด้วย เพราะเท่ากับไม่ได้เรียบเรียงใหม่แต่อย่างใดเป็นเพียงบอกเล่าข้อมูลเท่านั้นเองก็ตาม แต่ดูเหมือนจนป่านนี้เรื่องราวของแม่น้ำปะกงกับคำว่าแรมซาร์ไซต์ยังไม่มีความสัมพันธ์กัน


แม่น้ำบางปะกงทั้งสายเองก็มีระยะทางประมาณ ๒๓๐ กิโลเมตร ในส่วนของระยะทาง จากปากน้ำโยธะกาถึงทะเล ก็ประมาณ ๑๒๒ กิโลเมตร อีกทั้ง ลำน้ำก็มีความคดเคี้ยวยิ่งกว่าแม่น้ำสายใดในเมืองไทย การเดินทางไปสู่จุดสิ้นสุดของลำน้ำก็นับว่ายาวไกล รวมกับความคดเคี้ยวก็ใช่ว่ากระแสธารจะไหลรินได้รวดเร็ว



ขอขอบคุณภาพจากhttp://webboard.travel.sanook.com/forum/?topic=3462588


บ้านเมืิองต่าง ๆ ก็ล้วนมีเรื่องราวเป็นประวัติศาสตร์บอกกล่าวเล่าเรื่องความเป็นมา  ปัจจุบันที่เป็นอยู่และอนาคตที่ยังมาไม่ถึงนั้นหากไม่มีอดีตมาก่อเกิดความภาคภูมิใจ ความผูกพันกับสิ่งนั้นทั้งในปัจจุบันและในอนาคตก็จะลดน้อยถอยลง เพราะความไม่รู้ในที่มาที่ไปของสิ่งนั้น อดีตก็สามารถเป็นเรื่องบ่งชี้อนาคตได้ไม่น้อย  โดยเฉพาะอดีตที่น่าภาคภูมิใจ

แม่น้ำบางปะกงก็เช่นกัน บางอย่างก็ลับเลือนหายไป บางสิ่งก็ยังคงดำเนินอยู๋ บางเรื่องราวก็เพิ่งเกิดขึ้่นใหม่ ประวัติศาสตร์เ้รื่องราวของลุ่มน้ำบางปะกงก็มีมายาวนานไม่แพ้ระยะทางของความยาวของสายน้ำ



ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.konrakmeed.com/webboard/upload/lofiversion/index.php?t10014.html

อดีตกาลของลุ่มน้ำบางปะกงมาถึงบัดนี้ก็เล่าสู่เพียงบางเรื่องราวเท่านั้น ขณะนี้ก็ไหลงมาถึงหน้าวัดเมืองฉะเชิงเทราแล้ว และอยู่ในราวรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

แต่เรื่องที่ทันสมัยที่สุดอย่างเรื่องราวของ Ramsar Site หรือพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ ซึ่งเพิ่งเกิดขึ้นใน ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ และประเทศไทยได้เข้าร่วมลงนามเป็นภาคี เป็นลำดับที่ ๑๑๐ เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๑ นั้น ยังไม่เป็นที่รู้จักกว้างขวาง มีเพียงบุคคลบางกลุ่มเท่านั้นที่รู้จักและสนใจ จึงจะขอเล่าเรื่องราวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขณะนี้เรื่องราวของลุ่มน้ำบางปะกงยังเป็นเรื่องราวในยุคมณฑลปราจีนบุรีอยูู่่ ซึ่งก็จวนจะพ้นยุคสมัยนั้นแล้ว




หากไปอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับพืชผลที่สำคัญของคนลุ่มน้ำบางปะกง หรือมณฑลปราจีนบุรี จะพบว่า ในหนังสือหลายเล่มจะกล่าวถึงผลเร่ว เป็นพืชผลที่มีความสำคัญในมณฑลปราจีนบุรี หรือลุ่มน้ำบางปะกง



ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=pattapon031031&month=09-2007&date=14&group=1&gblog=2


ผลเร่ว

เป็นพืชที่มีความสำคัญมากชนิดหนึ่งในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เพราะผลเร่วเป็นสินค้าผูกขาดที่สำคัญชนิดหนึ่งของไทย โดยเฉพาะในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งแหล่งเก็บผลเร่วในหัวเมืองมณฑลปราจีนบุรีนั้นจะอยู่ในป่าแถบเมืองฉะเชิงเทรา ชลบุรี และปราจีนบุรี การส่งผลเร่วออกไปขายยังต่างประเทศนั้น ส่วนใหญ่จะได้จากการเก็บส่วยตามธรรมชาติ ไพร่ไม่ต้องปลูกเองแต่สามารถไปเก็บเอาจากในป่าได้ ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการยกเลิกการเก็บส่วย ทำให้ความสำคัญของเร่วลดน้อยลงไป ไม่ค่อยมีหลักฐานในการส่งออกเป็นสินค้าอีกในสมัยนี้ อาจเป็นเพราะความต้องการของชาวต่างชาติลดน้อยลงเป็นลำดับ ความสำคัญของน้ำตาล และข้าวมีบทบาทในการส่งออกเป็นสินค้าในตลาดโลกแทน



ขอขอบคุณภาพจากhttp://frynn.com/เร่ว/


ผลเร่วก็เป็นการบ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าของลุ่มแม่น้ำบางปะกง ว่ามีปริมาณมากพอที่ถือเป็นผลิตผลเก็บมาจากป่านอกจากเร่วแล้วยังมีกระวาน น้ำผึ้ง ขี้ผึ้ง ชัน น้ำรัก นำมันยาง ส่วนไม้ยืนต้น ป่าในบริเวณนี้ มีทั้งป่าดงดิย ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณหรือป่าแดง ไม้ที่มีความสำคัญ คือไม้มะค่าโมง ตะแบกใหญ่ กระบก ประดู่ ยางนา ตะเคียนและไม้แดงจีน

ส่วนที่ราบลุ่มแม่น้ำบางปะกงเหมาะแก่การเพาะปลูกพืชพันธ์ต่าง ๆ เช่นอ้อย ข้าว พืชผักผลไม้ต่าง ๆ

ผลเร่ว ( Amomum xanthioides )  เป็นพืชล้มลุก ต้นกลมแข็ง ใบหนาใหญ่และยาวคล้ายใบข่า ดอกเป็นช่อ ลำต้นแทงขึ้นมาจากพื้นดิน  โคนกอสีเหลืองอ่อน  ผลมีลักษณะกลมมีขนปกคลุม ให้ผลตามกิ่ง  เมล็ดมีลักษณะรียาวมีรสเผ็ดร้อน ซึ่งน่าจะนำส่วนนี้ไปเป็นยา หรือเป็นพวกเครื่องเทศเช่นเดียวกับกระวาน  แต่กระวานมีลักษณะแตกต่างกัน ที่ผลกลมแป้น เมล็ดในก็กลม ๆ  นอกจากมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันแล้ว คุณสมบัติก็คล้ายกัน ทำให้จำแนก เร่ว และกระวานได้ยาก


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
มณฑลปราจีนบุรี สมัยเริ่มแรกถึงสมัยพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงศ์ศิริพัฒน์
ปริญญานิพนธ์ของ สุดใจ พงศ์กล่ำ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


ขอขอบคุณภาพจากhttp://thaitraditionalmedicinebook.blogspot.com/2014/01/blog-post_2289.html

เร่วหมายถึง
น. ชื่อไม้ล้มลุกมีเหง้าหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Zingiberaceae ต้นคล้ายข่า เช่น เร่วใหญ่ (Amomum xanthioidesWall.) ผลใช้ทํายา.

(http://dictionary.sanook.com/)

เร่ว




เร่วใหญ่
ขอขอบคูณภาพจากhttp://thaitraditionalmedicinebook.blogspot.com/2014/01/blog-post_2289.html



เร่วเป็นพืชสมุนไพรล้มลุก มีลำต้นใต้ดิน เรียก “เหง้า” ใบเป็นใบเดี่ยว ใบยาวเรียวปลายใบแหลมห้อยย้อยลง ก้านใบสั้นมากจนแทบจะไม่มีก้านใบ

ดอกออกเป็นช่อดอก ก้านช่อดอกแทงออกจากเหง้าโดยตรงขึ้นมาจากดิน กลีบดอกสีชมพูอ่อนจนถึงขาว ก้านช่อดอกสั้น โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นท่อ ปลายแยกเป็นกลีบ

ผลเป็นผลแห้งค่อนข้างกลม หรือรูปไข่สีน้ำตาลแดง มีหนามและมักจะมีขนยาว สีแดงปกคลุม ภายในมีเมล็ดสีน้ำตาล จำนวนมากจับกันเป็นกลุ่มก้อนกลม หรือรี มี ๓ พู มีกลิ่นหอม ฉุน คล้ายการบูร

เมล็ดเร่วมีลักษณะรียาว มีรสเผ็ดร้อน นำไปใช้เป็นยาหรือเครื่่องเทศเช่นเดียวกับกระวาน


เร่วน้อย
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.bansuanporpeang.com/node/15940

เร่ว
สมุนไพรไทยเจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด เกิดตามป่า ที่ทั่วไปที่ไม่มีต้นไม้ปกคลุม ดินร่วนซุย ที่ร่ม พบมากแถบภาคอีสาน ภาคเหนือ และภาคกลาง เร่วมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด เช่น เร่วหอม เร่วช้าง เร่วกอ ซึ่งเร่วเหล่านี้จะมีลักษณะของลำต้นที่แตกต่างกันออกไป แต่จะแบ่งเป็น ๒ ชนิดใหญ่ ได้แก่ เร่วน้อย และเร่วใหญ่



ขอขอบคุณภาพจากhttp://lumphaya.stkc.go.th/gallery_view.php?gallery_id=180

สรรพคุณทางยาของเร่ว-สมุนไพรไทย

1. เมล็ดจากผลที่แก่จัด ใช้เป็นยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ขับลม แก้คลื่นเหียนอาเจียน ขับน้ำนมหลังคลอด บำรุงธาตุในร่างกาย แก้อาหารเป็นพิษ

2. เมล็ดเร่วใหญ่ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ลดความเป็นพิษของสารพิษต่อตับ

3. ราก แก้หืด แก้ไอ แก้ไข้เซื่องซึม

4. ต้น แก้คลื่นเหียน อาเจียน

5. ใบ ช่วยขับลมในลำไส้ แก้ระบบปัสสาวะ

6. ดอก ใช้แก้พิษที่เกิดจากเป็นเม็ดผื่นคันตามร่างกาย

7. ผล รักษาโรคริดสีดวงทวาร แก้ท้องอืด แก้ปวด แก้ไขสันนิบาต แก้หืดไอ แก้เสมหะ

8. ผลเร่วใหญ่ แก้ธาตุพิการ แก้โลหิตขึ้นเบื้องสูง บรรเทาอาการกระหายน้ำ ช่วยขับผายลม ทำให้เรอ ลดความดันโลหิต

9. เร่วจัดอยู่ในตำรับยา “พิกัดทศกุลาผล” ซึ่งเป็นตำรับยาสมุนไพรที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน 10 ชนิด ประกอบด้วย เร่วน้อย เร่วใหญ่ ชะเอมไทย ชะเอมเทศ อบเชยไทย อบเชยเทศ ผักชีล้อม ผักชีลาว ลำพันขาว และลำพันแดง เป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยแก้ไข้เพื่อดีและเสมหะ ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงธาตุ บำรุงปอด บำรุงหัวใจ แก้ไข้ แก้รัตตะปิดตะโรค ช่วยขับลม แก้ลมอัมพฤกษ์อัมพาต


เร่วแห้ง
ขอขอบคุณภาพจากhttp://thaitraditionalmedicinebook.blogspot.com/2014/01/blog-post_2289.html
ประโยชน์อื่นๆของเร่ว-สมุนไพรไทย ผลและเมล็ดของเร่วใหญ่ สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องเทศได้ และเมล็ดยังมีสามารถสกัดสารหอมระเหย สามารถนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตเครื่องสำอาง น้ำมันหอมระเหย และผลิตภัณฑ์อาหารได้อีกด้วย



ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://market.bansuanporpeang.com/product/ขายเมล็ดเร่วน้อย

ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://samunprithaiherb.com/เร่ว-สมุนไพรไทย/



ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.bansuanporpeang.com/node/1596


ยังมีคนเรียกเร่วอีกชนิดว่าเร่วหอม ซึ่งรายการภัตตาคารบ้านทุ่งเคยมีรายการเร่วหอมด้วย  ผู้สนใจลองค้นคว้าอีกครั้ง

แหล่งข้อมูลอื่นของเร่วมีดังนี้
ชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ หมากแหน่ง หมากอี้ มะอี้ ผาลา

ชื่ออังกฤษ Bastard Cardamom, Tavoy Cardamom

ชื่อวิทยาศาสตร์ Amomum xanthioides Wall.

วงศ์ Zingiberaceae

เร่วเป็นพรรณไม้จำพวกเดียวกับกระวาน เป็นพืชล้มลุก มีลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน ใบรูปเรียว ปลายแหลมรูปหอก ก้านใบสั้นมาก ดอกออกเป็นช่อแทงขึ้นมาจากดิน ผลมีลักษณะเป็นขนคล้ายผลละหุ่ง มีขึ้นอยู่ตามป่าราบ และเชิงเขา

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ ผลและเมล็ด




ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.baanmaha.com/community/thread45484.html


สารสำคัญ

ในผลเร่วจะมีนํ้ามันหอมระเหยอยู่ร้อยละ ๕ องค์ประกอบของน้ำมันหอมระเหยส่วนใหญ่เป็นสารโมโนเทอรปีน (monoterpene) เช่น การบูร, บอร์นีออล, แอลฟ่า-ไพนีน และไลโมนีน เป็นต้น

ประโยชน์ทางสมุนไพร

เมล็ดของเร่วมีรสเผ็ดเล็กน้อย นอกจากจะใช้เป็นเครื่องเทศแล้ว ยังเชื่อว่ามีฤทธิ์เป็นยาขับลมเนื่องจากฤทธิ์ของนํ้ามันหอมระเหย และแก้คลื่นเหียนอาเจียน ขับเสมหะได้อีกด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.thaikasetsart.com/เร่ว/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น