วิถีชีวิตคนไทยกับน้ำ
พิธีการต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ส่วนใหญ่เป็นพระราชพิธี ซึ่งในปัจจุบันมิได้สืบทอดมาแล้วหลายพระราชพิธี
ส่วนพิธีที่เกี่ยวข้องกับน้ำสำหรับประชาชนทั่วไป ซึ่งจะไม่ลงรายละเอียด มีอีกหลายพิธีเช่น
การบวชนาค
เทศกาลสงกรานต์
การสรงน้ำพระพุทธรูป สรงน้ำพระสงฆ์
การถวายผ้าอาบน้ำฝน
การปล่อยนกปล่อยปลา
แห่นางแมว
ลอยกระทง
การแข่งเรือ เรือพาย เรือหางยาว
พิธีไหลเรือไฟของชาวอีสาน
ประเพณีชักพระทางน้ำ
การอาบน้ำศพ
การกรวดน้ำ
การบวชนาค
นาคกับน้ำเป็นของคู่กัน บาคเป็นเจ้าแห่งท้องน้ำ เพราะครอบครองดินอดนของเมืองบาดาลซึ่งเรียกกันว่านาคโลก
นาคเป็นสัตว์ในตำนานของชนชาติในแถบอินเดียและสุวรรณภูมิ ในวรรณคดีโบราณของอินเดียได้กล่าวถึงนาคไว้มากมาย
นาคมีความเกี่ยวข้องกล่าวถึงในพุทธศาสนาอยู่หลายเรื่อง
ประวัติชื่อว่านาค
พิธีการบวชนี้ เรียกผู้ที่จะบวชว่า นาค มีเรื่องเล่ามากันดังนี้ เมื่อพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ มีนาค (สัตว์ชนิดหนึ่งคล้ายงู อยู่ใต้บาดาล มีฤทธิ์สามารถแปลงตัวได้เป็นต้น) แปลงกายเป็นมนุษย์มาบวชในพระศาสนา อยู่มาวันหนึ่ง เธอนอนหลับ ร่างก็กลายคืนเป็นนาค เพราะตามธรรมดาของนาคนั้น ร่างจะกลายเป็นนาคเสมอไป ในกาล ๒ สถานคือ ในคราวเสพเมถุนธรรมกับนางนาค ๑ ในเวลานอนหลับ ๑ ภิกษุรูปหนึ่งไปพบเข้าตกใจกลัว
เรื่องไปถึงพระพุทธเจ้า พระองค์รับสั่งถาม ได้ความว่าเธอมีศรัทธาปสาทะในพระศาสนาจึงปลอมตัวมาบวช ทรงตรัสว่าสัตว์เดรัจฉานไม่อยู่ในฐานะที่จะบวชได้ จึงทรงให้ลาเพศบรรพชิตเสีย กลับไปเป็นนาคดังเดิม แต่ภิกษุนั้นมีความอาลัยจึงขอฝากชื่อไว้ในพระศาสนา
ตามเรื่องนั้นความต้น ปรากฏในพระคัมภีร์มหาวรรค แต่ท่อนปลายที่ว่า นาคฝากชื่อนี้ มิได้ปรากฏในคัมภีร์ด้วย
ความจริงนั้น ชื่อว่านาค อาจเป็นคำที่ท่านใช้เรียกเพื่อสะดวกในการสวด หรืออีกอย่างหนึ่ง วิเคราะห์ตามภาษาศาสตร์ นาค แปลว่า ผู้ประเสริฐหรือผู้ไม่ทำบาปก็ได้ โดยความหมายว่า การบวช เป็นการละเพศคฤหัสถ์ที่พร้อมทำบาปได้ทุกเมื่อ แต่การมาบวชจะทำอย่างนั้นไม่ได้ เพราะต้องอยู่ในวินัยของสมณะ เป็นการกลับตัวกลับใจใหม่
ดังนั้นผู้มาบวชจึงเรียกว่านาค แปลว่าผู้ไม่ทำบาปหรือผู้ประเสริฐ เช่นกล่าวแล้ว
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: https://www.gotoknow.org/posts/141487
น้ำคือแหล่งก่อเกิดวิถีชีวิตมาทุกยุคทุกสมัย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก วิถีชีวิตคนไทยกับน้ำ ของฐาพร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น