แรมซาร์ไซต์ (Ramsar Site) หมายถึง พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ...พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วมขัง พื้นที่พรุ ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล ทั้งที่เป็นน้ำจืดและน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเล มีความสำคัญต่อระบบนิเวศเพราะแหล่งเก็บกักน้ำ ป้องกันน้ำเค็มมิให้รุกเข้ามาในแผ่นดิน...
วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557
ตำนานหลวงพ่อพุทธโสธร ๑
ตำนานหลวงพ่อวัดบ้านแหลม หลวงพ่อโสธร หลวงพ่อโตวัดบางพลีใน
พระพุทธโสธร หรือหลวงพ่อโสธร
มีประวัติความเป็นมาที่เล่าขานเป็นตำนานเฉกเช่นเดียวกับพระพุทธปฎิมาศักดิ์สิทธิ์อีกหลายองค์ ตำนานได้เก็บรวบรวมเรื่องราวในความทรงจำของผู้คน เหตุการณ์ประวัติศาสตร์จริง ความศักดิ์สิทธิ์ อภินิหารต่างๆ แสดงให้เห็นถึงความศรัทธาที่มีต่อพระพุทธโสธร
ตำนานที่เล่าขานกันสืบมาของหลวงพ่อโสธร มีความว่า ในสมัยล้านช้าง-ล้านนา มีเศรษฐีพี่น้อง สามคน ซึ่งอาศัยอยู่ทางเหนือ มีจิตเลื่อมใสศรัทธาสร้างพระพุทธรูปเพื่อเสริมสร้างบารมีและเพิ่มพูนผลานิสงส์แห่งตน ได้เชิญพราหมณ์มาทำพิธีหล่อพระพุทธรูปปางต่าง ๆตามวันเกิดของแต่ละคน อันมีปางสมาธิ ปางมารวิชัย และปางอุ้มบาตร มีการทำพิธีบวงสรวงชุมนุมเทวดาตามพิธีกรรมทางโหราศาสตร์เพื่อปลุกเสกแล้วอัญเชิญไปประดิษฐานที่วัด
กาลต่อมาเกิดยุคเข็ญ โดยพม่ายกทัพมาตีไทยหลายครั้งหลายหน จนครั้งสุดท้ายเป็นครั้งที่ เจ็ด ก็ตีเมืองแตก และได้เผาบ้านเผาเมืองตลอดจนวัดวาอารามต่าง ๆ หลวงพ่อหรือพระพุทธรูปทั้งสามองค์ ได้แสดงอภินิหารเคลื่อนย้ายองค์สู่แม่น้ำปิงและล่องมาทางใต้ตลอด เจ็ดวัน จนกระทั่งมาถึงแม่น้ำเจ้าพระยา ได้แสดงอภินิหารลอยขึ้นให้ชาวบ้านได้พบเห็น ชาวบ้านนับแสน ๆ คนได้ทำการฉุดหลวงพ่อทั้ง สามองค์ถึงสามวันสามคืนก็ฉุดไม่ขึ้น ตำบลตรงบริเวณนั้นจึงได้ชื่อว่า "สามแสน " ต่อมาเพี้ยนเป็น "สามเสน"หลวงพ่อทั้งสามองค์ลอยเข้าสู่คลองพระโขนงลัดเลาะจนถึงแม่น้ำบางปะกง ได้แสดงอภินิหารลอยขึ้นให้ชาวบ้านเห็นอีกครั้ง ชาวบ้าน ประมาณสามพันคน พยายามชักพระขึ้นจากน้ำแต่ไม่สำเร็จ คลองนี้จึงได้ชื่อว่า "คลองชักพระ "
ต่อมาพระพุทธรูปทั้งสามองค์ได้ลอยทวนน้ำขึ้นไปทางหัววัด สถานที่นั้นจึงเรียกว่า "สามพระทวน" ซึ่งต่อมาเรียกเพี้ยนเป็น "สัมปทวน"
หลวงพ่อทั้งสามองค์ ได้ลอยต่อไปตามลำน้ำบางปะกง เลยผ่านหน้าวัดโสธร (ชื่อปัจจุบัน)ไปจนคุ้งน้ำใต้วัดแล้วแสดงอภิหารให้ชาวบ้านเห็นอีก ชาวบ้านช่วยกันฉุดแต่ไม่สำเร็จ จึงเรียกหมู่บ้านและคลองนั้น ว่า"บางพระ" แล้วก็ลอยทวนน้ำวนอยู่หัวเลี้ยวตรงกองพันทหารช่างที่ 2 สถานที่ที่หลวงพ่อทั้งสามองค์ลอยวนอยู่ จึงเรียกว่า " แหลมหัววน" และคลองได้ชื่อว่า "คลองสองพี่น้อง" มาจนทุกวันนี้
ต่อมาพระพุทธรูปองค์ใหญ่ได้แสดงอภินิหารลอยไปถึงแม่น้ำแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม ชาวประมงได้อาราธนาท่านขึ้นประดิษฐานไว้ ณ วัดบ้านแหลม มีชื่อเรียกว่า "หลวงพ่อบ้านแหลม" อีกองค์หนึ่งได้แสดงปาฏิหารย์ล่องเข้าไปในคลองบางพลี ชาวบ้านได้อัญเชิญประดิษฐานที่วัดบางพลีใหญ่ใน จังหวัดสมุทรปราการ มีชื่อเรียกว่า "หลวงพ่อโตบางพลี"
ส่วนพระพุธรูปองค์สุดท้าย หรือหลวงพ่อโสธรนั้น ได้แสดงอภินิหารลอยขึ้นที่หน้าวัดหงส์ ชาวบ้านได้พยายามช่วยกันฉุดขึ้นฝั่งหลายครั้งหลายหน ก็ไม่สามารถอัญเชิญหลวงพ่อขึ้นจากน้ำได้ จนกระทั่งมีอาจารย์ที่มีความรู้ทางไสยาศาสตร์ผู้หนึ้งได้ตั้งศาลเพียงตาบวงสรวงเอาสายสิญจน์คล้องพระหัตถ์พระพุทธรูป และเชิญชวนประชาชนชาวไทยชาวจีนพร้อมใจกันจับสายสิญจน์ จึงสามารถอาราธนาขึ้นฝั่งได้ และนำมาประดิษฐานที่วิหารวัดหงส์เป็นผลสำเร็จเมื่อวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๕ สันนิษฐานว่าน่าจะอยู่ในสมัยต้นกรุงธนบุรี ราวปี พ.ศ. ๒๓๑๓
ป้ายกำกับ:
บทความ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น