วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เกร็ดประวัติพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ๑.





๑. พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางหูร) เป็นผู้กตัญญููรู้คุณผู้มีอุปการะคุณ

จากข้อความในหนังสือศรีสุนทราณุประวัติ ซึ่งเขียนโดย น.ห.หลวงมหาสิทธิโวหาร บุตรชายคนโตของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) พิมพ์แจกในการพระทานเพลิงศพพระยาศรีสุนทรโวหาร น้อย อาจารยางกูร)เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ ๒๔๓๘ (จ.ศ ๑๒๕๗ ร.ศ.๑๑๔)
ตอนหนึ่งมีใจความว่า
ในขณะที่พระน้อย (พระยาศรีสุนทรโวหาร) สอบได้เปรียญธรรม ๕ ประโยค ขณะอุปสมบทอยู่ที่วัดสเกษนั้น
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นที่ทรงโสมนัศยินดีเปนที่ยิ่ง ด้วยเดิมที่วัดสเกษในสมัยนั้นขาดเปรียญมาหลายสิบปีแล้ว ครั้งนี้ท่านมาเป็นเปรียญขึ้นในวัดสเกษ แลมีอาจารยะมารยาตรอันสุภาพเรียบร้อย เป็นที่เฉลิมพระราชศรัทธาจึงได้เปนที่ทรงยินดี ให้ถาปนาวัดสเกษรื้อกุฎีเก่าอันที่รกรุงรังด้วบฝาจากฝาไม้ไผ่นั้นเสีย แล้วก่อสร้างกุฎีตึกใหม่ ให้เป็นที่เสนาศนอันงดงาม แลก่อภูเขาทองในปีนั้นด้วย


ครั้งนั้นท่านได้ถวายพระพรขอโยมผู้ชายของท่าน ซึ่งยังต้องรับราชการอยู่ที่เมืองฉเชิงเทรา ให้พ้นจากราชการหัวเมืองโดยความกตัญญูกัตะเวที ที่ท่านจะสนองคุณโยมผู้ชายของท่าน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตถวายตามประสงค์

(ใช้ตัวสะกดตามอักขระเดิมตามต้นฉบับ)




ขอขอบคุณภาพจากอินเทอร์เนท

ครั้งนั้นท่านได้ถวายพระพรขอโยมผู้ชายของท่าน ซึ่งยังต้องรับราชการอยู่ที่เมืองฉเชิงเทรา ให้พ้นจากราชการหัวเมืองโดยความกตัญญูกัตะเวที ที่ท่านจะสนองคุณโยมผู้ชายของท่าน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตถวายตามประสงค์

(ใช้ตัวสะกดตามอักขระเดิมตามต้นฉบับ)


โยมผู้ชายของท่านคือ หลวงบันเทาทุกขราษฎร์ (ไทย) กรมการเมืองฉเชิงเทรา พี่ชายใหญ่ของท่านพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)

ต่อมาหลวงบันเทาทุกขราาฎร์ (ไทย)มีภรรยา ๒ คน ชื่อ คล้าย และชื่อสร้อย มีบุตรธิดา รวม ๑๐ คน โดยธิดา คนที่ ๓ เป็นหญิงชื่อเอี่ยม ได้สมรสกับหลวงจ่าเมือง (อ้น ) มีบุตรธิดา ๗ คน คนที่ ๑ เป็นหญิงชื่อเล็ก ต่อมาคือคุณหญิงเล็กปลีหจินดาสวัสดิ์ โดยหลวงจ่าเมือง (อ้น) เป็นพระยาปลีหจินดาสวัสดิ์ นายอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา คนที่ ๑
และมีบุตรธิดา ๒ คน โดยธิดา ชื่อ ปุย
ธิดา ที่ชื่อปุย ได้สมรสกกับพระอินทรสา (ตรอง อินทรวสุ) เจ้าเมืองฉะเชิงเทรา คนที่ ๔
ต่อมาลูกหลานของหลวงบันเทาทุกขราษฏร์ ได้แตกสายตระกูลเป็นศีิริโวหาร ศิริสุนทร

พลอยโพยมได้ ติดต่อกับสายตระกูล อินทรวสุ ได้รับทราบข้อมูลจาก หนึ่งสี่ของผู้จัดการมรดกตระกูลอินทรวสุ ว่าพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้ยกที่ดินแปลงหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทราให้กับรุ่นหลานของหลวงบันเทาทุกขราษฏร์
ซึ่งพลอยโพยมนำมาเล่าสู่เพื่อประกอบเรื่องความกตัญญูของพระยาศรีสุนทรโวหารที่มีต่อพี่ชายคนโตของท่าน ทั้งที่พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)เองก็มีบุตรธิดา ถึง ๖ คน


“เมรุปูนวัดสระเกศ” เป็นเมรุที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) แต่ครั้งยังเป็นพระยาพิพัฒน์รัตนราชโกษา เป็นนายช่างสร้างเมรุด้วยการก่ออิฐถือปูน

“เมรุปูน” ถือได้ว่าเป็นเมรุเกียรติยศที่พระเจ้าแผ่นดินทรงเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพตั้งแต่รัชกาลที่ ๓ เช่นเดียวกับเมรุราชอิศริยาภรณ์ ที่ตั้งอยู่ในวัดเทพศิรินทราวาสปัจจุบัน

เมรุปูนวัดสระเกศ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นนี้ เพื่อใช้สำหรับพระราชทานเพลิงพระศพเจ้านาย และศพข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ที่มีการก่อสร้างอย่างปราณีตสมบูรณ์ยิ่งกว่าเมรุปูนของวัดอรุณราชวราราม และวัดสุวรรณาราม ที่ได้สร้างมาก่อนหน้านี้แล้ว เมรุปูนวัดสระเกศ

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจากhttp://www.vcharkarn.com/vcafe/208625



ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.tartoh.com

๒.  สายตระกูลพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)

พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย) สมรสกับคุณหญิงศรีสุนทรโวหาร (แย้ม) มีบุตรธิดาตามคำบอกเล่า ๖ คน
๑. บุตรชายคนโตชื่อ ห่วง ได้เข้ารับราชการ เป็น ขุนวิทยานุกูลกวี หลวงมหาสิทธิโวหาร
๒. เป็นหญิงชื่อสุ่น สมรส
๓. เป็นชายชื่อชุบ อาจารยางกูร
๔. เป็นหญิงชื่อเยื้อน (คุณหญิงเยื้อน สมรสเป็นภรรยาคนแรกของนายพลเรือตรีพระยาราชสงคราม (กร หงสกุล ) ไม่มีบุตรธิดา ก่อนสิ้นชีวิต
๕. เป็นชายชื่อหลวงศุภนัย
๖. เป็นหญิงชื่อเล็ก สมรส เป็นภรรยาคนแรกของนายโป๋ คอมันตร์ ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาพิพากษาสัตยาธิปตัย ตำแหน่งองคมนตรีในรัชกาลที่ ๖ และ ในรัชกาลที่ ๗ ก่อนสิ้นชีวิตมีบุตรชาย ๑ คน คือนายอาบ คอมันตร์





ขอขอบคุณภาพจากhttp://board.postjung.com/653996.html

๓.นามสกุล อาจารยางกูร เป็นนามสกุลที่ได้ขอพระราชทานนามสกุลดังนี้

บุตรชายคนโตของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูรฉ ชื่อ ห่วง ได้เข้ารับราชการเป็น ขุนวิทยานุกูลกวี ภายหลังได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นหลวงมหาสิทธิโวหาร
ซึ่งในปี พ.ศ. ๒๔๓๘ หลวงมหาสิทธิโวหารมีตำแหน่งปลัดนั่งศาล กรมพระอาลักษณ์ และผู้ช่วยราชการในกรมไปรษณีย์ ซึ่งจะได้เลื่อนบรรดาศักดิ์และตำแหน่งงาน สูงขึ้นไปเพียงใด ไม่ปรากฏหลักฐาน

หลวงมหาสิทธิโวหาร มีบุตรชาย ชื่อหวน ในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ นายร้อยโทหวน ผู้บังคับกองตำรวจภูธรเมืองปราณบุรี ได้ขอพระราชทานนามสกุลจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้รับพระราชทานนามสกุลในลำดับที่ ๑๔๕๗ ว่า อาจารยางกูร Acha^rya^nkura ต่อมานายร้อยโทหวน ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น ร.ต.อ. ขุนประทุมคามพิทักษ์ ผู้กำกับการตำรวจเมืองร้อยเอ็ด (ข้อมูลจากพ.ต.ต. ชำนาญ ฉายะบุตร หลาน ร.ต.อ.ขุนประทุมคามพิทักษ์)

1 ความคิดเห็น:

  1. สวัสดีค่ะคุณพลอยโพยม ดิฉันมาจากสกุลปลีหจินดาค่ะ โทร. 084 099 4977 อยากขอข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ จะติดต่อคุณได้อย่างไรคะ

    ตอบลบ