วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ลุ่มน้ำบางปะกง ๓


การเรียกชื่อแม่น้ำ

ชื่อแม่น้ำ มีที่มาให้เรียกได้หลายอย่างตั้งแต่โบราณกาล ไม่มีกำหนดตายตัว

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เคยอธิบาย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕ ในบทความเรื่อง "ชื่อลำน้ำแม่กลองวินิจฉัยนาม " แต่สรุปอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้

1. เรียกตามตำบลที่ปากน้ำ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา มี ตำบลบางเจ้าพระยา อยู่ปากน้ำ, แม่น้ำท่าจีน มี ตำบล บางท่าจีน อยู่ปากน้ำ, แม่น้ำบางปะกง มี ตำบลบางปะกง อยู่ปากน้ำ
 ( คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ ใช้บางท่าจีน )


ปากน้ำเจ้าพระยา
ขอขอบคุณภาพจากwikimapia.org

2. เรียกตามตำบลที่ต้นน้ำ เช่น แม่น้ำปิง, แม่น้ำน่าน, แม่น้ำป่าสัก, แม่น้ำแม่กลอง

.
แม่น้ำน่าน
ขอขอบคุณภาพจากwww.thaimtb.com


3. เรียกตามชื่อย่านที่ไหลผ่าน เช่น แม่น้ำท่าจีน เรียกชื่อต่างกันเป็นช่วงๆ ดังนี้ ทางต้นน้ำเรียกแม่น้ำมะขามเฒ่า เมื่อผ่านย่านมะขามเฒ่า (อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท), เรียกแม่น้ำสุพรรณเมื่อผ่านเมืองสุพรรณ (จังหวัดสุพรรณบุรี), เรียกแม่น้ำนครชัยศรีเมื่อผ่านเมืองนครชัยศรี (อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม)


แม่น้ำนครชัยศรี
ขอขอบคุณภาพจากwww.pixpros.net


4. เรียกตามความเคยชิน โดยไม่รู้ต้นสายปลายเหตุ และยังหาที่มาไม่ได้ เช่น แม่น้ำน้อย (ไหลแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ จังหวัดชัยนาท)



แม่น้ำน้อย
ขอขอบคุณภาพจากwww.triton4x4club.com



แม่น้ำน้อย
ขอขอบคุณภาพจากm.naewna.com



แม่น้ำยม
ขอขอบคุณภาพจากchm-thai.onep.go.th

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
www.sujitwongthes.com
คอลัมน์ สยามประเทศไทย /มติชนรายวัน ๑๐ ต.ค. ๒๕๕๖ )



แม่น้ำบางปะกง

ซึ่งคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ มีความเห็นเกี่ยวกับขื่อของแม่น้ำบางปะกง อีกประเด็นหนึ่ว่า

บางปะกง มีชื่อเดิมว่า บางบองกอง, หรือบางมังกง เป็นชุมชนหมู่บ้านประมงชายฝั่ง อยู่ปากน้ำบางปะกงปลายสุดออกอ่าวไทย เลยเรียกแม่น้ำทั้งสายตามชื่อชุมชนหมู่บ้านที่อยู่ปากน้ำว่าบองกอง, มังกง แล้วกร่อนเป็นบางปะกง



"บาง" เป็นคำร่วมเก่าแก่ของคนสุวรรณภูมิทุกเผ่าพันธุ์ หมายถึงทางน้ำเล็กๆ ที่ไหลเชื่อมกับทางน้ำใหญ่กว่า แล้วมีชุมชนตั้งอยู่ตรงปากทางน้ำที่เชื่อมกันเรียกว่าบาง
"ปะกง "เป็นคำกร่อนจากคำเขมรว่า บงกง อ่านว่าบ็องกอง แปลว่า กุ้ง
แต่บางทีเชื่อกันว่าเป็นคำเรียกปลาชนิดหนึ่งว่ามังกง (อาจเลียนเสียงและรูปจากมังกร อย่างเดียวกับ กุ้ง-กั้ง ฯลฯ) มีใช้เก่าสุดในโคลงกำสรวลสมุทร (ราว พ.ศ. ๒๐๒๕ ) มีชื่อ ปลามังกง, ปลาทุกัง, ปลาฉลาม ว่า “มังกงทุกังฉลาม เห็นโห่”

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.sujitwongthes.com/2011/11/siam04112554/แม่น้ำบางปะกงทางตะวันออก ไหลลงอ่าวไทย

(มติชนรายวัน ฉบับประจำวันศุกร์ที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ )






แม่น้ำน้อย
ขอขอบคุณภาพจากssl.panoramio.com
ส่วนแม่น้ำน้อยนั้น

แม่น้ำน้อย เป็นแม่น้ำสาขาแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ชุมชนปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท เป็นแม่น้ำสายเล็ก ๆ ที่ไหลผ่านอำเภอบางระจัน, อำเภอค่ายบางระจัน และอำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี ไหลผ่านจังหวัดอ่างทอง, จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แล้วไปรวมกับแม่น้ำเจ้าพระยาอีกครั้งที่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

แม่น้ำน้อยมีความยาวทั้งสิ้น ๑๔๕ กิโลเมตร ความกว้างประมาณ ๘๐ เมตร มีน้ำตลอดทั้งปี มีชื่อเรียกต่างกันตามท้องถิ่น เช่น ตอนที่ไหลผ่านอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเรียกว่า "คลองสีกุก" หรือ"แควสีกุก" หรือตอนที่ไหลผ่านอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเช่นกัน เรียกว่า "แม่น้ำแควผักไห่" เป็นต้น และยังมีแควสาขาเป็นคลองสายต่าง ๆ ที่ไหลและแยกตัวกันอีก เช่น คลองบางปลากด, คลองศาลาแดง, คลองไชโย เป็นต้น

นอกจากนี้แล้ว แม่น้ำน้อยยังเป็นสถานที่แห่งแรกที่มีการค้นพบปลาในสกุล Sikukia หรือปลาน้ำฝาย อันเป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) โดย ดร.ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ นักวิชาการประมงชาวอเมริกัน จึงมีการตั้งชื่อให้เป็นเกียรติว่า สี-กุก-เกีย

ขอขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย




ตามที่คณะกรรมการอุทกวิทยาแห่งชาติ ได้แบ่งพื้นที่ประเทศไทยออกเป็นกลุ่มลุ่มน้ำ ๙ แห่ง ประกอบด้วย ลุ่มน้ำสำคัญ ๒๕ ลุ่มน้ำ และแบ่งออกเป็นลุ่มน้ำย่อย ๒๕๔ ลุ่มน้ำย่อย มีพื้นที่ลุ่มน้ำรวมทั้งประเทศประมาณ ๕๑๑,๓๖๑ ตารางกฺโลเมตร (ยังไม่รวมพื้นที่เกาะต่างๆ ยกเว้นเกาะภูเก็ต)

กลุ่มลุ่มน้ำบางปะกง ประกอบด้วย ๒ ลุ่มน้ำคือ
๑. ลุ่มน้ำปราจีนบุรี
๒. ลุ่มน้ำบางปะกง

มีสาขาลุ่มน้ำ ๘ สาขา มีพื้นที่ประมาณ ๑๘,๔๕๘ ตารางกิโลเมตร
สาขาลุ่มน้ำทั้ง ๘ ของแม่น้ำบางปะกงได้แก่

๑) คลองพระสทึง
๒) แม่น้ำพระปรง
๓) แม่น้ำหนุมาน
๔) แม่น้ำปราจีนบุรีตอนล่าง
๕) แม่น้ำนครนายก
๖) คลองท่าลาด
๗) ที่ราบแม่น้ำบางปะกง
๘) คลองหลวง


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.haii.or.th/wiki/index.php/ลุ่มน้ำในประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น