วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ลุ่มน้ำบางปะกง ๔





ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.haii.or.th/wiki/index.php/สภาพภูมิประเทศลุ่มน้ำบางปะกง


ลุ่มน้ำบางปะกง เป็นลุ่มน้ำสำคัญในภาคตะวันออกของประเทศ มีพื้นที่ลุ่มน้ำรวมทั้งสิ้น  ๑๐,๗๐๗.๔๘ ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ครอบคลุม  ๑๑ จังหวัด ได้แก่   กรุงเทพมหานคร  จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครนายก นครราชสีมา ปทุมธานี ปราจีนบุรี สมุทรปราการ สระแก้ว และสระบุรี

ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 13๐09'เหนือ ถึงเส้นรุ้งที่ 14๐32' เหนือ และระหว่างเส้นแวงที่ 100๐52' ตะวันออก ถึงเส้นแวงที่ 102๐00' ตะวันออก
ทิศเหนือติดกับลุ่มน้ำป่าสักและลุ่มน้ำมูล
ทิศใต้ติดกับลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก
ทิศตะวันออกติดกับลุ่มน้ำปราจีนบุรี
ทิศตะวันตกติดกับลุ่มน้ำเจ้าพระยาและอ่าวไทย








ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.haii.or.th/wiki/index.php/สภาพภูมิประเทศลุ่มน้ำบางปะกง

ที่มาของข้อมูลhttp://www.haii.or.th/wiki/index.php/สภาพภูมิประเทศลุ่มน้ำบางปะกง

แต่ก็มีแหล่งข้อมูลที่แตกต่างกันออกไปไม่มี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ แต่เป็นจังหวัดบุรีรัมย์แทน ซึ่งเผอิญ หาที่มาของข้อมูลส่วนนี้ไม่ได้คือ

ลุ่มน้ำบางปะกง (บางปะกง-ปราจีนบุรี) มีพื้นที่รับน้ำครอบคลุม เขตการปกครอง ๑๐ จังหวัด
โดยพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ใน ๕ จังหวัด ได้แก่

๑) สระแก้ว
๒) ปราจีนบุรี
๓) นครนายก
๔) ฉะเชิงเทรา
๕) ชลบุรี
และบางส่วนอยู่ในอีก ๕ จังหวัด ได้แก่
๖) จันทบุรี
๗) นครราชสีมา
๘) สระบุรี
๙) ปทุมธานี
๑๐) บุรีรัมย์


 แต่อย่างไรก็ตาม  ต้องการเน้นเรื่องราวที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ท่านผู้จะใช้ข้อมูลข้างต้น คงต้องค้นคว้าอีกครั้ง


แม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากนำโพ
ซ้ายมือคือแม่น้ำน่าน (สีขุ่น) ขวามือคือแม่น้ำปิง (สีเขียว)
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.pixpros.net/forums/showthread.php?t=32137




คลองสำโรงจากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งซ้าย ในพื้นที่ของ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ไปเชื่อมกับแม่น้ำบางปะกงฝั่งขวา ที่ อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา
ขอขอบคุณภาพจากhttp://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=33&chap=3&page=t33-3-infodetail03.html



อดึตกาลของแม่น้ำบางปะกง

สำหรับในลุ่มน้ำบางปะกง นี้ จังหวัดฉะเชิงเทรา มีทำเลตั้งอยู่เส้นทางคมนาคมระหว่างเมืองหลวงกับเมืองทางด้านชายทะเลฝั่งตะวันออก เมืองทางตะวันออก หัวเมืองอีสานและเลยไปถึงหัวเมืองเขมร จากสภาพที่ตั้งดังกล่าว ทำให้จังหวัดฉะเชิงเทราสามารถติดต่อกับดินแดนอื่น ๆ โดยรอบทั้งใกล้และไกลโดยอาศัยการคมนาคมทั้งทางน้ำและทางบก



การสัญจรทางน้ำในคลองพระโขนง
ขอขอบคุณภาพจากwww.paisalvision.com

การคมนาคมทางน้ำในการติดต่อกับเมืองใกล้เคียงอาศัยแม่น้ำบางปะกงเป็นเส้นทางสำคัญ เพราะฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว และนครนายกต่างตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำบางปะกง นอกจากนี้ยังสามารถอาศัยคลองต่าง ๆ ที่แยกสาขาออกไปจากแม่น้ำบางปะกงแล้วไหลผ่านชุมชนต่าง ๆ ของฉะเชิงเทราและเมืองใกล้เคียงเป็นเส้นทางในการคมนาคมไปยังหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันออก เมืองทางตะวันออก หัวเมืองอีสานและหัวเมืองเขมร โดยสามารถใช้เส้นทางคมนาคมดังนี้

จากกรุงเทพฯ ไปตามคลองพระโขนง คลองแสนแสบ (คลองบางขนาก) ไปออกแม่น้ำบางปะกง สามารถล่องเรือขึ้นลง ๆ ไปทาง ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี แล้วเดินทางต่อไปยังหัวเมืองเขมรและอีสานได้



ขอขอบคุณภาพจากhttp://board.postjung.com/516919.html


จากกรุงเทพฯ ไปตามลำน้ำเจ้าพระยา เข้าคลองสำโรง ออกแม่น้ำบางปะกงล่องเรือไปฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรีและนครนายกได้
หรือ
จากคลองสำโรง เข้าแม่น้ำบางปะกงแล้วออกทะเลที่ปากน้ำบางปะกงเลียบชายฝั่งทะเลตะวันออกไปชลบุรี และหัวเมืองตามรายมางไปจนถึงระยอง จันทบุรี แล้วเดินต่อไปยังเขมร และญวนใต้ ( บุญรอด แก้วกัณหา (๒๕๑๘) การเก็บส่วยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พศ. ๒๓๒๕ -๒๔๑๑ หน้า ๘๑ )

เส้นทางจากแม่น้ำบางปะกง ฉะเชิงเทรา เดินทางเข้าคลองบางขนาก (คลองแสนแสบ) เข้ากรุงเทพฯ และเส้นทางจากแม่น้ำบางปะกง เข้าคลองสำโรง ผ้่งบางพลีเข้ากรุงเทพ ฯ ซึ่งเส้นทางเข้าคลองบางขนากและคลองสำโรงนี้จะช่วยย่นระยะทางโดยไม่ต้องผ่านทะเล



ขอขอบคุณภาพจากhttp://haab.catholic.or.th/article/articleart1/art_13/art_13.html


สำหรับการเดินทางทางบก จากหัวเมืองเขมรและหัวเมืองอีสาน เข้ากรุงเทพฯ จะต้องผ่านจังหวัดฉะเชิงเทราก่อนถึงกรุงเทพฯ ตามเส้นทางต่อไปนี้

-ช่องตะโกอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นช่องทางไปเขมรและอรัญประเทศ วัฒนานคร สระแก้ว กบินทร์บุรี ปราจีนบุรี ผ่านฉะเชิงเทราไปยังกรุงเทพฯ

-ช่องบ้านกุ่ม ช่องสะแกราช ช่องขับสีคอหรือช่องบุกขนุน เป็นช่องทางไปมาระหว่างปราจีนบุรีกับนครราชสีมา ผ่านจังหวัด ฉะเชิงเทราไปยังกรุงเทพฯ

-ช่องเรือแตก เมื่อครั้งปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์แห่งนครเวียงจันทน์ ทัพของพระยาราชสุภาวดี (เจ้าพระยาบดินทร์เดชา) ได้เดินทัพผ่านเมื่องฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ประจันตคาม แล้วเดินทัพต่อไปยังนครราชสีมา โดยผ่านช่องเรือแตก

การเดินทางของทุกเส้นทางที่กล่าวมานี้เป็นเส้นทางบกที่ผู้เดินทาง อาจใช้เกวียนเทียมโค กระบือ การเดินเท้า ชี่ม้าหรือขี่ช้าง เมื่อมาถึงกบินทร์บุรีหรือเมืองปราจีนบุรี แล้วส่วนมากจะเดินทางต่อโดยใช้เส้นทางน้ำมาตามลำน้ำบางปะกงผ่านฉะเชิงเทราเข้ากรุงเทพฯ





ขอขอบคุณภาพจากhttp://board.postjung.com/516919.html


นอกจากนี้ยังสามารถควบคุมเส้นทางคมนาคมทางน้ำจากดินแดนตอนใน คือเมืองนครนายก ปราจีนบุรี กบินทร์บุรี สระแก้ว วัฒนานคร อรัญประเทศ หัวเมืองเขมรได้ดังที่ จอห์น ครอฟอร์ด กล่าวถึงเส้นทางคมนาคมตอดต่อกับเขมร โดยทางน้ำไว้ว่า

"กรุงสยามมีเส้นทางคมนาคมติดต่อกับกัมพูชาทางแม่น้ำบางปะกงและคลองต่าง ๆ อีกหลายสาย การเดินทางใช้เวลาประมาณ ๒๐ วัน"

ฉะเชิงเทราในอดีตนับเป็นเส้นทางคมนาคมและศูนย์รวมสินค้าก่อนขนถ่ายสินค้าต่อไปยังกรุงเทพ ฯ และยังติดต่อไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ทำให้เป็นเมืองหน้าด่านติดต่อกับแขวงเมืองพนัสนิคม และชลบุรี
เส้นทางการค้า คือจากกรุงเทพ ฯ เดินเรือไปตามชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกไปยังบางปะกง บางปลาสร้อย บางละมุง บางพระ ระยอง จันทบุรี ประแส ตราด และเกาะกง ต่อไปยังเขมร และญวน




ขอขอบคุณภาพจาก http://board.postjung.com/516919.html



ขอขอบคุณที่มาของข้อมูล

http://www.haii.or.th/wiki/index.php/สภาพภูมิประเทศลุ่มน้ำบางปะกง
ปริญญานิพนธ์ของอังคณา แสงสว่าง เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น