แรมซาร์ไซต์ (Ramsar Site) หมายถึง พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ...พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วมขัง พื้นที่พรุ ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล ทั้งที่เป็นน้ำจืดและน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเล มีความสำคัญต่อระบบนิเวศเพราะแหล่งเก็บกักน้ำ ป้องกันน้ำเค็มมิให้รุกเข้ามาในแผ่นดิน...
วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557
วัดโสธรวรารามวรวิหาร"...วัดคู่เมืองแปดริ้ว ๑..
ชาวมอญ
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.riverkwaijunglerafts.com/kanchanaburi_hotels/mon_culture/th
"วัดโสธรวรารามวรวิหาร"...วัดคู่เมืองแปดริ้ว...
อันดินแดนสุวรรณภูมิที่ตั้งของประเทศไทย... เป็นถิ่นฐานที่มีผู้คนหลากหลายเชื้อชาติหลากหลายศาสนาโยกย้ายถิ่นฐานเดิมของตนเองเข้ามาอยู่อาศัยตั้งหลักแหล่ง สืบทอดเชื้อสาย ประเพณีและวัฒนธรรม ดั้งเดิมของตนเองกันมากมายและกระจายอยู่ทั่วไปทุกส่วนภาคของไทย
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.naewna.com/lady/55840
ชาวมอญ
เป็นชนชาติหนึ่งซึ่งอพยพมาจากตอนใต้ของประเทศพม่าที่ได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา สถานที่เป็นที่นิยมเข้ามาตั้งถิ่นฐานก็คล้ายกับชาวจีน คือแถมลุ่มน้ำต่างๆ ซึ่งชาวมอญเองมักมีหลักฐานสำคัญที่บ่งบอกถึงการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชนชาติมอญ คือ วัด ในลักษณะที่คล้ายกับคนจีนคือโรงเจ ชาวจีนไปถิ่นตั้งถิ่นฐานที่ใดก็จะสร้างโรงเจ ที่นั่น ชาวมอญก็เช่นกัน
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.ramanrak.com/?p=489
ชาวมอญเป็นชนชาติหนึ่งที่เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง เมื่อมีการสร้างชุมชนชาวมอญที่ใด ก็จะมีการสร้างวัดควบคู่ไปด้วย สัญลักษณ์ที่บ่งบอกความศรัทธาชองชาวมอญก็คือมีเสาหงส์ตั้งอยู่ในวัด
ซึ่งที่วัดโสธรวรารามวรวิหาร นั้นตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง ในอดีตกาลมีชื่อว่า วัดหงส์ มาก่อนและเคยมีเสาหงส์อยู่ในวัด เป็นที่สันนิษฐานว่า วัดหงส์นี้ เป็นวัดของชาวมอญมาก่อน ซึ่งสาเหตุการสร้างเสาหงส์ของชาวมอญนั้นยังหาข้อสรุปที่ชัดเจนไม่ได้ แต่ได้มีผู้สันนิษฐานว่าอาจมีที่มาดังนี้คือ
ขอขอบคุณภาพจากmoojang1993.blogspot.com
แต่เดิมชาวมอญมีคติการสร้าง "เสาธง" เพื่อเป็นเครื่องบูชาพระพุทธเจ้า เพราะเชื่อว่าได้อานิสงส์สูงยิ่งนัก มีตำนานกล่าวไว้ในพุทธประวัติว่า ในครั้งพุทธกาล มีชาวบ้านป่าที่ยากจนเช็ญใจ แต่มีความศรัทธาแรงกล้าในพระพุทธศาสนาและต้องการบูชาพระพุทธคุณได้นำผ้าห่มนอนเก่า ๆ ของตนผูกและชักขึ้นเหนือยอดเสา จนเกิดอานิสงส์ผลบุญ เมื่อสิ้นชีวิตไปได้เกิดเป็นพระราชา ที่เพียบพร้อมทั้งรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติในภพชาติต่อมา จากตำนานดังกล่าวจึงเกิดประเพณีการสร้างเสาธงสืบเนื่องมาจนปัจจุบัน เสาธงและธงที่ปรากฎอยู่ตามวัดต่าง ๆ ของชาวมอญ ยังมีความหมายแทนธงชัยของพระอรหันต์ที่ประกาศให้สังคมโลกได้รับรู้ถึงสัจธรรมและความมีชัยต่อสรรพทุกข์ทั้งปวงในทางพระพุทธศาสนา
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.ramanrak.com/?p=489
ส่วนประเพณีการสร้าง "เสาหงส์ " สันนิษฐานว่ามีเรื่องราว เกิดขึ้นเมื่อราวร้อยกว่าปีมานี้ โดยชาวมอญที่จากบ้านเกิดเมืองนอนเมืองมอญมาอยู่ เมืองไทยสร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงเมืองหงสาวดี เนื่องจาก "หงส์" เป็นสัตว์มงคลที่ชาวมอญเมืองหงสาวดีใช้เป็นสัญลักษณ์ของดินแดน นอกจากนี้อาจมีที่มาจากการที่ หงส์ เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ โดยเป็นพาหนะของพระพรหมตามคติของชาวฮินดู เมื่อพระพุทธศาสนาเข้ามามีอิทธิพลแทนที่ศาสนาฮินดู ผู้ที่เคยนับถือศาสนาฮินดูแล้วเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ ได้นำคติความเชื่อเรื่องหงส์ มาผนวกเข้ากับความเชื่อทางพระพุทธศาสนาด้วย
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.monstudies.com/show_content.php?topic_id=97&main_menu_id=1
ป้ายกำกับ:
บทความ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น