แรมซาร์ไซต์ (Ramsar Site) หมายถึง พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ...พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วมขัง พื้นที่พรุ ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล ทั้งที่เป็นน้ำจืดและน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเล มีความสำคัญต่อระบบนิเวศเพราะแหล่งเก็บกักน้ำ ป้องกันน้ำเค็มมิให้รุกเข้ามาในแผ่นดิน...
วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557
ลุ่มน้ำ..บางปะกง แม่กลอง ท่าจีน กับ จีนตั้วเหี่ย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ขอขอบคุณภาพจากwww.trueplookpanya.com
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นตั้งแต่ปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (เป็นยุค จักรพรรดิ เจียชิ่ง และจักรพรรดิเต้ากวง จักรพรรดิลำดับพระองค์ที่ ๗ และ ๘ แห่งราชวงศ์ชิง ระหว่างพ.ศ. ๒๓๓๙-๒๓๙๓) มีชาวจีนอพยพเข้ามาในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก เพราะประสบปัญหาความอดอยากในประเทศ สอดคล้องกับนโยบายของไทยที่ส่งเสริมให้ชาวจีนอพยพเข้ามาอยู่โดยไม่จำกัดจำนวน เพราะต้องการประโยขน์ในการใช้ชาวจีนในกิจการต่าง ๆ ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการแรงงานชาวจีน
ขอขอบคุณภาพจาก http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=27367
ชาวจีนที่เข้ามาอยู่เมืองไทยได้มีการรวมกลุ่มกันตามชาติพันธุ์และภาษาทั้ง จีนกวางตุ้ง แคะ ไหหลำ แต้จิ๋ว ฮกเกี้ยน เพื่อคอยให้ช่วยเหลือระหว่างกันในหมู่แรงงาน และมักมีการตั้งหัวหน้าที่ได้รับความนับถือกันในกลุ่มเรียกว่า 8ตั้วเหี่ยในภาษาแต้จิ๋ว หรือคำ ตั้วก่อในภาษาฮกเกี้ยน แปลว่า พี่ใหญ่ซึ่งคำนี้ใช้กันในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ก่อนจะเปลี่ยนเป็นคำ อั้งยี่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ขอขอบคุณภาพจากwww.sujitwongthes.com
บรรดากลุ่มตั้วเหี่ยในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมักกระจายอยู่ตามพื้นที่ซึ่งสัมพันธ์กับเศรษฐกิจเพื่อการส่งออกโดยเฉพาะในเขตลุ่มแม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำบางปะกง ไปจนถึงหัวเมืองชายทะเลตะวันออก ซึ่งบริเวณดังกล่าวมีอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล ปัญหาที่เกิดจากจีนตั้วเหี่ยมักเกิดในบริเวณดังกล่าว
การช่วยเหลือกันภายในกลุ่มพวกพ้องนี้มีหลายครั้งที่จีนตั้วเหี่ยดำเนินการไปเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มของตนจนกระทบกระทั่งกับกลุ่มอื่นกลายเป็นการวิวาทระหว่างกันทำให้ทางการต้องปราบปราม เช่น กรณีจีนตั้วเหี่ยครั้งแรกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๗ (ปีที่หนึ่งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว )ที่เมืองจันทบุรีเกิดจากการวิวาทระหว่างจีนฮกเกี้ยนและจีนแต้จิ๋ว
จีนตั้วเหี่ยมักทำเรื่องขัดต่อกฎหมายบ้านเมือง ในปี พ.ศ. ๒๓๘๕ เกิดจีนตั้วเหี่ยที่เมืองนครชัยศรีและเมืองสาครบุรี มีสมัครพรรคพวกประมาณ ๑,๐๐๐ คน เที่ยวตีชิงเรือลูกค้า และเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๘ จีนตั้วเหี่ยบริเวณหัวเมืองตะวันตกรวมตัวกันเป็นโจรสลัดตีชิงเรือลูกค้าสัญจรระหว่างเมืองปราณบุรีถึงเมืองหลังสวนจนไม่มีเรือลำใดกล้าแล่นผ่านบริเวณนี้ แต่ภายหลังทั้ง ๒ กลุ่มถูกทางการปราบปรามในที่สุด
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.phuketoldtownhostel.com/history_th.html
ขณะเดียวกันปัญหาการค้าฝิ่นก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่บรรดาจีนตั้วเหี่ยเข้าไปพัวพัน เนื่องจากเป็นที่ต้องการของแรงงานชาวจีน ทางราชการได้ปราบปรามอย่างหนักดังในปี พ.ศ. ๒๓๘๒ มีการยึดฝิ่นจากหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันตกจำนวนกว่า ๓,๗๐๐ หาบ ก่อนส่งมาเผาทำลายที่หน้าพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ อีกทั้งทางการได้ปราบปรามจีนตั้วเหี่ยที่ค้าฝิ่นด้วย เช่น การปราบปรามกลุ่มชาวจีนที่ปากน้ำบางปะกงเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๗ และในปี พ.ศ. ๒๓๙๐ เกิดจีนตั้วเหี่ยที่เมืองสาครบุรีอีกครั้งหนึ่ง ครั้งนั้นพระยามหาเทพ (ปาน) ซึ่งเป็นแม่ทัพถูกปืนถึงอนิจกรรม ส่วนฝ่ายจีนตั้วเหี่ยถูกปราบอย่างราบคาบเสียชีวิตกว่า ๓๐๐ คน
จีนตั้วเหี่ยที่เมืองฉะเชิงเทรา
ความรุ่งเรืองของเศรษฐกิจสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดขึ้นโดยมีชาวจีนเป็นจักรกลสำคัญ แต่เวลาเดียวกันทางการต้องประสบปัญหาจากบรรดาจีนตั้วเหี่ยเกือบตลอดรัชกาล และหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญคือ การจลาจลของจีนตั้วเหี่ยที่เมืองฉะเชิงเทรา เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๑ ซึ่งมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้มากกว่าครั้งใด ๆ ที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้
ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.matichon.co.th บทความของคุณ นนทพร อยู่มั่งมี
ป้ายกำกับ:
บทความ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น