วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2557

พรรณปลา ชะแวง - แขยง...



พรรณปลาชะแวง





"ปลาชะแวง"


ปลาแขยงข้างลาย




ปลาแขยงข้างลาย (ชื่อสามัญ)
Mystus multiradiatus (ชื่อวิทยาศาสตร์)
IRIDESCENT MYSTUS (ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ)
อยู่ในวงศ์ปลากด
ลักษณะทั่วไป

เป็นปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ด มีขนาดค่อนข้างเล็ก ลำตัวป้อมสั้น ด้านข้างแบน หัวแหลม ปากเล็ก มีหนวด ๔ คู่ ครีบหลังมีก้านเดี่ยวแข็งและแหลมคมหนึ่งอัน ครีบหูมีเงี่ยงแหลมคมข้างละอัน มีแถบสีขาวเงิน ๒ แถบ พาดไปตามความยาวลำตัว ด้านหลังมีสีน้ำตาลปนดำเข้ม


ถิ่นอาศัยพบทั่วไปตามแม่น้ำลำคลอง และหนองบึง
ปลาแขยงที่ยังพบมากในแม่น้ำเจ้าพระยา คือปลาแขยงข้างลาย

นิสัย ปลาแขยงชอบอพยพไปที่น้ำท่วม ในช่วงฤดูน้ำหลาก
อาหารกินลูกกุ้ง ลูกปลา ตัวอ่อนแมลงน้ำ ซากพืชและสัตว์ที่เน่าเปื่อย
ขนาดความยาวประมาณ ๑- ๑๘ เซนติเมตร
ประโยชน์นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เนื้อใช้ปรุงอาหารได้



ปลาแขยงหิน





แขยงหิน (ชื่อสามัญ)
กดหิน (ชื่อสามัญ)
SIAMESE ROCK CATFISH (ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ)
Leiocassis siamensis (ชื่อวิทยาศาสตร์)

ลักษณะทั่วไป

ลำตัวค่อนข้างยาว ไม่มีเกล็ด หัวแบนราบลงเล็กน้อย ตามีผิวหนังใสปิดคลุม มีฟันซี่แหลมเล็ก ๆ อยู่บนขากรรไกร และเพดานปาก มีหนวด ๔ คู่ มีรูจมูกข้างละหนึ่งคู่ แต่ละคู่อยู่ห่างจากกัน ครีบหลังและครีบหูมีหนามแหลม ลำตัวมีพื้นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน มีแถบดำหรือน้ำตาลเข้มพาดขวางลำตัว แถบที่ว่านี้จะมีขนาดโตกว่าช่วงสีพื้นของลำตัว ขนาดและที่ตั้งของแถบเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามขนาดและอายุของปลา

ถิ่นอาศัยอยู่ตามลำธาร เช่น บริเวณปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ แม่น้ำวัง จังหวัดลำปาง แม่น้ำแม่กลอง จังหวัดราชบุรี ฯลฯ
อาหารกินลูกปลา ลูกกุ้ง และสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็ก
ขนาดความยาวประมาณ ๑๗ เซนติเมตร
ประโยชน์นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เนื้อใช้ปรุงอาหารได้




ปลาแขยงใบข้าว









แขยงใบข้าว (ชื่อสามัญ)
Mystus singaringan (ชื่อวิทยาศาสตร์)
LONG-FATTY FINNED MYSTUS (ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ)
ลักษณะทั่วไป

เป็นปลาน้ำจืดที่ไม่มีเกล็ดขนาดเล็ก เป็นปลาแขยงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ลำตัวค่อนข้างกลมและยาว หัวค่อนข้างเล็ก ปากทู่มีหนวด ๔ คู่ ครีบหลังปลายยาวเป็นกระโดงสูง ครีบหูมีก้านเดี่ยวแข็งและแหลมคมข้างละอัน ครีบไขมันใหญ่และยาว แพนครีบหางอันบนมีปลายยาวเรียวเป็นรยางค์ ลำตัวส่วนบนมีสีเทาอมฟ้า ด้านหลังเข้มและสีจะค่อนจางลงถึงบริเวณท้องจะเปลี่ยนเป็นสีครีมหรือสีขาว

ถิ่นอาศัยมีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ส่วนมากอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำไหล เช่น แม่น้ำ ลำคลองและลำธาร
อาหารกินปลา ลูกกุ้ง แมลงน้ำ ซากสัตว์และพืชที่เน่าเปื่อย
ขนาดความยาวประมาณ ๘- ๒๕ เซนติเมตร
ประโยชน์เนื้อปลาใช้ปรุงเป็นอาหาร




ปลาแขยงธง




แขยงธง (ชื่อสามัญ)
Heterobagrus bocourti (ชื่อวิทยาศาสตร์)
BOCOURT'S RIVER CATFISH (ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ)

ลักษณะทั่วไป

เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก มีรูปร่างยาวเรียว ลำตัวด้านข้างแบน หัวเล็ก ตาค่อนข้างโต ปากค่อนข้างเล็ก มีหนวด ๔ คู่ ครีบหลังมีขนาดใหญ่และยาวสูงเด่นคล้ายชายธง ครีบหูมีเงี่ยงแหลมคมข้างละอัน ครีบไขมันมีขนาดใหญ่และยาว ครีบหางเว้าลึก แพนหางส่วนบนมีปลายยาวเป็นเส้นรยางค์

ถิ่นอาศัยโดยปกติอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำไหล ตามแม่น้ำและลำคลอง อาจเข้าไปหากินในแหล่งน้ำนิ่งเป็นครั้งคราว
อาหารกินลูกปลา ลูกกุ้ง ซากสัตว์และพืชที่เน่าเปื่อย
ขนาดความยาวประมาณ ๑๐- ๒๔ เซนติเมตร
ประโยชน์เนื้อปลาใช้ปรุงเป็นอาหาร

ขอขอบคุณภาพจาก จ้าวน้อยฟิชชิ่ง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก กรมประมง
วิกิพีเดีย
http://thailist.blogspot.com/2009/08/3-2.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น