วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ผลงานพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ๓

ผลงานพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)


๔. ประเภทคำประกาศพระราชพิธี


๕. ประเภทคำฉันท์
๕. ๑ คำฉันท์กล่อมช้าง

๕.๒ ฉันทวิภาค





๖. ประเภทลิลิต
พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย) ได้แต่งลิลิตไว้เรื่องหนึ่ง คือลิลิตเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


๗.บทเสภาเรื่องอาบูหะซัน ตอนที่ ๗



๘. ประเภทหนังสือศาสนา
๘.๑ เรื่อง มหาสุปัสสีชาดก
๘.๒ บทธรรมเทศน์ ๑ บท
๘.๓ บทนมัสการคุณานุคุณ ซึ่งประกอบด้วย คำนมัสการพระพุทธคุณ คำนมัสการพระธรรมคุณ คำนมัสการพระสังฆคุณ คำนมัสการมาตาปิตุคุณ คำนมัสการอาจริยคุณ คำนมัสการพระมหากษัตริย์ คำนมัสการเหล่าเทวา


๙. เนื้อร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี เพลงแรกของประเทศไทย

๑๐. ผลงานร่วม ใน หนังสือ “คำฤษฎี”

คำฤษฎี เป็นหนังสืออธิบายความหมายศัพท์แบบพจนานุกรม โดยแยกหมวดอักษรอย่างคร่าว ๆ ศัพท์ที่รวบรวมไว้ มีทั้งคำภาษาบาลี คำบาลีแผลงเป็นสันสกฤต คำเขมร ลาว ไทย และ คำโบราณจากหนังสือต่าง ๆ สำหรับผู้แต่งร้อยกรองได้ใช้ประโยชน์ แบ่งออกเป็นสองเล่ม

เล่มที่หนึ่ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร ทรงรวบรวมคำศัพท์และอธิบายความหมาย พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย)ได้เพิ่มเติมคำและตรวจแก้ในส่วนที่บกพร่อง
ส่วนเล่มที่สอง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส สมเด็จพระเจ้า-
บรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร และพระบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ ทรงร่วมกันรวบรวมคำศัพท์และอธิบายความหมาย

๑๑. ประเภทโคลงเบ็ดเตล็ด และโคลงเฉลิมพระเกียรติเจ้านาย

ได้มีการแต่งโคลงเฉลิมพระเกียรติเจ้านาย คือ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ เพื่อทำเครื่องประดับพระเมรุสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์
ในโคลงเฉลิมพระเกียรตินี้ มีทั้งพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการได้ร่วมกันแต่งขึ้น รวมทั้งงานนิพนธ์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย) รวมอยู่ด้วย


จากผลงานการแต่งหนังสือแบบเรียนภาษาไทย ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย) ได้มีการนำบางบทบางตอนของหนังสือมาเป็นแบบเรียนท่องจำ หรือบทอาขยาน เช่น


บทกลอนนิติสารสาธก ๑ ซึ่งท่านแต่งขึ้นสอนเด็ก


อย่าเกียจคร้านการเรียนเร่งอุตส่าห์          มีวิชาเหมือนมีทรัพย์อยู่นับแสน
จะตกถิ่นฐานใดคงไม่แคลน                     ถึงคับแค้นก็พอยังประทังตน

อันความรู้รู้กระจ่างถึงอย่างเดียว             แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดคงเกิดผล
อาจจะชักเชิดชูฟูสกนธ์                            ถึงคนจนพงศ์ไพร่คงได้ดี

เกิดเป็นชายชาวสยามตามวิสัย                หนังสือไทยก็ไม่รู้ดูบัดสี
ต้องอับอายขายหน้าทั้งตาปี                     ถึงผู้ดีก็คงด้อยถอยตระกูล

จะต่ำเตี้ยเสียชื่อว่าโฉดช้า                        จะชักพายศลาภให้สาบสูญ
ทั้งขายหน้าญาติวงศ์พงศ์ประยูร               จะเพิ่มพูนติฉินคำนินทา ฯ

แม้ว่าปัจจุบันแบบเรียนหลวงได้ถูกยกเลิกไป บทท่องจำก็เปลี่ยนไปแล้ว แต่บทที่ยังคงได้ยินกันชินหูและยังคงใช้อยู่คือ บทสวดนมัสการคุณานุคุณ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น