วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ลุ่มน้ำบางปะกง ๕ อดีตกาลผ่านมา ๑



ปากแม่น้ำบางปะกง
ขอขอบคุณภาพจากwww.thakam.go.th


จากแม่น้ำนครนายกและแม่น้ำปราจีนบุรี ทีึ่มาบรรจบกันเป็นแม่น้ำบางปะกง แต่ในบางพื้นที่ของแม่น้ำตั้งแต่เมืองปราจีนบุรี ลงมาจนออกทะเลนั้นที่อำเภอบางปะกงนั้น เรือเดินได้ตลอดในฤดูน้ำ แต่บริเวณปากน้ำมีสันดอน เวลาน้ำลงเรือใหญ่ที่กินน้ำลึกเพียง ๒ เมตร ก็แล่นเข้าออกไม่ได้ แล้วต้องรอให้น้ำขึ้นจึงจะเข้าออกได้

ความสำคัญของแม่น้ำบางปะกงนอกจากด้านการคมนาคมแล้ว ยังเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจในการเพาะปลูกอีกด้วย บริเวณใดที่ใกล้แม่น้ำทั้งสองฟากก็จะเป็นทุ่งนาอุดมสมบูรณ์ มีราษฎรตั้งบ้านเรือนอาศัยตลอดเส้นทางที่น้ำไหลผ่าน ทุกอาชีในการขนส่งสินค้า เช่นหมู่บ้านบริเวณปากน้ำแควหนุมาน ซึ่งพระยามหาอำมาตยาธิบดี (เส็ง วิริยะสิริ) เมื่อครั้งยังเป็นหลวงเทศาจิตรพิจารณ์ ได้เขียนไว้ว่า

...ที่ปากน้ำหนุมานนี่้เป็นบ้านใหญ่ลูกค้าในหัวเมืองตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือเมืองกบินทร๋ คุมสินค้าลงมาจำหน่ายยังท่าบ้านนี้ทั้งสิ้น ( ท่าบ้านคือตลาดชุมทางการค้าขายทางบกหรือทางน้ำ ซึ่งในที่นี้หมายถึงตลาดชุมทางค้าขายทางน้ำ riverine port ตามจุดเหล่านี้ในที่สุดจะเกิดเป็นหมู่บ้านหรือพัฒนาเป็นเมือง เล็กใหญ่แล้วแต่ความจำเป็นและความสำคัญเชิงเศรษฐกิจท้องถิ่น ) สินค้ามีข้าวเปลือกเป็นพื้น กับมีไม้ฝาง ไม้แดง ไต้ ชันน้ำมันยาง เรือชะล่า หนังโค หนังกระบือ เร่ว กระวานต่าง ๆ สินค้าเหล่านี้เป็นสินค้าบรรทุกเกวียนมาจากเมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ เมืองนางรอง และหัวเมืองอื่นเป็นอันมาก..... "



ปากแม่น้ำเจ้าพระยา
ขอขอบคุณภาพจากwikimapia.org


แสดงให้เห็นว่าสินค้าจากที่อื่น ๆ ชาวเมืองต่าง ๆ ได้บรรทุกขนส่งทางบกและถ่ายลงเรือเดินทางมาตามลำน้ำบางปะกง ส่งต่อไปยังหัวเมืองที่อยู่ใกล้เคียงต่อไป

แม่น้ำบางปะกงนี้นอกจากใช้ในการคมนาคมภายในหัวเมืองแล้ว ยังใช้เป็นเส้นทางคมนาคมติดต่อกับหัวเมืองอื่นด้วย โดยเฉพาะการติดต่อกับเมืองหลวงนั้นจะเดินทางตามลำน้ำบางปะกงออกทะเลอ่าวไทย และแล่นเรือตามชายฝั่งทะเลเข้าปากน้ำเจ้าพระยาเข้าสู่เมืองหลวงอีกทีหนึ่ง แต่เส้นทางนี้ต้องใช้เวลาในการเดินทางมาก การจะช่วบย่นระยะทางและเวลา จึงจำเป็นต้องมีการขุดคลองเชื่อมแม่น้ำ หรือขุดคลองแยกคลองซอย จากแม่น้ำหนึ่งไปสู่อีกแม่น้ำหนึ่ง เพื่อความสะดวกในการคมนาคม หรือเพื่อเชื่อมเส้นทางจากชุมชนหนึ่งไปยังอีกชุมชนหนึ่งที่อยู่ลึกเข้าไปจากแม่น้ำด้วย ด้วยเหตุนี้ในสมัยอยุธยาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์จึงมีการขุดคลองขึ้นหลายสาย
เป็นการเชื่อมแม่น้ำกับแม่น้ำเพื่อใช้ในการคมนาคม หรือ
เป็นการขุดคลองใช้เพื่อการเกษตรด้วย




แผนที่ตัวเกาะเมืองของกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเขียนขึ้นโดยชาวต่างประเทศ ในสมัยอยุธยา แสดงให้เห็นแม่น้ำที่โอบล้อมเกาะและคลองต่างๆ ที่ขุดผ่านเมืองเป็นจำนวนมาก
ขอขอบคุณภาพจากkanchanapisek.or.th


คลองที่มีการขุดขึ้นนั้นมีหลายคลองด้วยกันดังรายชื่อคลองขนาดใหญ่และสำคัญ เช่น

คลองสำโรง คลองแสนแสบหรือคลองบางขนาก คลองนครเนื่องเขต (หรือคนในพื้นที่เรียกว่าคลองท่าไข่) คลองประเวศน์บุรีรมย์และสาขา

นอกจากนี้ยังมีการขุดคลองที่ขุดเพื่อเชื่อมคลองกับคลองอีก เช่น คลองเปร็ง คลองหลวงแพ่ง และคลองอุดมชลจร ซึ่งคลองเหล่านี้ขุดเพื่อเปิดพื้นที่ในการเพาะปลูกเป็นหลักสำคัญ



ขอขอบคุณภาพจากjumraspcdt51.blogspot.com
คลองแสนแสบเป็นคลองที่ขุดขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำบางประกงเข้าด้วยกัน และมีพระราชประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งอาวุธยุทธภัณฑ์ กำลังรบ และเสบียงอาหารไปยังเวียดนาม เพราะในสมัยนั้นเราได้ทำสงครามกับเวียดนามอยู่





คลองแสนแสบ
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.bloggang.com/mainblog.php?id=mambyrose&month=19-05-2012&group=29&gblog=16
คลองแสนแสบหรือคลองบางขนาก เริ่มจากคลองมหานาคแล้วผ่านเขต บางกะปิ เขตมีนบุรี และเขตหนองจอก...



คลองทั้งหมดนี้สามารถจำแนกวัตถุประสงค์และผู้ดำเนินการขุดการได้ว่า

คลองสำโรง คลองแสนแสบ และคลองนครเนื่องเขต เป็นการขุดเพื่อเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำบางปะกง ซึ่งอำนวยความสะดวกในการคมนาคมขนส่ง และทางการใช้ในการควบคุมดูแลหัวเมืองที่อยู่ใกล้เคียงกับเมืองหลวงได้ทั่วถึงยิ่งขึ้น การดำเนินการขุดนั้นพระมหากษัตรืย์ทรงมีพระราชดำริ และทรงเห็นชอบให้ดำเนินการขุดทั้งสิ้น


คลองนครเนื่องเขต
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.bloggang.com/mainblog.php?id=net-mania&month=15-11-2009&group=1&gblog=12


แต่ต่อมาวัตถุประสงค์และผู้ดำเนิการขุดคลองได้เปลี่ยนไปคือ

ในตอนปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อกับรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ข่้าวได้กลายเป็นสินค้าออกที่สำคัญของไทยแทนน้ำตาล ดังนั้นจึงเป็นการส่งเสริมการปลูกข้าว โดยการขยายพื้นที่การเพาะปลูก การจัดหาน้ำในการทำนา และพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งข้าวมาสู่ตลาดในกรุงเทพ ฯ เพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ



คลองประเวศบุรีรมย์





ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงส่งเสริมราษฎรและเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการขุดคลองด้วยความยินยอมพร้อมใจ เช่น คลองประเวศน์บุรีรมย์ และคลองเปร็ง พระองค์ได้โปรดเกล้าให้ราษฎรช่วยเสียค่าขุดคลองโดยราษฎรจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทน ในการจับจองที่ดินทั้งสองฝั่งคลอง




คลองประเวศบุรีรมย์
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.oknation.net/blog/print.php?id=22293



ส่วนคลองหลวงแพ่งและคลองอุดมชลจร นั้น ก็มีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับคลองประเวศบุรีรมย์ แต่เป็นคลองที่เอกชนขออนุญาตขุดขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ซึ่งระยะต่อมาได้มีกลุ่มบุคคลที่มีความสนใจในกาารลงทุนกิจการขุดคลอง คือ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ พระปฎิราชประสงค์ หลวงนานาพิธภาษี หลวงสาธรราชายุกต์ (เจ้าสัวยิ้ม) และนายโยราคิน คราฟี ได้ช่วยกันลงทุนเข้าหุ้นตั้งบริษัทขุดคลองขึ้น เรียกว่า "บริษัทขุดคลองแลดูนาสยาม "
เพื่อดำเนินการขุดคลองตามการเชิญชวนและสนองพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 

ทำการขุดคลองในทุ่งนาฝั้งตะวันออกชองแม่น้ำเจ้าพระยา เรียกว่า " โครงการขุดคลองแลดูนาในทุ่งหลวงรังสิต"
เป็นบริเวณกว้างครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของเมืองนครนายกด้วย โดยเริ่มดำเนินการ ในปี พ.ศ. ๒๔๓๓ นับว่าเป็นการดำเนินการของเอกชนอย่างแท้จริง ชึ่งต่างกับในระยะแรก ๆ ที่เป็นของทางการ และ ทางการกับเอกชน ตามที่กล่าวมาแล้ว



คลองหลวงแพ่ง
ขอขอบคุณภาพจากwww.thaisecondhand.com



หมายเหตุ ของพลอยโพยม

น้ำตาลเคยเป็นสินค้้าออกที่สำคัญในต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มาก่อน ข้าว

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงส่งเสริมราษฎรและเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการขุดคลองด้วยความยินยอมพร้อมใจ เป็นพระวิสัยทัศน์กว้างไกลทรงเป็นแบบอย่างที่ดีในการพัฒนาประเทศ ในสมัยนั้นขนบธรรมเนียมไทยเราถือว่ากษัตริย์คือเจ้าของบ้านเมือง กษัตริย์ทรงเป็นผู้ใช้อำนาจสูงสุดในการบริหารประเทศชาติ พระองค์ได้ทรงวางแนวทางการทำประชาพิจารณ์ก่อนการพัฒนาประเทศมาเนิ่นนานแล้ว

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ปริญญานิพนธ์ เรื่อง มณฑลปราจีนบุรี สมัยเริ่มแรกถึงสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงศ์ศิริพัฒน์ โดย สุดใจ พงศ์กล่ำ เสนอต่อมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ประสานมิตร

ปริญญานิพนธ์ เรื่อง บทบาททางเศรษฐกิจของชาวจีนในจังหวัดฉะเชิงเทรา ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๙๘ - ๒๔๗๕ ของ อังคณา แสงสว่าง เสนอต่อมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น