วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ผลงานพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ๒

ผลงานพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)







๒. ประเภทสุภาษิต
พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) มีบทนิพนธ์ประเภทสุภาษิตจำนวนมากดังนี้

๒.๑ วชิรญาณสุภาษิต พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้เขียนสุภาษิตเป็นคำฉันท์ เช่น

จักแถลงแจงจตุเภทณเหตุอคติสถาน
โดยพุทธบรรหาร                          ประกาศ

คือคิดล่วงยุติธรรม์และผันพิรุธพลาด
ด้วยเห็นกะหมู่ญาติ                        และมิตร

หนึ่งละเมิดด้วยมนะโกรธพิโรธนรและคิด
ให้พ่ายเพราพานผิด                     ประมูล

หนึ่งแกล้งแพลงยุติธรรม์เพราะขยั้นบรจะพูน
ภัยเวรและเสื่อมสูญ                    ประโยชน์

หนึ่งพลาดด้วยมุหจิตและคิดชวนะโฉด
ลืมหลงก็กอบโทษ                       ทวี

ครบสี่ลักษณแพลงระแวงวิรุธมี
มาในพระบาลี                             พระสอน ฯฯ







๒.๒ โคลงสุภาษิตเจ้านาย
โคลงสุภาษิตเจ้านาย เดิมเรียกว่าโคลงสุภาษิตใหม่

เป็นพระราชนิพนธ์ และพระนิพนธ์ทรงเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับที่พระราชวังบางปะอิน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๐
เป็นพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระนิพนธ์ของเจ้านาย นอกจากเจ้านายมีแต่ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย) คนเดียวที่ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้แต่งด้วย โดยฐานที่เป็นอาจารย์

๒.๓ โคลงพิพิธพากย์
หนังสือโคลงเรื่องนี้ กรรมการหอสมุดวชิรญาณแต่ก่อนได้ขอแรงจินตกวีที่เป็นสมาชิกหอสมุดวชิรญาณ ไม่ได้เป็นสมาชิกบ้าง และกรรมการเองบ้างช่วยกันแต่งคำโคลงคนละเรื่อง แสดงคุณและโทษของเรื่องที่ตั้งกระทู้ความนั้น

๒.๔ โคลงอุภัยพากย์
ในหนังสือโคลงอุภัยพากย์ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย) ได้แต่งโคลงว่าด้วยต้น ว่าด้วยปลายไว้เป็นโคลงสุภาษิตอุภัยพากย์
หนังสือเรื่องนี้เป็นโคลงซึ่งกรรมการหอสมุดวชิรญาณชั้นก่อนได้ขอแรงผู้ที่เป็นจินตกวีแต่งขึ้นเป็นโคลงสุภาษิต แล้วลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์วชิรญาณวิเศษ

๒.๕ วรรณพฤติคำฉันท์
พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย) ได้แต่งวรรณพฤติคำฉันท์ไว้อีกเรื่องหนึ่ง นับเนื่องในประเภทสุภาษิต


๓. ประเภทวรรณคดี

๓.๑ โคลงเรื่องรามเกียรติ์

ในคราวฉลองพระนครครบ ๑๐๐ ปี ใน พ.ศ. ๒๔๒๕ นั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ มวลกวีแต่งโคลงเขียนภาพเรื่องรามเกียรติ์ เพื่อจารึกฝาผนังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
โดยมีพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย) เป็นแม่กองตรวจโคลงรามเกียรติ์ที่จินตกวีแต่ง ส่วนตัวพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย) เองแต่งโคลงเรื่องรามเกียรติ์ ห้องที่ ๑ ห้องที่ ๒ และห้องที่ ๓ รวม ๘๔ บท


ห้องที่ ๑...พระชนกฤษีทำพิธีบวงสรวงไถได้นางสีดาแล้วลาเพศกลับเข้าเมืองมิถิลา

แผ่นที่ ๑ - พระศรีสุนทรโวหาร

๑ ปางราชดาบศไท้……………ชนกนาม
นากุฏิพนาราม………………....ป่ากว้าง
แต่ฝังบุตรีงาม…………………..งำเงื่อน ไว้เฮย
กลับนิยมศีลสร้าง………………พรตพร้อมพรมจรรย์ ฯ

๒ จิตรมุ่งหมายได้ลุ…………...โลกีย์ ฌานเฮย
เพียรพยายามทวี………………ค่ำเช้า
นับฉนำเนิ่นนานลี……………...ลาศล่วง หลายนา
ยังบ่ยลย่างเข้า…………………เขตรห้องฌานชม ฯ

๓ หน่ายจิตรคิดทดท้อ…………ทางเรียน
ใจป่วนหวนวนเวียน……………วากเว้
ทำเพียรบสมเพียร……………..เพียรเปล่า แล้วพ่อ
จักบวชชักโอ้เอ้…………………อยู่ด้วยอันใด ฯ

๔ จักคืนกลับเข้าสู่……………บูรี
สมบัติสมบูรณมี……………….มากพร้อม
บำรุงประชาชี…………………ฉันเช่น ก่อนแฮ
จำกลับเดินทางอ้อม……….….ออกสร้างทางทาน ฯ

๕ หวนคิดถึงลูกน้อย…….……ในดิน
ตรัสเรียกนายโสมลิน…….……ลาศเต้า
ยังร่มนิโครธผิน…………….….ภักตร์สั่ง โสมเอย
ขุดลูกกูจักเข้า…………………เฃตรแคว้นนครคืน ฯ

๖ นายโสมรับสั่งแล้ว…………ขมีขมัน
จับจอบจวกดินฟัน…………….งัดไง้
บประสบสิ่งสำคัญ……………ผอบบุตร ท่านนา
ทิ้งจอบนั่งร้องไห้………………เหตุแจ้งจอมธรรม์ ฯ

๗ องค์พระชนกได้……………สดับกิจ
ตกตลึงลาญจิตร…………..….อัดอั้น
อกหวั่นพ่างชีวิตร…………..…จักวอด วายแฮ
เกิดสติกลับกลั้น……………...โศกแล้วสั่งโสม ฯ

ขอขอบคุณขเอมูลและภาพจากhttp://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=praingpayear&month=07-2008&date=05&group=13&gblog=2


๓.๒ โคลงภาพพระราชพงศาวดาร

ในคราวงานพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ และพระศพพระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคนารีรัตน์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระเมรุท้องสนามหลวง พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย) เป็นผู้รวบรวมโคลงเรื่อง พระราชพงศาวดาร ประกอบภาพเขียน

ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้ทำกรอบกระจกสำหรับรูปภาพทั้งปวง มีโคลงบอกเรื่องราวติดประจำทุกกรอบ รูปภาพเรื่องพระราชพงศาวดารมีจำนวน ๙๒ แผ่น โคลงที่แต่งมีจำนวน ๓๗๖ บท ประดับพระเมรุ



แผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดี ที่ ๑
สร้างกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. ๑๘๙๓)




แผ่นดินสมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์
พระยาวชิรปราการกับทหาร ๕ ม้า รบพม่า ๕๐ ม้า (พ.ศ. ๒๓๐๙)
ขอขอบคุณภาพจากhttp://heritage.mod.go.th/nation/misc/learning2.html


ในส่วนที่เป็นบทประพันธ์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อยอาจารยางกูร ) คือ

เป็นร่ายนำโคลงภาพพระราชพงศาวดาร

ตอนเนื้อเรื่อง ท่านได้แต่งโคลงภาพพระราชพงศาวดาร ภาพที่ ๖๕ (แผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรี ภาพพระยาตานีส่งตัวเจ้านครถวาย) และ ภาพที่ ๘๕ (ภาพหล่อปืนนารายณ์สังหาร)

ในตอนท้าย พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย) ได้แต่ง “ร่ายประชุมโคลง”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น