แรมซาร์ไซต์ (Ramsar Site) หมายถึง พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ...พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วมขัง พื้นที่พรุ ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล ทั้งที่เป็นน้ำจืดและน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเล มีความสำคัญต่อระบบนิเวศเพราะแหล่งเก็บกักน้ำ ป้องกันน้ำเค็มมิให้รุกเข้ามาในแผ่นดิน...
วันอังคารที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2557
สายน้ำแหล่งชีวิต ๓
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๗๕
ขอขอบคุณภาพจาก
http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/ww523/2282520/2282520-web2/sum/z03.htm
ขอขอบคุณภาพจาก
http://khonsurin.blogspot.com/2012/01/blog-post.html
วิถึชีวิตคนไทยกับน้ำ
วัฒนธรรมประเพณีที่เกี่ยวข้องกับน้ำ
๒ .พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
ขอขอบคุณภาพจาก
http://www.pharamee.net/forum.php?mod=viewthread&tid=1262
พระราชพิธีนี้กระทำขึ้นเพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์ ของข้าราชการทุกคนมีตั้งแต่สมัยอยุธยาสืบต่อเนื่องมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ด้วยการดื่มน้ำศักดิ๋สิทธิ์ หรือน้ำพิพัฒน์สัตยา หรือน้ำสาบานต่อหน้าพระพักตร์ของพระมหากษัตริย์
น้ำสาบานนี้มาขจากการเสกเป่าของพระมหาราชครู (พราหมณ์) ซึ่งจะมีการชุบพระแสงและอ่านโองการอช่งน้ำ อันหมายถึง แทงพระแสงดาบลงไปในน้ำแล้วสาปแช่ง (ในโองการแช่งน้ำมีคำกล่าวสรรเสริญพระนารายณ์อยู่ด้วย)
น้ำสาบานนี้มีคุณลักษณะที่แปรสภาพจิตใจของมนุษย์ เพราะถือว่าผู้ใดที่ได้ดื่มน้ำสาบานซึ่งผ่านการปลุกเสกมาอย่างน่าเกรงขามเช่นนี้แล้ว คงไม่กล้าที่จะคิดกบฏ ฉ้อราษฎร์บังหลวง
ขอขอบคุณภาพจาก
http://www.laksanathai.com/book2/p042.aspx
พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาหรือ พระราชพิธีศรีสัจจปานกาลซึ่งเป็นพิธีที่รวมทั้งศาสนาพุทธและฮินดู ได้มีการเปลี่ยนแปลงจากประเพณีโบราณมาครั้งหนึ่งแล้วในสมัยรัชกาลที่ ๔ ของกรุงรัตนโกสินทร์ แต่เดิมมานั้นพระมหากษัตริย์มิได้เสวยน้ำชำระพระแสงด้วย แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ถวายทรงดื่มก่อน แล้วจึงให้พนักงานเชิญไปถวายพระบรม วงศานุวงศ์และข้าราชการ เมื่อได้มีการรื้อฟื้นพระราชพิธีนี้ขึ้นใหม่ ในรัชกาลปัจจุบันหลังจากที่ได้ยกเลิกไป หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ และเรียกเสียใหม่ว่า พระราชพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีฯ โดยให้ผู้ที่ได้ รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ เท่านั้นถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา คำถวาย สัตย์ปฏิญาณก็แตกต่างออกไปจากแบบ เดิม คือมิได้มีการออกพระนามพระมหา กษัตริย์ แต่เป็นการสาบานตนต่อประเทศ ชาติและประชาชนชาวไทย
ขอขอบคุณภาพจาก
http://www.pharamee.net/forum.php?mod=viewthread&tid=1262
น้ำพิพัฒน์สัตยานี้ จะตักน้ำมาจาก
1. แม่น้ำบางประกง ตักที่บึงพระอาจารย์ แขวงเมืองนครนายก (ภายหลังมีการเปลี่ยนสถานที่ตัก เป็นที่ปากน้ำโจ้โล้ หน้าวัดหลวงพ่อพุทธโสธร)
2. แม่น้ำป่าสัก ตักที่ตำบลท่าราบ แขวงเมืองสระบุรี
3. แม่น้ำเจ้าพระยา ตักที่ตำบลบางแก้ว แขวงเมืองอ่างทอง
4. แม่น้ำแม่กลอง ตักที่ตำบลดาวดึงษ์ แขวงเมืองสมุทรสงคราม
5. แม่น้ำเพชรบุรี ตักที่ตำบลท่าไชย แขวงเมืองเพชรบุรี
น้ำในแม่น้ำทั้ง 5 สายนี้ มีชื่อเรียกว่า เบญจสุทธิคงคา โดยอนุโมตามปัญจมหานทีในชมพูทวีปน้ำในแต่ละแห่งดังกล่าวเมื่องตักมาแล้ว จะตั้งพิธีเสก ณ เจดีย์สถานแห่งแขวงนั้น ๆ แล้วจึงจัดส่งเข้ามาทำพิธีที่กรุงเทพฯ ต่อไป
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=18817
http://www.laksanathai.com/book2/p042.aspx
หนังสือวิถึชีวิตคนไทยกับน้ำ เรียบเรียงโดยฐาพร
ป้ายกำกับ:
บทความ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น