วันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สายน้ำแหล่งชีวิต ๗



วิถีชีวิตคนไทยกับน้ำ

พิธีการต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ส่วนใหญ่เป็นพระราชพิธี ซึ่งในปัจจุบันมิได้สืบทอดมาแล้วหลายพระราชพิธี

ส่วนพิธีที่เกี่ยวข้องกับน้ำสำหรับประชาชนทั่วไป ซึ่งจะไม่ลงรายละเอียด มีอีกหลายพิธีเช่น

การบวชนาค
เทศกาลสงกรานต์
การสรงน้ำพระพุทธรูป สรงน้ำพระสงฆ์
การถวายผ้าอาบน้ำฝน
การปล่อยนกปล่อยปลา
แห่นางแมว
ลอยกระทง
การแข่งเรือ เรือพาย เรือหางยาว
พิธีไหลเรือไฟของชาวอีสาน
ประเพณีชักพระทางน้ำ
การอาบน้ำศพ
การกรวดน้ำ



การบวชนาค
นาคกับน้ำเป็นของคู่กัน บาคเป็นเจ้าแห่งท้องน้ำ เพราะครอบครองดินอดนของเมืองบาดาลซึ่งเรียกกันว่านาคโลก

นาคเป็นสัตว์ในตำนานของชนชาติในแถบอินเดียและสุวรรณภูมิ ในวรรณคดีโบราณของอินเดียได้กล่าวถึงนาคไว้มากมาย

นาคมีความเกี่ยวข้องกล่าวถึงในพุทธศาสนาอยู่หลายเรื่อง






ประวัติชื่อว่านาค

พิธีการบวชนี้ เรียกผู้ที่จะบวชว่า นาค มีเรื่องเล่ามากันดังนี้ เมื่อพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ มีนาค (สัตว์ชนิดหนึ่งคล้ายงู อยู่ใต้บาดาล มีฤทธิ์สามารถแปลงตัวได้เป็นต้น) แปลงกายเป็นมนุษย์มาบวชในพระศาสนา อยู่มาวันหนึ่ง เธอนอนหลับ ร่างก็กลายคืนเป็นนาค เพราะตามธรรมดาของนาคนั้น ร่างจะกลายเป็นนาคเสมอไป ในกาล ๒ สถานคือ ในคราวเสพเมถุนธรรมกับนางนาค ๑ ในเวลานอนหลับ ๑ ภิกษุรูปหนึ่งไปพบเข้าตกใจกลัว

 เรื่องไปถึงพระพุทธเจ้า พระองค์รับสั่งถาม ได้ความว่าเธอมีศรัทธาปสาทะในพระศาสนาจึงปลอมตัวมาบวช ทรงตรัสว่าสัตว์เดรัจฉานไม่อยู่ในฐานะที่จะบวชได้ จึงทรงให้ลาเพศบรรพชิตเสีย กลับไปเป็นนาคดังเดิม แต่ภิกษุนั้นมีความอาลัยจึงขอฝากชื่อไว้ในพระศาสนา


ตามเรื่องนั้นความต้น ปรากฏในพระคัมภีร์มหาวรรค แต่ท่อนปลายที่ว่า นาคฝากชื่อนี้ มิได้ปรากฏในคัมภีร์ด้วย
 ความจริงนั้น ชื่อว่านาค อาจเป็นคำที่ท่านใช้เรียกเพื่อสะดวกในการสวด หรืออีกอย่างหนึ่ง วิเคราะห์ตามภาษาศาสตร์ นาค แปลว่า ผู้ประเสริฐหรือผู้ไม่ทำบาปก็ได้ โดยความหมายว่า การบวช เป็นการละเพศคฤหัสถ์ที่พร้อมทำบาปได้ทุกเมื่อ แต่การมาบวชจะทำอย่างนั้นไม่ได้ เพราะต้องอยู่ในวินัยของสมณะ เป็นการกลับตัวกลับใจใหม่

 ดังนั้นผู้มาบวชจึงเรียกว่านาค แปลว่าผู้ไม่ทำบาปหรือผู้ประเสริฐ เช่นกล่าวแล้ว

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: https://www.gotoknow.org/posts/141487







  น้ำ เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่ายิ่งต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ และมีความผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทย เป็นสัญลักษณ์แห่งการเริ่มต้น การดำรงอยู่และการสิ้นสุด  ปรากฏอยู่ใน พีธีกรรม วัฒนธรรมและประเพณี ดังได้กล่าวมา
น้ำคือแหล่งก่อเกิดวิถีชีวิตมาทุกยุคทุกสมัย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  วิถีชีวิตคนไทยกับน้ำ ของฐาพร


วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สายน้ำแหล่งชิวิต ๖



ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.lek-prapai.org/watch.php?id=843

๕. พระราชพิธีหลวงที่สำคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยา และกี่ยวข้องกับน้ำ


ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีพิธีกรรมเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งยึดถือในรอบปีอย่างชัดเจน เช่นการแข่งเรือพระที่นั่งเพื่อเสี่ยงทายเรื่องน้ำ พิธีกรรมที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับน้ำ และพิธีกรรมที่สร้างความมั่นใจให้เกิดขวัญกำลังใจในการทำการเกษตร
เนื่องจากกรุงศรีอยุธยาเป็นที่ลุ่มต่ำน้ำท่วมทุ่ง บางปีที่มีน้ำมากน้ำลดไม่ทันก็จะเกิดความเสียหายในไร่นา พระมหากษัตรืย์จึงมีพระราชพิธีเพื่อกำกับน้ำให้พอเหมาะกับการเกษตร ดังในกฎมณเฑียรบาลกล่าวถึง
เดือน ๑๑ อาสยุชแข่งเรือ
เดือน ๑๒ พิทธิจองเปรียงลดชุดโคมลอย
เดือน ๑ ไล่เรือ เถลิงพิทธตรียำหวาย


ประเพณีหลวงที่จัดขึ้นในรอบปีซึ่งเกี่ยวข้องกับระดับน้ำของอาณาจักรในช่วงเดือน ๑๑ เดือน ๑๒ และเดือนอ้าย (เดือน ๑) มี ๓ พิธี คือ อาสยุชพิธี หรือการแข่งเรือเสี่ยงทาย พิธีจองเปรียงลดชุดลอยโคม และพิธีไล่น้ำ




ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.lek-prapai.org/watch.php?id=843


๕.๑ อาสยุชพิธี หรือการแข่งเรือเสี่ยงทาย


พิธีที่จัดขึ้นในเดือน ๑๑ เรียกอาสยุชพิธี คำว่า อาสยุช หมายถึง เดือนสิบเอ็ด ซึ่งเป็นพิธีแรกที่เกี่ยวข้องกับน้ำและดิน ซึ่งเป็นเรื่องของการเสี่ยงทายความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมือง ปรากฏข้อความในกฎมณเฑียรบาลเมื่อครั้งต้นกรุงศรีอยุธยาระบุสาระสำคัญดังนี้

“เดือน ๑๑ การอาสยุชพิทธี มีหม่งครุ่มซ้ายขวา ระบำหรทึกอินทเภรีดนตรี เช้าธรงพระมหามงกุฎราชาประโภค กลางวันธรงพระสุพรรณมาลา เอย็นธรงพระมาลาสุกหร่ำสภกชมภู สมเดจ์พระอรรคมเหษีพระภรรยาธรงพระสุวรรณมาลา นุ่งแพรลายทองธรงเสื้อ พระอรรคชายาธรงพระมาลาราบนุ่งแพรดารากรธรงเสื้อ ลูกเธอหลานเธอธรงศิรเพศมวยธรงเสื้อ พระสนมใส่สนองเกล้าสภักสองบ่า สมรรถไชยเรือต้น สรมุขเรือสมเดจ์พระอรรค มเหษีสมรรถไชยไกรสรมุขนั้นเปนเรือเสี่ยงทาย ถ้าสมรรถไชยแพ้ไซ้ เข้าเหลือเกลืออี่มศุกขเกษมเปรมประชา ถ้าสมรรถไชยชำนะไซ้จะมียุข”

ข้อความตามกฎมณเฑียรบาลระบุว่าเป็นการแข่งเรือเสี่ยงทาย ถ้าเรือของพระเจ้าแผ่นดินคือ สมรรถไชยเป็นฝ่ายแพ้ ไกรสรมุข ซึ่งเป็นเรือของพระอัครมเหสี บ้านเมืองจะ “ข้าวเหลือเกลืออิ่ม” หากเรือของพระอัครมเหสีแพ้บ้านเมือง “จะมียุข” (ยุค) อันเป็นภาวะที่ราษฎรเกิดความเดือดร้อนในการดำรงชีพขาดแคลนข้าวปลาอาหารอย่างแสนสาหัส

อาสยุชพิธี หรือการแข่งเรือเสี่ยงทาย ได้กระทำสืบเนื่องมาจนถึงช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ดังมีพรรณนาไว้ในนิราศธารโศก พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) ความว่า

          เดือนสิบเบ็ดเสร็จสำแดง       เรือกิ่งแข่งตามพิธี

พายงามตามชลธี                            พี่แลเจ้าเปล่าเปนดายฯ

            อาสุชดลมาศแคว้น              กรุงไกร

เรือกิ่งกะพรหมไชย                          ชื่นสู้

กิ่งไกรสรจักรไคล                            เทียบท่า

ทองอร่ามงามแข่งขู้                        พี่นี้คนเดียวฯ


ธรรมเนียมแข่งเรือของหลวงได้เริ่มคลี่คลายไปสู่ราษฎร จนกลายเป็นการละเล่นช่วงฤดูน้ำหลาก เช่น บันทึกของนิโกลาส์ แชรแวส ในข้างต้นครั้นถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์พิธีแข่งเรือเสี่ยงทายมิได้กระทำอีกต่อไปคงเหลือแต่เพียงการแข่งเรือของราษฎรเพื่อความสนุกสนาน และการพนันขันต่อซึ่งตรงกับช่วงเทศกาลทอดกฐินอันเป็นระยะเวลาเดียวกับการแข่งเรือเสี่ยงทายที่มีมาก่อนหน้านี้



ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.lek-prapai.org/watch.php?id=851

๕.๒ พระราชพิธีจองเปรียงลดชุดลอยโคม

พระราชพิธีจองเปรียงลดชุดลอยโคม ปรากฏหลักฐานในกฎมณเฑียรบาลสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์ และพระราชวงศ์จะลงเรือพระที่นั่งกระทำพิธีลอยโคมลงน้ำ และเฉลิมฉลองบริเวณหน้าวัดพุทไธสวรรย์ ดังนี้

“เดือน ๑๒ การพิทธีตรองเปรียง ลดชุดลอยโคมลงน้ำ ตั้งระทาดอกไม้ในพระเมรุ์ ๔ ระทา หนัง ๒ โรง เสดจ์ลงเรือเบญจา ๕ ชั้น พระธี่นั่งชั้น ๔ ชั้น สมเดจ์พระอรรคมเหษีแม่หยัวเจ้าเมืองชั้น ๓ ลูกเธอชั้น ๒ หลานเธอชั้นหนึ่ง พระสนมห่มชมภุใส่สุกหร่ำประธีบทัง ๕ ชั้น เรือปลาลูกขุนเฝ้าหน้าเรือเบญจา เรือตะเข้แนมทังสองข้าง ซ้ายดนตรี ขวามโหรี ตั้งเรือเอนเปนตั้งแพนโคมทุกลำ ถ้าเสดจ์ลงเป่าแตโห่ ๓ ลา เล่นหนังระบำ เลี้ยงลูกขุนแลฝ่ายในครั้นเลี้ยงแล้วตัดถมอแก้เอนโห่ ๓ ลา เรือเอนตั้งแพนเห่ตัดถมอลอบเรือพระธี่นั่งล่องลงไปส่งน้ำ ครั้นถึงวัดพุทไธสวรรค จุดดอกไม้เล่นหนัง เส ดจ์ลงเรือสมรรถไชย กับสมเดจ์พระภรรยาเจ้าทัง ๔ ลูกเธอหลานเธอพระสนม ลงเรือประเทียบขึ้นมาข้างเกาะแก้ว”

นอกจากการลอยประทีปในแม่น้ำแล้ว ยังมีการตามประทีปโคมไฟประดับประดาพระราชวัง เพื่อเป็นเครื่องบูชาอย่างงดงามปรากฏหลักฐานในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ จากบันทึกของ มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ ความว่า

“ครั้งที่พวกเราไปถึงเมืองละโว้นั้นเป็นเวลากลางคืน พอดีกับคราวตามประทีปนั้น และเราได้เห็นกำแพงเมืองตามประทีปโคมไฟ สว่างไสวเรียงราย อยู่เป็นระยะๆ แต่ภายในพระบรมมหาราชวังนั้นยังงดงามยิ่งขึ้นไปอีก ในกำแพงแก้วที่ล้อมพระราชฐานนั้นมีช่องกุฏิ ๓ แถวโดยรอบ แต่ละช่องมีประทีปดวงหนึ่งตามไฟไว้บัญชร และทวารทั้งนั้นก็ประดับดวงประทีปด้วยเหมือนกัน มีโคมประทีปใหญ่ และย่อมตกแต่งเป็นรูปแปลกๆ กัน ปิดกระดาหรือหุ้มผ้าแก้วโปร่งใส ระบายสีต่างๆ แขวนไว้อย่างเป็นระเบียบ ตามกิ่งไม้หรือตามเสาโคม”

ความสำคัญของพิธีจองเปรียงลดชุดลอยโคม เห็นได้จากความใส่พระทัยจากพระมหากษัตริย์ที่เสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพิธีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ตามที่ปรากฏในกฎมณเฑียรบาลดังที่กล่าวมา ส่วนในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มีเรื่องราวเล่าว่ารัชกาลที่ ๓ จะทรงกริ้วขุนนางคนใดก็ตามที่ใส่เ สื้อเข้าเฝ้าในช่วงที่พิธีจองเปรียงยังไม่เสร็จ หรือยังไม่ลดโคมลงจากเสา แม้ว่าอากาศจะหนาวเพียงใดก็ตาม พระองค์ทรงถือว่าเป็นการแช่งให้น้ำลดลงก่อนกำหนด ขุนนางผู้นั้นจะถูกลงโทษให้ไปวิดน้ำเข้าท้องสนามหลวง ส่วนในสมัยรัชกาลที่ ๔ พระองค์เสด็จเป็นประธานประกอบพิธี และบริกรรมคาถาด้วยพระองค์เองอยู่เสมอ พร้อมทั้งโปรดให้ประดับโคมในพระราชฐานนอกเมืองทุกแห่งที่เสด็จไปประทับ


๕. ๓ พระราชพิธีพิธีไล่น้ำ หรือไล่เรือ




กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค พิธีกรรมทางน้ำฝีมือชาวยุโรปที่เข้ามาสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ฯ
ขอขอบคุณภาพจากhttp://haab.catholic.or.th/history/suwannapoom02/suwan30/suwan30.html

เป็นพระราชพิธีที่กระทำในปีที่มีน้ำมากหลากท่วมไร่นามากเกินไปจนเสียหาย เป็นพระราชพิธีที่พระมหากษัตริย์จะต้องทรงทำให้น้ำลด โดยพระมหากษัตริย์ และพระราชวงศ์ ทรงลงเรือพระที่นั่งแล้วเสดฺจออกประทับยืน ทรงพัชนีบังคับให้น้ำลด
พระราชพิธีไล่น้ำและฟันน้ำกระทำในเดือนอ้าย (เดือน ๑) ปรากฏในกฎมณเฑียรบาลครั้งต้นกรุงศรีอยุธยา ดังนี้

“พระราชพิทธีไล่เรือธรงพระมาลาสุกหร่ำ สมเดจ์พระอรรคมเหษีธรงสุกหร่ำนั่งบนพระธี่นั่งลูกเธอหลานเธอใส่เศียรเพศมวยพระสนมใส่สนองเกล้า นั่งหน้าสองนั่งหลังสอง ม่านพันเสาพนักเพียงอก สภักสใบสอง บ่าเชีงทอง พญามหาเสนาตีฆ้องครั้นถึงท้ายบ้านรุน เสดจ์ออกยืนธรงพัชนี ครั้นถึงประตูไชยธรงส้าว”

พิธีไล่น้ำ หรือไล่เรือ เป็นพิธีที่กระทำในช่วงเวลาที่ข้าวสุกเต็มที่ใกล้เก็บเกี่ยว หากระดับน้ำยังไม่ลดจากเดือนที่ผ่านมาอาจเกิดความเสียหายได้

ตามกฎมณเฑียรบาลเรียกว่า พิธีไล่เรือ พระมหากษัตริย์เสด็จลงเรือพระที่นั่งพร้อมพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในครั้นถึงบริเวณ “ท้ายบ้านรุน” ทรงถือพัชนี (พัด) และกระทุ้งส้าว (ไม้มีพู่ประดับสำหรับกระทุ้งให้สัญญาณในเรือพระราชพิธี) สันนิษฐานว่าใช้พัดและกระทุ้งให้น้ำลดระดับลง นอกจากนี้ โคลงทวาทศมาส เรียก พิธีไล่ชล พร้อมทั้งระบุสถานที่ประกอบพิธีว่ากระทำที่บางขดาน ดังนี้


             ชลธีปละปลั่งค้าง      ทางสินธุ์

นาเวศนาวาวาง                     วาดน้ำ

ตกบางขดานดิน                    สดือแม่

ดลฤดูสั่งล้ำ                           ไล่ชล

บริเวณบางขดาน ถือเป็น “ดินสะดือ” หมายถึง บริเวณที่มีน้ำวนเกลียวลึกลงไปเป็นเขตศักดิ์สิทธิ์ของแม่น้ำ เป็นทางลงไปถึงเมืองบาดาลของนาค จึงต้องทำพิธีเพื่อที่ “ผี” หรือนาคจะกระทำให้น้ำลดระดับลง

ไม่เพียงเท่านั้น ในช่วงเวลาเดียวกันยังมีการประกอบพิธีอีกอย่างหนึ่งที่มีความหมายของพิธีคล้ายคลึงกันคือ พิธีฟันน้ำ เพื่อเป็นการควบคุมระดับ น้ำ ปรากฏในคำให้การขุนหลวงหาวัด ระบุว่าเกิดขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ความว่า

“พระองค์ก็เสด็จลงทรงเรือเอกไชยแล้วจึงพายลงไปจนถึงท่าเกาะพระ แล้วจึงเอาพระขรรค์ชัยศรีนั้นตีลงที่ในคงคา แล้วไล่น้ำขึ้นมาจนถึงหน้าฉนวนใหญ่ ด้วยพระเดชของพระองค์นั้น อันน้ำที่ในแม่น้ำนั้นก็ขึ้นตามพระทัยปราร์ถนา ถ้าน้ำนั้นขึ้นมาเหลือกำหนดไปนัก พระองค์ก็เสด็จทรงเรือพระที่นั่งเอกไชยแล้วพายเสด็จขึ้นไปเหนือน้ำ ถึงบ้านหลวงพร้อมกันแล้ว จึงพายเสด็จต้อนน้ำลงมาจนถึงหน้าฉนวนใหญ่ อันน้ำที่ในแม่น้ำก็ลงตามพระทัย”

อย่างไรก็ดี พิธีฟันน้ำ จัดเป็นพิธี “เฉพาะกิจ” มิได้กระทำทุกปีและได้ยกเลิกไปในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เห็นได้จากบันทึกของนิโกลาส์ แชรแวส ระบุว่า

“มีอยู่วันหนึ่งเหมือนกันในรอบปีที่ประชาชนพลเมือง จะแลเห็นพระเจ้าแผ่นดินของตนได้ คือ ในวันแข่งเรืออันถือกันว่าเป็นงานเอิกเกริกยิ่ง เมื่อก่อนนี้ยังมีอีกโอกาสหนึ่งที่จะได้เห็นพระองค์ คือ ในวันเสด็จไปประกอบพระราชพิธีฟันน้ำ เพื่อมิให้มันท่วมขึ้นมา แต่ปัจจุบันนี้ได้ยุบเลิกขนบประเพณีที่ว่านี้เสียแล้ว”

ขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณ นนทพร อยู่มั่งมีจากหนังสือศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๓๓ ฉบับที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ หน้า ๙๒-๑๐๓. นำเสนอโดย
http://haab.catholic.or.th/article/articleart1/art11/art11.html





กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค พิธีกรรมทางน้ำฝีมือชาวยุโรปที่เข้ามาสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ฯ

ขอขอบคุณภาพจากhttp://haab.catholic.or.th/history/suwannapoom02/suwan30/suwan30.html

สำหรับพระราชพิธีไล่เรือยังมีบทความที่กล่าวถึงอีกดังนี้


พระราชพิธีไล่เรือในเดือนอ้ายนั้นมีมาตั่งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ประกอบขึ้นเพื่อต้องการให้น้ำลดเร็ว ๆ เพราะในเดือนต่อไปถือว่าเป็นการเข้าฤดูเพราะปลูก เป็นที่ทราบกันว่า สภาพทางภูมิศาสตร์ของกรุงศรีอยุธยามีแม่น้ำล้อมรอบถึง ๓ สายด้วยกัน แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำทั้ง ๓ นี้ให้คุณให้ให้โทษพร้อมกันกล่าวคือ เมื่อเกิดศึกสงครามล้อมกรุง ชาวกรุงศรีอยุธยาจะใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโดยการใช้ต้านข้าศึกครั้งล้อมกรุง เมื่อน้ำขึ้นมาข้าศึกต้องหนีน้ำกลับไปยังกรุงของตนเพื่อรอน้ำลดในครั้งต่อไป นับว่าเป็นปราการธรรมชาติที่สำคัญในการป้องกันกรุงศรีอยุธยา อีกทั้งยังเป็นเส้นทางสำคัญในการคมนาคมขนส่ง ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองท่าสำคัญในภูมิภาคนี้ ที่ให้โทษคือ ถ้าฤดูน้ำหลากครั้งไหนมีน้ำมากจนไม่สามารถระบายออกได้ จะสร้างความเสียหายให้แก่การเก็บเกี่ยว ดังนั้นในสมัยอยุธยาจึงได้มีพิธีกรรมไล่เรือขึ้นมาเพื่อให้น้ำลดเร็ว ๆ

พระราชพิธีไล่เรือมิได้ประกอบขึ้นทุกปี เพราะถ้าปีไหนน้ำไม่มากก็ไม่ต้องประกอบพิธี มีกฎมณเฑียรบาลครั้งกรุงศรีอยุธยาว่าในการประกอบพิธีนั้น พระเจ้าแผ่นดิน พระอัครมเหสี พระเจ้าลูกยาเธอ หลานเธอและพระสนม แต่งอย่างเต็มยศโบราณลงเรือพระที่นั่ง มีพระยามหาเสนาตีฆ้อง เสด็จไปตามลำน้ำ โดยสมมติพระเจ้าแผ่นดินเป็นเทพยาดา โดยขอให้น้ำถอยลงไป แล้วทำการเชิญพระพุทธปฏิมากรลงเรือพระที่นั่ง แล้วมีเรือสำหรับพระสงฆ์ตามหลัง เรือรำหนึ่งมีพระราชาคณะ ๑ รูป มีฐานที่นั่ง ๒ ข้าง ตรงกลางตั้งเครื่องนมัสการทำการสวดคาถาหล่อพระชัยเป็นคาถาไล่น้ำ (บางครั้งจึงเรียกพิธีไล่เรือว่าเป็นพิธีไล่น้ำด้วย) ในขณะล่องเรือกลับมายังประตูชัยกระทำพิธี เมื่อเสร็จพิธีไล่เรือ จะประกอบพิธีตรียัมปวาย – ตรีปวาย อันพิธีเกี่ยวเนื่องกันมา กล่าวคือ พิธีไล่เรือกระทำเพื่อน้ำลด พิธีตรียัมปวาย – ตรีปวาย เป็นพิธีเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ การเก็บเกี่ยว และการเตรียมตัวเพาะปลูกต่อไป

ในครั้งกรุงรัตนโกสินทร์ได้กระทำพิธีนี้เพียง ๒ ครั้ง คือรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๓ การทำพิธีนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จไปประชุมกันที่วัดท้ายเมือง แขวงเมืองนนทบุรี มีอาลักษณ์อ่านคำประกาศตั้งสัตยาธิฐาน นมัสการพระรัตนตรัย เทพยาดารวมทั้งพระเจ้าแผ่นดิน (สมมติเทพ) แล้วอ้างความสัตย์ ซึ่งได้นับถือต่อเทพยาดาทั้งสามคือ วิสุทธิเทพยดา อุปปาติกเทพยดา และสมมติเทพยดา ขอให้น้ำลดลงไปตามประสงค์ พระพุทธรูปที่ใช้ในพระราชพิธีเดิมมีแต่ชื่อพระชัย พระคันธาราษฎร์ ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นพระห้ามสมุทร การทำพิธีคล้ายเสด็จพระราชดำเนินพระกฐิน

พิธีนี้ล้มเลิกไปครั้งรัชกาลที่ ๕ เป็นการถาวร จะประกอบแต่พระราชพิธีตรียัมปวาย - ตรีปวายเท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะชัยภูมิของกรุงรัตนโกสินทร์นั่นอยู่สูงกว่าระดับน้ำพอสมควรจึงไม่ต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมอย่างครั้งกรุงศรีอยุธยา

วาทิน ศานติ์ สันติ : เรียบเรียง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: https://www.gotoknow.org/posts/449358


๕.๔ พระราชพิธีพิรุณศาสตร์




พระพุทธรูปคันธารราฐ เป็นพระพุทธรูปอำนวยความอุดมสมบูรณ์ สร้างขึ้นเป็นพระขอฝน
สำหรับใช้ในพระราชพิธีพิรุณศาสตร์ และงานพระราชพิธีพืชมงคล เพื่อความเป็นมงคลในการพระราชพิธีอำนวยให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล พื้นดินอุดม พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.madchima.org/forum/index.php?topic=9480.0

เป็นพระราชพิธีสมัยแต่โบราณการของสยาม มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย
ซึ่งเป็น พิธีขอฝน เพื่อเป็นการบูชาขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยดลบันดาลให้ฝนฟ้าตกลงมา เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่พสกนิกร ในการทำอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งเป็นอาชีพแต่ดั้งแต่เดิมของคนไทย และใช้ประโยชน์จากน้ำฝนที่ตกลงมา ในสมัยโบราณมีความเชื่อกันว่า พระเจ้าแผ่นดิน เปรียบประดุจดัง สมมติเทพที่ทรงอวตารมาเพื่อปกครองมวลมนุษย์ และยังเชื่ออีกว่าฝนฟ้าจะตกต้องตามฤดูกาลนั้นขึ้นอยู่กับพระเจ้าแผ่นดินอีกด้วย การขอฝนจึงเป็นอีกหน้าที่หนึ่งที่มีความสำคัญต่อพระเจ้าแผ่นดิน ที่จะทำเพื่อราษฎรด้วย ในหลักฐานตามประวัติศาสตร์ได้บันทึกลงไว้ใน หนังสือนางนพมาศ แต่งโดย ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ และ พระราชกรัณยานุสร พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหัวข้อ “ว่าด้วยพิธีพิรุณศาสตร์”


ครั้นจะกล่าวถึงพระราชพิธีพิรุณศาสตร์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีพระราชพิธีพรุณศาตร์มหาเมฆบูชา ประกอบกับมีการอ่านโองการขอฝน โดยพราหมณ์จะเชิญรูปฤษีกไลยโกฏินั่ง ๑ ยืน ๒ ตั้งกลางแจ้งหน้าหอพระราชพิธี ขุนหมื่นพราหมณ์อ่านเทพชุมนุม ๑ จบ เป่าสังข์ ๒ คน อ่านวันละ ๓ จบทุกวัน โดยตั้งรูปฤษีไว้กลางแดดตลอดพิธี และมี พระสุภูติ ที่สร้างขึ้นในพระราชพิธีพิรุณศาสตร์หรือพิธีขอฝนทำเป็นรูปพระภิกษุมีกายอ้วนใหญ่ มีผิวสีนิล นั่งขัดสมาธิแหงนหน้าขึ้นมองฟ้า มือหนึ่งทำกริยากวักเรียกฝน นิยมสร้างขึ้นเป็นรูปปั้นหรือหล่อ ปรากฏหลักฐานในการพระราชพิธีพิรุณศาสตร์สืบมาแต่ครั้งพระเจ้าบรมโกษฐ์ในสมัยอยุธยาตอนปลาย

ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นยังรับสืบทอดพระราชพิธีพิรุณศาสตร์ตามแบบอยุธยาโดยตั้งโรงพิธีที่ท้องสนามหลวง ทำเฉพาะในปีที่ฝนแล้ง ไม่ได้ทำเป็นประจำทุกปีและจัดทำในเดือนเก้าเท่านั้น หากพ้นเดือนเก้าไปแล้วแม้ฝนแล้งก็ไม่ทำ และในช่วงราวต้นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชพิธีนี้ได้ก็ได้เลิกร้างไปในที่สุด

อ้างอิงข้อมูลจาก สารานุกรมภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย - ภูมิปัญญาข้าวไทย จัดทำโดย สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)
ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.oknation.net/blog/addjeeink/2012/08/07/entry-1

วันพฤหัสบดีที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สายน้ำแหล่งชีวิต ๕

๔. พระราชพิธีโสกันต์




งานโสกัณฑ์ สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาท (รัชกาลที่ ๕) พ.ศ.๒๔๐๘
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.bloggang.com/viewblog.php?id=travelaround&date=21-12-2007&group=17&gblog=4

พระราชพิธีโสกันต์

พระราชพิธีโสกันต์ คือ พระราชพิธีโกนจุก ของพระราชโอรสหรือพระราชธิดาของพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายระดับพระองค์เจ้าขึ้นไป

ในหนังสือเรื่อง ‘ประเพณีเนื่องในการเกิด’ ของพระยาอนุมานราชธน ระบุว่า คติเกี่ยวกับการไว้จุกนั้นเริ่มหลังจากที่มีพิธีโกนผมไฟโดยจะเว้นผมไว้ตรงส่วนกระหม่อม เพราะถือเป็นส่วนที่บอบบางที่สุดบนศีรษะ แต่ก็มีการพัฒนาเกี่ยวกับการไว้ผมในหลายยุคหลายสมัย เท่าที่พอจะทราบและเชื่อกันว่าประเทศไทยนั้นน่าจะได้รับคติการไว้ผมจุกนี้มาจากศาสนาพราหมณ์ อันเกี่ยวเนื่องกับคติการบูชาเทพเจ้า เนื่องด้วยเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์นั้นมีผมยาวและขมวดมุ่นเป็นมวยไว้กลางศีรษะ อาจมีการนำคติดังกล่าวมาดัดแปลงเป็นทรงผมเด็ก ด้วยมีความเชื่อว่าเด็กจะได้รับการคุ้มครองจากพระผู้เป็นเจ้า




พระราชพิธีโสกัณฑ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเทพทวารวดี (รัชกาลที่ ๖) โสกัณฑ์ พ.ศ.๒๔๓๕

ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.bloggang.com/viewblog.php?id=travelaround&date=21-12-2007&group=17&gblog=4


สมัยโบราณจะนิยมให้บุตรธิดาไว้ผมจุกจนโตอายุประมาณ ๑๑-๑๓ ปี ก็จะทำพิธีโกนจุก เพื่อเป็นสัญลักษณ์แสดงออกกับทั้งตัวเด็กและคนรอบข้างว่า บัดนี้ตนเองหาใช่เด็กเล็กๆ อีกต่อไปแล้ว หากแต่กำลังก้าวข้ามสู่ช่วงวัยผู้ใหญ่ พิธีโกนจุกนี้หากเป็นของพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไปจะเรียกว่า “พระราชพิธีโสกันต์” ส่วนพระอนุวงศ์ระดับหม่อมเจ้า เรียกว่า “พิธีเกศากันต์” โดยโหรหลวงจะดูฤกษ์ยามเพื่อกำหนดวันเวลาที่จะเริ่มพระราชพิธีโสกันต์ ซึ่งจะมีพิธีสงฆ์และพิธีพราหมณ์พร้อมกัน ส่วนใหญ่มักจะประกอบ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นมักจะประกอบพิธีนี้ ร่วมกับพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ (พิธีตรุษไทย พระราชพิธีเดือน ๔) ซึ่งต่อมาจะประกอบร่วมกับพระราชพิธีตรียัมปวาย (โล้ชิงช้า)



ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.artbangkok.com/?p=30848


อาจารย์บุหลง ศรีกนก นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ กรมศิลปากร ให้ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการของพระราชพิธีโสกันต์ในราชสำนักสยาม โดยสันนิษฐานว่าในสมัยกรุงสุโขทัยยังไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับพระราชพิธีนี้ กระทั่งในสมัยกรุงศรีอยุธยาจึงได้มีการกล่าวถึงการโสกันต์ครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ณ บ้านเกาะเลน พ.ศ. ๒๑๗๕ เป็นการโสกันต์พระเจ้าลูกเธอ พระองค์อินทร์ หลังการโสกันต์พระราชทานพระนามว่า เจ้าฟ้าชัย ซึ่งต่อมาพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๒๕ แห่งกรุงศรีอยุธยา


จากเอกสารทางประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญอย่าง คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ได้มีการกล่าวถึงรูปแบบพระราชพิธีลงสรงเจ้าฟ้า และพิธีโสกันต์เจ้าฟ้าตามอย่างโบราณราชประเพณีครั้งกรุงศรีอยุธยา หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๓๑๐ ยังมีเจ้านายชั้นสูงพระองค์หนึ่งยังดำรงพระชนม์ชีพ มาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ คือ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงพินทวดี พระราชธิดาในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ที่ประสูติแต่กรมหลวงพิพิธมนตรี พระองค์ทรงเป็นพระเชษฐภคินีในพระเจ้าอุทุมพร และพระเจ้าเอกทัศ สันนิษฐานว่าครั้งเสียกรุงคงจะเชิญเสด็จลงมาที่กรุงธนบุรีด้วยกัน ปรากฏว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดให้ประทับในพระราชวังเดิม กรุงธนบุรี และทรงอุปการะยกย่องเป็นอันดี เจ้าฟ้าหญิงพินทวดีจึงทรงเป็นผู้แนะนำเรื่องราชประเพณี และการในรั้ววังต่างๆ จนกระทั่งหมดสมัยกรุงธนบุรี



ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.artbangkok.com/?p=30848

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงเชิญเสด็จมาประทับในพระบรมมหาราชวัง และได้ทรงเป็นผู้ริเริ่มให้มีการรื้อฟื้นพระราชพิธีโสกันต์แบบเต็มตำรา ตามแบบอย่างโบราณราชประเพณีครั้งกรุงศรีอยุธยาขึ้นมาอีกครั้ง โดยสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกุณฑลทิพยวดี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ทรงเป็นเจ้านายพระองค์แรกที่ได้รับพระมหากรุณาให้มีการพระราชพิธีโสกันต์แบบเต็มตามตำรา และได้มีการสืบทอดแบบแผนการพระราชพิธีโสกันต์ต่อเนื่องกันมาอีกหลายยุคหลายสมัยของกรุงรัตนโกสินทร์ จวบจนครั้งสุดท้ายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ได้มีพิธีเกศากันต์ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย ก่อนที่พระราชพิธีนี้จะถูกยกเลิกไป หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕




ภาพเขียนเขาไกรลาส ในงานโสกัณฑ์ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๑ เขียนโดยพระวรรณวาดวิจิตร(ทอง)
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.bloggang.com/viewblog.php?id=travelaround&date=21-12-2007&group=17&gblog=4






อาจารย์ วีรธรรม ตระกูลเงินไทย ประธานกลุ่มจันทร์โสมา จังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า

“เด็กแรกเกิดจะมีชิ้นส่วนกะโหลกมากมายที่ต้องใช้เวลาในการค่อยๆ ประสานให้เป็นชิ้นเดียว ดังนั้นเมื่อเป็นทารกกะโหลกจะมีช่องว่างอยู่บริเวณค่อนมาทางด้านหน้าของศีรษะ เรียกว่า กระหม่อม ซึ่งเป็นจุดที่เปราะบางที่สุดในชีวิต และจะปิดสนิทตั้งแต่อายุ ๒ ขวบ ถึง ๒ ขวบครึ่ง ถึงจะพ้นขีดอันตรายของชีวิต ดังนั้นการไว้จุกตั้งแต่แรกเกิด โดยเส้นผมในบริเวณที่ไว้จุกจะช่วยทำให้บริเวณกระหม่อมมีความอบอุ่น และป้องกันให้ปลอดภัยจากการกระทบกระเทือน อันที่จริงการไว้จุกเป็นเรื่องสรีระของมนุษย์ แต่ต่อมาได้พัฒนาเป็นพิธีกรรม และกลายเป็นเรื่องของคติความเชื่อในภายหลัง”


“การเกล้าพระโมลี (เกล้าจุก) ของพระบรมวงศานุวงศ์ในแบบราชสำนักโบราณจะเกล้าอย่างสวยงามประดับประดาด้วยดอกไม้และเครื่องประดับผมที่สวยงามมาก โดยจะมีการกันไรพระเกศาเป็นขอบขาวรอบบริเวณพระโมลี เมื่อหลังจากเกศากันต์ (โกนจุก) แล้ว บริเวณของไรพระเกศาที่กันไว้จะปล่อยยาวเป็นทรงผมต่างๆ

“สำหรับเครื่องแต่งกายที่ใช้ในพระราชพิธีโสกันต์ ในส่วนของ “ภูษาพัสตราภรณ์” ประกอบด้วย ฉลองพระองค์พระกรน้อย เป็นเสื้อแขนยาวที่เป็นการแต่งลำลองอย่างไม่เต็มยศ สำหรับพิธีฟังพระสวดในวันแรก โดยในสมัยรัชกาลที่ ๕ สมเด็จพระพันปีหลวง (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง) โปรดให้สร้างฉลองพระองค์พระกรน้อย สำหรับพระราชทานเจ้านายระดับชั้นเจ้าฟ้า เป็นผ้าแพรเขียนทองซึ่งปัจจุบันเก็บไว้ในราชสำนักทุกชิ้น มีกระดุมเป็นนพเก้าล้อมเพชร



ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.artbangkok.com/?p=30848

“จากนั้นจะเป็นพิธีสรงน้ำ ก็จะเป็นฉลองพระองค์ที่ทำด้วยผ้าขาว ขลิบทองคำ เรียกว่า ฉลองพระองค์ถอด จากนั้นจึงจรดพระกรรไกร กรรบิด (กรรไกรและมีดโกน) ตัดพระเกศา สรงน้ำ โดยยังทรงเครื่องถนิมพิมพาภรณ์ครบ หลังจากนั้นจะเปลี่ยนเป็น ฉลองพระองค์ครุยกรองทอง ทรงพระภูษาจีบหน้า ส่วนผ้าอีกชิ้นหนึ่งที่นำมาใช้ คือ เจียระบาด (ผ้าคาดเอว มีชายห้อยลงที่หน้าขา) สำหรับเจ้านายจะเป็นผ้าชั้นดี มีการประดับตกแต่งด้วยวัสดุมีค่า ไม่ว่าจะเป็นตาบปักด้วยทองแล่ง และเลื่อมอย่างงดงาม สำหรับภูษาที่ใช้นุ่งเป็นแบบจีบโจงไว้หางหงส์

“ต่อมา คือ สนับเพลา หรือ กางเกง ซึ่งสมัยก่อนอาจใช้เป็นการพันผ้า แต่ต่อมาทำสำเร็จรูปเย็บเป็นรูปกางเกง ส่วน ฉลองพระบาท เป็นรองพระบาทเชิงงอน หรือรองพระบาทธรรมดาแบบรองเท้าแตะ โดยราชสำนักจะออกแบบและใช้วัสดุตามระดับพระยศ อาทิ ฉลองพระบาทที่ทำจากผ้ากำมะหยี่ สลักดุนทองคำ พื้นเป็นหนังแล้วลงยาลวดลายต่างๆ หรือฉลองพระบาท ที่สั่งมาจากต่างประเทศแล้วนำมาตกแต่งใหม่ให้สวยงามยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมี “ถนิมพิมพาภรณ์” ประกอบไปด้วย ข้อพระกร แหวนรอบ (หรือในราชสำนักเรียกว่า พระธำมรงค์ร้อยผูกข้อพระกร) แหวนตะแคง (หรือในราชสำนักเรียกว่า พระธำมรงค์ข้อมะขาม ผูกข้อพระกร) กำไล ข้อพระกรเถา สังวาลย์ สายรัดพระองค์ และข้อพระบาท”




ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.artbangkok.com/?p=30848


นับเป็นพระราชพิธีโบราณที่แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรม และประเพณีอันงดงามของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย และถือเป็นมรดกของชาติที่ควรสืบสานไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ต่อไป


ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.artbangkok.com/?p=30848





เจ้าฟ้าชายประชาธิปกศักดิ์เดช กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา (รัชกาลที่๗)ทรงฉลองพระองค์ก่อนโสกัณฑ์ พ.ศ.๒๔๔๘

ขอขอบคุณภาพจากhttps://www.facebook.com/note.php?note_id=155294697833049



ในระหว่างพระราชพิธีโสกันต์ จะมีขบวนแห่เสด็จไปฟังสวด โดยมีโหรหลวง คอยรับเสด็จส่งเสด็จ ๔ คน ภายในขบวนแห่ นำหน้าด้วยพวกขับไม้บัณเฑาะว์ ๔ คน พวกเชิญเครื่องสูง พระแสงต่างๆ ข้าทูลละอองที่คัดมาเดินเคียง พระราชยาน หรือเสลี่ยงองค์ละ ๔ คน และจะปิดท้าย ด้วยขบวนพวกเชิญเครื่องสูงและพระแสง

หากเจ้านายที่โสกันต์ เป็นพระเจ้าลูกเธอ จะได้พระราชยาน หรือเสลี่ยงงารับเสด็จ ใช้เกณ์หลวงหรือไพร่ ๑๐ คนหาม ส่วนพระจ้าหลานเธอ จะใช้เสลี่ยงรับเสด็จ ใช้เกณฑ์หลวงหรือไพร่ ๘ คนหาม โดยเจ้านายที่เข้าพระราชพิธีโสกันต์ในวัน งานจะแต่งองค์แบบพระราชกุมาร อย่างงดงาม ซึ่งจะต้องทำไรไว้ขอบรอบจุก ใช้สำลีพันปลายไม้ชุบน้ำหมาดๆ และชุบเขม่าทารอบจุก โดยจะโกนพระเกศสรอบจุก ล้างศรีษะให้สะอาด อาบน้ำทาขมิ้นบางๆ เกล้าจุกปักปิ่น แล้วใส่มาลัยรอบจุก หรือเกี้ยวแบบต่างๆ ตามลำดับพระยศ ผัดพักตร์และองค์ให้ขาวนวล ฉลององค์ชุดใหม่ ประดับเพชรนิลจินดาที่เหมาะกับฐานะ และขึ้นพระราชยานเข้าขบวนแห่ เพื่อไปประกอบพระราชพิธี

ระหว่างที่เสด็จ จะมีพราหมณ์ ๔ คน รดน้ำกลศ น้ำสังข์ และโปรยข้าวตอกดอกไม้ และมีโหรโปรยข้าวเปลือก ข้าวสาร ซึ่งใส่อยู่ในขันทอง พร้อมพานรองนำหน้า เมื่อเสด็จขึ้นพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ก่อนฟังพระสวดพระพุทธมนต์ ตรงที่ประทับฟังสวด ที่อยู่ในพระฉากปูพรม และมีเขนยรองกรนั้น เบื้องหน้าจะมีโต๊ะ สำหรับวางพานมงคล ที่ทำไว้ด้วยสายสิญจน์ ๑๐๘ เส้น ขนาดพอดีกับศรีษะ โดยประธานในพิธี ซึ่งมักจะเป็นพระมหากษัตริย์ จะทรงจุดเทียนหน้าพระรับศีล พระสวดมนต์ แล้วก็สวมมงคลให้ ซึ่งสายสิญจน์โยงไปยังที่บูชาพระ จนพระสวดจบจึงจะปลดสายสิญจน์ออกจากมงคล

ต่อมาในวันโสกันต์ช่วงเช้า จะประกอบพระราชพิธี บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทเช่นเคย โดยโหรจะเป็นผู้ถวายพระฤกษ์ จรดพระกรรบิด (กรรไกร) ซึ่งเจ้านายที่โสกันต์ จะฉลองพระองค์ถอด ด้วยชุดขาว มีผ้านุ่งและเสื้อประดับขอบริมด้วยสีทอง พร้อมทั้งตกแต่งพระองค์ ด้วยเครื่องประดับเหมือน เมื่อครั้งทรงเสด็จมาฟังพระสวดพระพุทธมนต์ แต่จะไม่ทรงถุงเท้ารองเท้า หลังจากนั้นจะเสด็จ มาถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ เมื่อได้ฤกษ์จะประทับบนพระแท่นที่เตรียมไว้ และหันพระพักตร์ไปทางทิศ ที่เป็นมงคลตามที่โหรกำหนดไว้ เพื่อจรดพระกรรบิด

สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ ในเครื่องทรงในพระราชพิธีโสกันต์
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.vcharkarn.com/forum/view?id=4663&section=forum&ForumReply_page=4



เมื่อโสกันต์แล้ว จะเสเด็จไปถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ ถวายสบง และเครื่องไทยทาน พร้อมทั้งถวายข้าวสาร โดยใส่ลงในกระจาดตามจำนวนพระสงฆ์ ซึ่งกระจาดจะมีขนาดที่กำหนดไว้ คือ ก้นลึก ๑ ศอก หรือ ๑ ศอก ๓ นิ้ว หากโสกันต์พระเจ้าลูกเธอร่วมอยู่ด้วย กระจาดจะต้องเข้าขอบด้วยไม้ไผ่ และใช้หวายมัด ปิดกระดาษสีอย่างเรียบร้อย ข้าวสารที่ใส่นั้น ใส่กระจาดละ 5 ทะนาน (ทะนาน เป็นเครื่องตวงอย่างหนึ่ง ทำด้วยกะลามะพร้าว โดยที่ ๒๐ ทะนานเป็น ๑ ถัง ส่วน ทะนานหลวง จะเท่ากับ ๑ ลิตรในระบบเมตริก) ถวายพระสงฆ์ รวมทั้งอังคาสเภสัชด้วย

ภายหลังจากถวายเครื่องไทยทานแล้ว จะเสด็จกลับเข้าไปที่ทรงบาตร ที่ชานชาลาท้ายพระมหาปราสาท ซึ่งมีม่านกั้นตั้งแต่กำแพงแก้ว มาจนถึงพระมหาปราสาทตรงเข้าในพระราชวัง และทรงบาตร ที่ชาลาริมพระราชมณเฑียร

เมื่อทรงบาตรเสร็จสิ้น จะเสด็จขึ้นพระเสลี่ยง ด้วยขับไม้ และพราหมณ์นำเสด็จ เสนาบดี ๔ คน ซึ่งรับสมมุติเป็นจตุโลกบาล เดินเคียงพระเสลี่ยงไปสรงน้ำ ถ้าเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ และพระเจ้าลูกเธอ ที่ดำรงพระยศเจ้าฟ้า จะสร้างเขาไกรลาส เพื่อประกอบพิธีสรงน้ำ แต่ถ้าพระเจ้าลูกยาเธอ และพระเจ้าลูกเธอ ที่ไม่ได้ดำรงพระยศเจ้าฟ้า รวมถึงพระเจ้าหลานเธอ และบุตรธิดาของขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ที่พระเจ้าแผ่นดินมีพระราชประสงค์ จะโสกันต์ให้ จะสร้างพระแท่นสรง ขึ้นบนลานมุมพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท




เขาไกรลาศสร้างขึ้นเพื่อประกอบพิธีโสกัณฑ์ มีสิงสาราสัตว์จำลองจากป่าหิมพานต์จำนวนมาก

ขอขอบคุณภาพจากhttp://board.postjung.com/764263.html



ณ พระแท่นสรงเชิงเขาไกรลาส เชิงเขาจะเป็นสระน้ำอโนดาตน้อยๆ มีน้ำออกจากปากสิงห์ การสรงน้ำนี้จะมีการสมมุติ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่ ที่นับถือเป็นพระอิศวร เสด็จขึ้นไปทรงเครื่อง อยู่บนเขาไกรลาสชั้นท่านบุษบก ชาววังจะเอาม่านลายทอง แผ่ลวดพื้นสักหลาดผูกบังรอบทั้ง ๔ ด้าน แล้วเอาม่านพื้นทองดาพุ่ม ข้าวบิณฑ์บนบุษบกไขทั้ง 4 ด้าน โดยจะคอยชักไขข้างละคนเอาเสื่ออ่อน พรม พระยี่ภู่ผืนใหญ่ พระเขนยลายกระบวน แต่งที่บุษบก พื้นชั้นแท่นบุษบกปูเสื่อ ตั้งเตียง สนมพลเรือนปูพรม ขับไม้พราหมณ์อยู่ในที่สรง พราหมณ์จะถวายน้ำกลศ และน้ำสังข์ โดยเสด็จเข้าในพลับพลาเปลื้อง เครื่องทรง ผลัดพระภูษา แล้วจึงเสด็จขึ้นบนยอดเขา พระอิศวร(สมมุติ) จะเสด็จลงมารับถึงกลางบันไดนาค ขึ้นไปถึงชั้นพระแท่น เมื่อเสด็จเข้าไปในบุษบก ชาววังชักม่านไขปิด สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ จะเสด็จเลี้ยวไปทรงเครื่องที่มุมตะวันตกเฉียงเหนือ เสร็จแล้วจึงเสด็จไปเฝ้าพระอิศวร ชาววังชักม่านไขเปิดทั้ง ๔ ด้าน พระอิศวรประทานพร แล้วสมเด็จพระเจ้าลูกเธอก็เสด็จ กลับลงไปด้านทิศตะวันออก

ตกบ่ายจึงมีการประกอบพิธีเวียนเทียนสมโภช ณ พระที่นังจักรพรรดิพิมาน (พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยในปัจจุบัน) ซึ่งจะมีการตั้งข้าวขันพานรอง สำหรับแว่นเวียนเทียน แว่นนี้จะติดเทียนแว่นละ ๓ เล่ม พานน้ำวักแว่นเวียนเทียน บายศรีแก้ว บายศรีทอง บายศรีเงิน และมีบายศรีตอง ๓ ชั้น ใส่เครื่องกระยาบวดไปบูชาเทวดา เมื่อได้ฤกษ์โหรจะลั่นฆ้องเป่าสังข์ พราหมณ์จะเบิกแว่นเวียนเทียน เวียนไปครบ ๓ รอบ ก็เปลี่ยนผ้าคลุมบายศรี ให้ผู้จะโสกันต์ ถือไว้แล้วเวียนเทียนต่ออีก ๒ รอบ รวม ๕ รอบ จึงทำพิธีดับเทียน ขณะที่เวียนนั้นพราหมณ์ จะร่ายพระเวทไปด้วย เมื่อสมโภชเสร็จก็เป็นเสร็จพิธี วันรุ่งขึ้นก็อัญเชิญพระเกศาไปลอยแม่น้ำ

ภายหลังจากประกอบพิธีเวียนเทียนสมโภชเสร็จแล้ว จะมีการละเล่นสมโภชในงานด้วย ซึ่งการละเล่นที่มักจะเล่นกันอยู่เสมอคือกุลาตีไม้ และโมงครุ่ม

ตามประวัติศาสตร์แล้ว ในกรุงรัตนโกสินทร์ มีพระราชพิธีโสกันต์หลายครั้ง แต่พระราชพิธีโสกันต์ใหญ่เจ้าฟ้า และมีเขาไกรลาศ รวมทั้งพระราชพิธีครบถ้วน เช่นเดียวกับกรุงศรีอยุธยา เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ในพระราชพิธีโสกันต์ "สมเด็จเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี" พระราชธิดาใน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ประสูติแต่เจ้าจอมมารดา เจ้าทองสุก ธิดาเจ้ากรุงศรีสตนาคนหุต เจ้าประเทศราช

( ที่มา เว็บไซต์ ปากเซ.คอม )

ขอขอบคุณข้อมูลจากhttps://www.facebook.com/note.php?note_id=155294697833049



สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร



พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในพระราชพิธีโสกันต์
ขอขอบคุณภาพจากhttp://writer.dek-d.com/bird711/story/viewlongc.php?id=887306&chapter=323



งานพระราชพิธีโสกันต์ มีการสรงน้ำ จากปากสัตว์หิมพาน
ขอขอบคุณภาพจากhttp://topicstock.pantip.com/library/topicstock/K2912659/K2912659.html


เมื่อพระองค์มีพระชันษาครบ ๑๓ พรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีโสกันต์อย่างใหญ่ โดยโปรดให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมเป็นอธิบดีดำเนินการสร้างเขาไกรลาศบริเวณสนามหญ้าหน้าพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระราชพิธีโสกันต์จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๘-๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๓ จากนั้นได้ทรงผนวชเป็นสามเณร เมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๔ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ผนวชแล้วประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร




ขอขอบคุณภาพจากhttp://topicstock.pantip.com/library/topicstock/K2912659/K2912659.html



สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ในเครื่องทรงในพระราชพิธีโสกันต์
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.vcharkarn.com/forum/view?id=4663&section=forum&ForumReply_page=4




ในกรุงรัตนโกสินทร์ พระราชพิธีโสกันต์ใหญ่เจ้าฟ้า มีเขาไกรลาส และมีพระราชพิธีครบถ้วนเป็นครั้งแรก ดังเช่นในกรุงศรีอยุธยา คือ พระราชพิธีโสกันต์ สมเด็จเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเจ้าทองสุก ธิดาเจ้ากรุงศรีสตนาคนหุต เจ้าประเทศราช

การพระราชพิธีนั้น จดไว้ในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๑ อย่างละเอียด เริ่มแต่โปรดฯให้เจ้าพนักงานก่อตั้งเขาไกรลาส ณ ชาลาในพระบรมมหาราชวัง




ภาพเขียนเขาไกรลาส ในงานโสกัณฑ์ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๑ เขียนโดยพระวรรณวาดวิจิตร(ทอง)
ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.bloggang.com/viewblog.php?id=travelaround&date=21-12-2007&group=17&gblog=4



“มีพระมณฑปใหญ่อยู่ท่ามกลางยอดเขาไกรลาส แลมณฑปน้อยในทิศเหนือแลทิศใต้ ภายในพระมณฑปใหญ่ ตั้งบุษบกน้อย เชิญพระพุทธรูปและพระบรมธาตุประดิษฐานเป็นที่สักการบูชา...

ในพระมณฑปทิศเหนือตั้งรูปพระอิศวร พระอุมาพระมหาพิฆเนศวร ในพระมณฑปทิศใต้ตั้งรูปพระนารายณ์ พระลักษมี พระมเหศวรี ตามไสยศาสตร์ แลชานพระมณฑปเป็นกำแพงแก้ว เนื่องกับซุ้มประตู มีฉัตรทอง ฉัตรเงิน ฉัตรนาค เจ็ดชั้น พื้นไหมปักทองแล่ง แลมีที่สรงธารหลังออกจากปากสัตว์ทั้ง ๔ คือ ราชสีห์ แลช้าง แลม้า แลโค ซึ่งสมมติว่าสระอโนดาษ แลมีรูปพระอาทิตย์ พระจันทร์ รูปเทวดาทั้ง ๘ ทิศ ฤษีสิทธิวิทยาธรกินร แลสุบรรณนาคราช ช้างตระกูลอัฐทิศคชาพงศ์ ซึ่งบังเกิดในป่าหิมพานต์ แลรูปสัตว์จตุบาททวิบาท มีพรรณต่างๆ ประดับตามช่องชั้นเขาไกรลาส จนถึงชั้นชาลาพื้นล่าง”

เหล่านี้เป็นการพรรณนาบรรยายถึงเขาไกรลาส ส่วนกระบวนแห่เมื่อเสด็จขึ้นพระเสลี่ยงแห่ฟังสวด แห่โสกันต์ และ แห่สรงน้ำเขาไกรลาสนั้น ก็มโหฬารยิ่งนัก

เขาไกรลาสมีบทบาทสำคัญ ก็เมื่อสรงเสร็จแล้ว

“แล้วเสด็จขึ้นบนเขาไกรลาส จึ่งกรมขุนอิศรานุรักษ์แต่งพระองค์ทรงฉลองพระองค์ครุย ทรงชฎาเดินหน สมมติว่าเป็นพระอิศวร เสด็จลงมาแต่พระมณฑปใหญ่ยอดเขาไกรลาสทรงรับพระกรที่ชั้นทักษิณทิศตะวันตกกลางบันไดนาค จูงขึ้นไปบนเขาไกรลาส ประทานพรแล้วนำเสด็จลงมาด้านตะวันออก”

เขาไกรลาสและกระบวนแห่ครั้งนั้นเป็นอย่างไร พินิจพิเคราะห์ดูได้จากภาพประกอบ ซึ่งเป็นภาพวาดโดยช่างเขียนในสมัยนั้น...


พระราชพิธีโสกัณต์ และ เขาไกรลาส
จุลลดา ภักดีภูมินทร์
ขอบคุณเนื้อหาจาก นิตยสารกุลสตรี ฉบับที่ 2506 ปีที่ 48


http://www.siamganesh.com/sakulthai-01.html




ตามประวัติศาสตร์แล้ว ในกรุงรัตนโกสินทร์ มีพระราชพิธีโสกันต์หลายครั้ง แต่พระราชพิธีโสกันต์ครั้งยิ่งใหญ่ครบถ้วนทุกอย่างเหมือนกรุงศรีอยุธยาเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก คือในพระราชพิธีโสกันต์ "สมเด็จเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี" พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ประสูติแต่เจ้าหญิงทองสุก ธิดาพระเจ้ากรุงศรีสตนาคนหุต


ราชสำนักในปัจจุบันก็ไม่นิยมที่จะให้เจ้านายองค์น้อยๆ ไม่ว่าจะเป็นพระเจ้าลูกเธอจนถึงหม่อมเจ้าไว้จุกกันอีกแล้ว พระราชพิธีนี้จึงเป็นเพียงพระราชพิธีที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ที่ไม่มีวันจะหวนคืนกลับมาอีกในราชสำนัก โดยงานโสกันต์ครั้งสุดท้ายในราชสำนักก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองคือ พิธีโสกันต์พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา พระธิดาในสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย

คลังประวัติศาสตร์ไทย
ที่มา: https://m.facebook.com/photo.php?fbid=443562365787389&id=119437984866497&set=a.120142734796022.30235.119437984866497

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://board.postjung.com/764263.html

หมายเหตุ โสกันต์ และโสกัณฑ์ นั้นมีความหมายเดียวกัน และใช้ตามที่มาของข้อมูล

วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สายน้ำแหล่งชีวิต ๔.






ขอขอบคุณภาพจาก
http://khunmaebook.tarad.com/product.detail_837761_th_4554849


๓.  พระราชพิธีลงสรง

เป็นพระราชพิธีที่พระราชโอรสและราชธิดา พระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหลายลงสรงในแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อชำระล้างพระวรกายให้สะอาด ปราศจากความมัวหมอง ทั้งกายและจิตใจ โดยใช้น้ำเป็นสิ่งชำระล้างความสกปรกเศร้าหมองทั้งหลาย ซึ่งกระทำกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น


ขอขอบคุณภาพจาก
http://emuseum.treasury.go.th/article/557-24-09-2013.html


พระราชพิธีลงสรงและเฉลิมพระปรมาภิไธย
พระราชพิธีลงสรงและเฉลิมพระปรมาภิไธยเป็นพระราชพิธีสำคัญที่มีมาตั้งแต่โบราณอันเกี่ยวเนื่องด้วยพระราชกุมารที่ดำรงพระอิสริยยศชั้นเจ้าฟ้า และสืบทอดมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดีย เนื่องจากพิธีนะหานะดิตถมงคลซึ่งเป็นพิธีสอนให้เด็กว่ายน้ำได้ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระเวทของศาสนาพราหมณ์ที่กล่าวถึงพิธีมงคลของเด็กซึ่งมีอยู่ ๑๐ พิธีด้วยกัน

ในประเทศไทยไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการประกอบพระราชพิธีลงสรงและเฉลิมพระปรมาภิไธยขึ้น ครั้งแรกเมื่อใด แต่ในคำให้การชาวกรุงเก่าได้กล่าวถึงการสมโภชพระราชกุมาร พระราชโอรส และพระราชธิดา ซึ่งพระราชพิธีลงสรงถือเป็นพิธีอย่างหนึ่งในพิธีสมโภชลูกหลวง ๑๐ อย่าง ในสมัยกรุงศรีอยุธยา พิธีสมโภชลูกหลวง 10 อย่างซึ่งปรากฏอยู่ในคำให้การชาวกรุงเก่า โดยกล่าวถึงการสมโภชเมื่อพระกุมารมีพระชันษา ล่วง ๓ ขวบแล้ว และลงสรงน้ำได้ โปรดให้มีการสมโภชขึ้นครั้ง ๑
นอกจากนี้ในคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ได้กล่าวถึงพระราชพิธีลงสรงสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอุทุมพรบวรราชกุมาร ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ปรากฏหลักฐานการประกอบพระราชพิธีลงสรงและเฉลิมพระปรมาภิไธย ด้วยกัน ๒ ครั้ง คือ

ครั้งที่ ๑
 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงรื้อฟื้นพระราชพิธีนี้ซึ่งมีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ด้วยทรงเกรงว่าพระราชพิธีนี้จะเสื่อมสูญไปจึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีลงสรงและเฉลิมพระปรมาภิไธย พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ จารึกพระนามลงพระสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎ สมมติเทววงศ์พงศ์อิศวร กษัตริย์วรขัตติยราชกุมาร” เพื่อเฉลิมพระเกียรติยศขัตติยราชประเพณี พระราชพิธีลงสรงในครั้งนั้น ประกอบขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๕ อาศัยแบบแผนที่มีมาแล้วในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยมีสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิทักษ์มนตรีเป็นองค์อำนวยการ




สมเด็จพระจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
ขอขอบคุณภาพจากhttp://theesotericcuriosa.blogspot.com/2011/05/blog-post_13.html


ครั้งที่ ๒
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีลงสรงและเฉลิมพระปรมาภิไธยตามแบบโบราณราชประเพณีพระราชทานแก่พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ คือ สมเด็จพระจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ อดิศรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรสมมุติเทพยวรางกูร บรมมกุฎนเรนทรสูรยขัตติยสันตติวงศ์ อุกฤษษฐพงศ์วโรภโตสุชาต ธัญญลักษณวิลาสวิบูลยสวัสดิ์ สิริวัฒนราชกุมาร ซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จ พระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ขณะนั้นทรงมีพระชนมายุ ครบ ๙ พรรษา พระราชพิธีลงสรงและเฉลิมพระปรมาภิไธยในครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๐ – ๒๐ มกราคม ๒๔๒๙ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีแนวพระราชดำริที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขธรรมเนียมการสถาปนาองค์รัชทายาท เพื่อเสถียรภาพแห่งราชบัลลังก์ ดังเช่นประเทศที่ปกครองในระบอบกษัตริย์ในยุโรปจะมีการสถาปนาตำแหน่งพระยุพราช (Crown Prince) เอาไว้อย่างชัดเจน โดยหลังจากกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เสด็จทิวงคต เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๒๘ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปรึกษากับพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ จากนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศพระราชกฤษฎีกายกเลิกตำแหน่งพระมหาอุปราชกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในวันที่ ๔ กันยายน ๒๔๒๘ และสถาปนาตำแหน่งรัชทายาทขึ้นใหม่ คือ “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร”


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://emuseum.treasury.go.th/article/557-24-09-2013.html


การประกอบพระราชพิธีลงสรงและเฉลิมพระปรมาภิไธย

พระราชพิธีลงสรงและเฉลิมพระปรมาภิไธยจัดทำเป็นสองส่วน คือ พระราชพิธีลงสรง และพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย แต่โดยโบราณราชประเพณีแล้วมิได้กำหนดบังคับให้ต้องจัดพระราชพิธีทั้งสองในคราวเดียวกันทุกครั้ง อาจจะงดเว้นพระราชพิธีลงสรง จัดแต่พระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธยก็ได้ หรือจะเพิ่มพิธีแต่งตั้งพระอิสริยยศให้ดำรงตำแหน่งอื่นใดเพิ่มก็ได้ โดยการพระราชพิธีลงสรงและเฉลิมพระปรมาภิไธยนี้มิได้พระราชทานแก่พระราชกุมารที่มีพระราชอิสริยยศชั้นเจ้าฟ้าทุกพระองค์

การเตรียมพระราชพิธี
การสร้างแพลงสรงและลักษณะของแพลงสรง
การสร้างแพลงสรงในพระราชพิธีครั้งนี้ ออกแบบโดยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอฯ กรมพระภาณุพันธุวงศ์ วรเดช องค์อำนวยการจัดงานพระราชพิธี โดยมีหม่อมเจ้าอลังการ ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมสมเด็จพระบำราบปรปักษ์ เป็นนายช่างการก่อสร้างแพลงสรง



ขอขอบคุณภาพจาก
http://emuseum.treasury.go.th/article/557-24-09-2013.html


แพลงสรงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร จัดสร้างขึ้น ณ พระที่นั่งชลังคพิมาน (พระตำหนักแพ) บริเวณท่าราชวรดิษฐ์ มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ใต้ฐานแพใส่ไม้ไผ่และไม้ไผ่นี้รองรับด้วยโครงไม้วางสลับเป็นรูปตาราง เว้นช่องว่างบริเวณกึ่งกลางแพเพื่อเป็นที่ลงสรงรอบๆฐานแพปิดด้วยไม้ไผ่สานเป็นแผงตาชะลอม เข้าขอบบุด้วยผ้าแดง แล้วใช้ลวดตาข่ายสังกะสีบุทับอีกชั้นหนึ่ง เพื่อความเรียบร้อย

ด้านตะวันออกของแพลงสรงเป็นที่ตั้งของพลับพลาทองจัตุรมุขซึ่งมีพระที่นั่งโธรนตั้งอยู่เพื่อเป็นที่ประทับ บริเวณกลางแพเป็นที่ตั้งของมณฑปทำด้วยไม้มะเดื่อ กลางมณฑปเจาะช่องที่พื้น สำหรับเสด็จลงสรง โดยทำเป็นกรงบุผ้าขาวเนื้อละเอียด แล้วใช้ตาข่ายสังกะสีตาละเอียด ปิดทองบุทับผ้าขาวอีกชั้นหนึ่ง ในกรง มีรูปกุ้งทอง กุ้งนาก กุ้งเงิน ปลาทอง ปลานาก ปลาเงิน มีมะพร้าวปิดทอง ๑ คู่ มะพร้าวปิดเงิน ๑ คู่ ทางด้านตะวันตกมีมณฑปตั้งพระแท่นแว่นฟ้า ๗ ชั้น มีตั้งไม้มะเดื่อสำหรับประทับรับน้ำพระพุทธมนต์พระกระยาสนานหลังจากเสด็จขึ้นจากที่สรง

แพลงสรงดังกล่าวเปรียบเสมือนรูปจำลองภูมิจักรวาล อันประกอบด้วยเขาไกรลาส (หรือเขา พระสุเมรุ) ซึ่งมีน้ำล้อมรอบอยู่อย่างแท้จริง และแพลงสรงนี้ก็เปรียบเสมือนรูปจำลองภูมิจักรวาลที่สามารถลอยเคลื่อนที่ได้นั่นเอง
พิธีสวดมนต์ตั้งน้ำวงด้ายและพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์

วันแรกของพระราชพิธี พระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ ๒๐ รูป เจริญพระพุทธมนต์ตั้งน้ำวงด้ายในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท โดยมีการวงด้ายสายสิญจน์รอบพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทและพระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย
ในวันอังคาร ที่ ๑๑ – พฤหัสบดีที่ ๑๓ มกราคม ๒๔๒๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระเจ้าลูกยาเธอฯ ทรงประกอบพิธีสงฆ์ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เป็นเวลา ๓ วัน
พิธีลงสรงและเฉลิมพระปรมาภิไธย

ในวันศุกร์ ที่ ๑๔ มกราคม ๒๔๒๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับ ณ พระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย ทรงรับสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ จากพระราชยาน สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ ทรงเปลี่ยน พระภูษาฉลองพระองค์ เสร็จแล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอฯ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการทรงรับพระกรสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอไปประทับที่พลับพลาหน้าพระที่นั่งชลังคพิมาน ทรงจุดเทียนเครื่องนมัสการเสร็จแล้วสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ถวายศีล จากนั้น ทั้งสองพระองค์เสด็จลงยังแพยังพระที่นั่งโธรน พราหมณ์ลอยกุ้งทอง กุ้งเงิน กุ้งนาก ปลาทอง ปลาเงิน ปลานาก มะพร้าวงอกทอง มะพร้าวงอกเงิน ที่มุมกรงสำหรับสรงสนาน แล้วจุดเทียนบูชาอวยชัย โหรบูชา พระฤกษ์และลอยบัตร์ตามกระแสน้ำ เรือเจ้าพนักงานตรวจตราความเรียบร้อย



ขอขอบคุณภาพจาก
http://topicstock.pantip.com/isolate/topicstock/2008/04/M6492652/M6492652.html

เมื่อถึงเวลาพระมหามงคลฤกษ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับพระกรสมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอฯ โปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช รับพระกรต่อจากพระหัตถ์นำเสด็จลงจุ่มพระองค์ในกรงสรงสนานพร้อมด้วยมะพร้าว คู่ปิดเงิน ปิดทองถวายให้ทรงโผไปมา ๓ ครั้ง ขณะเดียวกันเจ้าพนักงานประโคมดนตรี พระราชาคณะสวดถวายไชยมงคล กรมพระแสงปืนต้นยิงปืนสัญญาณขึ้นพร้อมกัน เจ้าพนักงานประจำเรือทอดทุ่นล้อมวงยิงปืนใหญ่น้อยขึ้นผลัดเปลี่ยนกันไปจนกว่าจะสิ้นเวลาสรงสนาน ปืนใหญ่ยิงสลุตถวายพระเกียรติแห่งละ ๒๑ นัด การละเล่นสมโภช ก็เล่นขึ้นพร้อมกัน


ครั้นลงสรงสนานพอสมควรแล้วก็เชิญเสด็จขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสอดพระธำมรงค์นพรัตน์แก่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ และพระราชทานน้ำพระมหาสังข์ทักษิณาวรรตและพระเต้าเบญจครรภ์ พระมหาสังข์ ๕ พระมหาสังข์ ๓ และพระเต้า จากนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ และพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้า ฝ่ายใน และเสนาบดี ถวายน้ำพระพุทธมนต์ พราหมณ์ถวายน้ำกลศ น้ำสังข์ เสร็จแล้วทรงผลัดพระภูษาและแต่งพระองค์ด้วยฉลองภูษาครุย จากนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงส่งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ ประทับบนพระราชยาน ตั้งกระบวนแห่กลับ เสด็จขึ้นสู่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

ครั้นได้มหาพิไชยฤกษ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย) เจ้ากรมอาลักษณ์ อ่านประกาศยอพระเกียรติเฉลิมพระปรมาภิไธย สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร มีพระนามตามจารึกสุพรรณบัฏว่า

“สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรณหิศ อดิศวรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยวรางกูร บรมมกุฎนเรนทรสุริย์ขัตติยสันตติวงษ์ อุกฤษฐพงษ วโรกโตสุชาติ ธัญญลักษณ์วิลาศวิบูลย์สวัสดิ์ ศิริวัฒนวิสุทธิ สยามมกุฎราชกุมาร”

จากนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานน้ำพระมหาสังข์ทักษิณาวรรต ทรงเจิมแล้วพระราชทานพระสุพรรณบัฏและคำประกาศรับพระปรมาภิไธยแล้วพระราชทานเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศ ประกอบด้วย เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ พระสังวาลพระนพน้อย พระแสงญี่ปุ่นฝักถมราชาวดี พระแสงกระบี่สันปรุคร่ำทอง ฝักทองคำลงยาและด้ามศีรษะนาคสามเศียรลงยาราชาวดีประดับพลอย พระแสงกั้นหยั่นลงยาราชาวดีประดับพลอยแดง พานหมากเสวยลงยาราชาวดี พระเต้าลงยาราชาวดี บ้วนพระโอษฐ์ลงยาราชาวดี หีบหมากเสวยลงยาราชาวดี ที่พระสุธารสทองคำ กาน้ำเสวยทองคำ พระประคำทองสาย พระสายดิ่ง พระธำมรงค์นพเก้า พระธำมรงค์ประจำวันทองคำรูปหนู พระธำมรงค์มรกตเป็นพระลัญจกรประทับครั่ง พระลัญจกรประทับครั่



เวลาบ่ายสามโมงเศษ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์ วรเดช ซึ่งเป็นองค์แทนพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหลาย ราชทูตกรุงอังกฤษ ตัวแทนเสนาบดีและข้าราชการอ่าน คำถวายพระพร ในวันเสาร์ ๑๕ - วันอาทิตย์ ที่ ๑๖ มกราคม ๒๔๒๙ ได้มีการจัดกระบวนแห่สมโภช ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์และเสนาบดี ถวายทรงเจิมสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ในเวลาสมโภช จึงเป็นการเสร็จสิ้นพระราชพิธีลงสรงและเฉลิมพระปรมาภิไธย



ขอขอบคุณภาพจาก
http://theesotericcuriosa.blogspot.com/2011/05/blog-post_13.html


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://emuseum.treasury.go.th/article/557-24-09-2013.html

วันอังคารที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สายน้ำแหล่งชีวิต ๓





พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๗๕
ขอขอบคุณภาพจาก

http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/ww523/2282520/2282520-web2/sum/z03.htm


ขอขอบคุณภาพจาก
http://khonsurin.blogspot.com/2012/01/blog-post.html

วิถึชีวิตคนไทยกับน้ำ

วัฒนธรรมประเพณีที่เกี่ยวข้องกับน้ำ
๒  .พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา



ขอขอบคุณภาพจาก
http://www.pharamee.net/forum.php?mod=viewthread&tid=1262




พระราชพิธีนี้กระทำขึ้นเพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์ ของข้าราชการทุกคนมีตั้งแต่สมัยอยุธยาสืบต่อเนื่องมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ด้วยการดื่มน้ำศักดิ๋สิทธิ์ หรือน้ำพิพัฒน์สัตยา หรือน้ำสาบานต่อหน้าพระพักตร์ของพระมหากษัตริย์

น้ำสาบานนี้มาขจากการเสกเป่าของพระมหาราชครู (พราหมณ์) ซึ่งจะมีการชุบพระแสงและอ่านโองการอช่งน้ำ อันหมายถึง แทงพระแสงดาบลงไปในน้ำแล้วสาปแช่ง (ในโองการแช่งน้ำมีคำกล่าวสรรเสริญพระนารายณ์อยู่ด้วย)

น้ำสาบานนี้มีคุณลักษณะที่แปรสภาพจิตใจของมนุษย์ เพราะถือว่าผู้ใดที่ได้ดื่มน้ำสาบานซึ่งผ่านการปลุกเสกมาอย่างน่าเกรงขามเช่นนี้แล้ว คงไม่กล้าที่จะคิดกบฏ ฉ้อราษฎร์บังหลวง



ขอขอบคุณภาพจาก

http://www.laksanathai.com/book2/p042.aspx

พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาหรือ พระราชพิธีศรีสัจจปานกาลซึ่งเป็นพิธีที่รวมทั้งศาสนาพุทธและฮินดู ได้มีการเปลี่ยนแปลงจากประเพณีโบราณมาครั้งหนึ่งแล้วในสมัยรัชกาลที่ ๔ ของกรุงรัตนโกสินทร์ แต่เดิมมานั้นพระมหากษัตริย์มิได้เสวยน้ำชำระพระแสงด้วย แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ถวายทรงดื่มก่อน แล้วจึงให้พนักงานเชิญไปถวายพระบรม วงศานุวงศ์และข้าราชการ เมื่อได้มีการรื้อฟื้นพระราชพิธีนี้ขึ้นใหม่ ในรัชกาลปัจจุบันหลังจากที่ได้ยกเลิกไป หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ และเรียกเสียใหม่ว่า พระราชพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีฯ โดยให้ผู้ที่ได้ รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ เท่านั้นถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา คำถวาย สัตย์ปฏิญาณก็แตกต่างออกไปจากแบบ เดิม คือมิได้มีการออกพระนามพระมหา กษัตริย์ แต่เป็นการสาบานตนต่อประเทศ ชาติและประชาชนชาวไทย


ขอขอบคุณภาพจาก
http://www.pharamee.net/forum.php?mod=viewthread&tid=1262



น้ำพิพัฒน์สัตยานี้ จะตักน้ำมาจาก


1. แม่น้ำบางประกง ตักที่บึงพระอาจารย์ แขวงเมืองนครนายก (ภายหลังมีการเปลี่ยนสถานที่ตัก เป็นที่ปากน้ำโจ้โล้ หน้าวัดหลวงพ่อพุทธโสธร)

2. แม่น้ำป่าสัก ตักที่ตำบลท่าราบ แขวงเมืองสระบุรี

3. แม่น้ำเจ้าพระยา ตักที่ตำบลบางแก้ว แขวงเมืองอ่างทอง

4. แม่น้ำแม่กลอง ตักที่ตำบลดาวดึงษ์ แขวงเมืองสมุทรสงคราม

5. แม่น้ำเพชรบุรี ตักที่ตำบลท่าไชย แขวงเมืองเพชรบุรี

น้ำในแม่น้ำทั้ง 5 สายนี้ มีชื่อเรียกว่า เบญจสุทธิคงคา โดยอนุโมตามปัญจมหานทีในชมพูทวีปน้ำในแต่ละแห่งดังกล่าวเมื่องตักมาแล้ว จะตั้งพิธีเสก ณ เจดีย์สถานแห่งแขวงนั้น ๆ แล้วจึงจัดส่งเข้ามาทำพิธีที่กรุงเทพฯ ต่อไป


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=18817
http://www.laksanathai.com/book2/p042.aspx

หนังสือวิถึชีวิตคนไทยกับน้ำ เรียบเรียงโดยฐาพร

วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2557

พระราชพิธีมูรทาภิเษก



พระราชพิธีมูรธาภิเษก


คติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ถือว่าการยกผู้ใดให้เป็นใหญ่ ต้องทำพิธีรดน้ำศักดิ์สิทธิ์จากแม่น้ำคงคาซึ่งไหลลงมาจากสวรรค์ และแม่น้ำ๗ สาย (สัปตสินธวะ)๑ ซึ่งคติไทยยึดตามคัมภีร์เวสสันดรชาดก คือถือเพียง ๕ สาย (ปัญจมหานที)
ความศักดิ์สิทธิ์ของแม่น้ำคงคาตามคัมภีร์พระเวทและปุราณะถือว่าเป็นน้ำบริสุทธิ์ สะอาด และขลัง ถ้าได้รดชำระร่างกายจะเกิดมงคล พ้นมลทิน ถ้าได้อาบกินก่อนเสียชีวิต หรือได้เผาศพริมฝั่ง 'คงคา' แล้วทิ้งเถ้าถ่านลงในแม่น้ำ ก็จะได้ขึ้นสวรรค์ และเชื่อกันว่าบริเวณศักดิ์สิทธิ์ที่สุดคือจุฬาตรีคูณ๓ ประยาค (สังคัม) เมืองอัลลาฮาบาด รัฐอุตรประเทศ

เมื่อพราหมณ์เข้ามามีอำนาจปกครองอาณาจักรฟูนันและเจนละ (กัมพูชาปัจจุบัน) ในสุวรรณภูมิ ได้แผ่ลัทธิจารีตประเพณีเข้าไปยังดินแดนที่เป็นไทย ลาว และเวียดนามตอนใต้ในปัจจุบัน รวมทั้งได้นำพิธีมูรธาภิเษก๔ มาใช้ในการประกอบพิธียกย่องบุคคลให้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน และเพื่อให้ศักดิ์สิทธิ์ จึงได้ตั้งการพิธีเชิญขึ้นสู่มณฑปพระกระยาสนานสรงมูรธาภิเษกในการขึ้นครองแผ่นดิน เรียกว่าพระราชพิธีบรมราชาภิเษก


พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ทรงอธิบายที่มาว่าเป็นพิธีพราหมณ์ปนพุทธ ได้ธรรมเนียมมาจากเขมรหรือมอญ เพราะเขมรโบราณถือลัทธิพราหมณ์ที่มีการอภิเษก ความสำคัญของพิธีจึงอยู่ที่การรับน้ำอภิเษกแสดงความเป็นใหญ่ในแคว้น ๘ ทิศ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระราชทานพระบรมราชาธิบายไว้ว่า หลักแห่งการราชาภิเษกมีรดน้ำ แล้วเถลิงราชอาสน์ เป็นเสร็จพิธี และที่ว่าปนกันนั้น คือการสรงมูรธาภิเษก กับขึ้นอัฐทิศรับน้ำ เป็นการรดเหมือนกัน มูรธาภิเษกจึงเป็นพระราชพิธีสำคัญเพื่อถวายความเป็นเจ้าเป็นใหญ่ครอบครองแผ่นดิน

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงประกอบพระราชพิธีสรงพระมูรธาภิเษกตามโบราณราชประเพณีครั้งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งปรากฏในจดหมายเหตุว่า "หลวงโลกทีปและพระมหาราชครูกราบบังคมทูลเชิญเสด็จสรง เจ้าพนักงานชาวภูษามาลาถวายพระภูษาถอด๕ เสด็จเข้าสู่มณฑปพระกระยาสนาน๖ เสด็จเหนืออุทุมพรราชอาสน์...แปรพระพักตร์สู่ทิศบูรพา หลวงวงศา (ภรณ์ภูษิต) ชาวภูษามาลา ไขสหัสธารา๗"

เหตุที่ต้องใช้วิธีไขสหัสธารา เพราะขัตติยราชประเพณี ผู้ใดจะหลั่งน้ำพระพุทธมนต์หรือเทพมนตร์ที่พระศิรเจ้าขององค์พระมหากษัตริย์ไม่ได้ จะถวายก็ด้วยพระเต้าเบญจคัพย์๘ หรือด้วยพระมหาสังข์ที่พระหัตถ์ ซึ่งทรงแบรับ แล้วทรงลูบไล้พระพักตร์และพระศิรเจ้า พิธีปฏิบัติเช่นนี้คือตอนเสด็จประทับ ณ พระที่นั่งอัฐทิศ๙ ประทับทรงรับน้ำอภิเษกจากพระมหาราชครูพิธีพราหมณ์และราชบัณฑิตทั้ง ๘ ทิศ ถวายความเป็นเจ้าเป็นใหญ่ครอบครองแผ่นดินตามราชประเพณีแต่โบราณ
พระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ได้เปลี่ยนการถวายน้ำอภิเษกให้เป็นหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย อันนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของชาติไทย


น้ำสรงมูรธาภิเษกในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกที่บรรจุในทุ่งสหัสธารา เจือด้วยน้ำปัญจมหานทีในมัธยมประเทศ น้ำเบญจสุทธคงคา๑๐ และน้ำ ๔ สระ๑๑ ซึ่งเคยแต่งเป็นน้ำสรงมูรธาภิเษกสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชมาแต่โบราณกาล นอกจากนี้ ยังเจือด้วยน้ำอภิเษกซึ่งทำพิธีพลีกรรมจากปูชนียสถานสำคัญในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักร และปนด้วยน้ำพระพุทธมนต์ปริตรที่พระสงฆ์ราชาคณะ ๑ รูป พระครูปริตร ๔ รูป พระสงฆ์ราชาคณะรามัญ ๑ รูป พระครูปริตรรามัญ ๔ รูป รวม ๑๐ รูป เจริญพุทธมนต์เสกทำน้ำพระพุทธปริตรสำหรับสรงน้ำมูรธาภิเษกนี้ ด้วยการเสกทำน้ำพระปริตร ตั้งพิธีที่พระที่นั่งดุสิดาภิรมย์ในพระบรมมหาราชวัง

การเสด็จประทับ ณ มณฑปพระกระยาสนาน สรงมูรธาภิเษกสำหรับการพระราชพิธีราชาภิเษกนี้ พระมหากษัตริย์จะผินพระพักตร์สู่ทิศบูรพา เป็นราชประเพณีมาแต่โบราณเพื่อยังความผาสุกสวัสดิพิพัฒนมงคลแก่ทวยอาณาประชาราษฎรทุกหมู่เหล่า และความวัฒนามั่นคงของประเทศชาติ

นอกจากการพระราชพิธีสรงมูรธาภิเษกในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเถลิงถวัลยราชสมบัติตามขัตติยราชประเพณีแล้ว

ยังมีการพระราชพิธีสรงมูรธาภิเษกในการพระราชพิธีสำคัญอื่น ๆ เช่น วันขึ้นปีใหม่เถลิงศก พระมหากษัตริยาธิราชเจ้าจะเสด็จประทับพระมณฑปสรงมูรธาภิเษก แต่เป็นพระมณฑปสรงขนาดเล็ก มีทุ้งสหัสธาราเช่นกัน น้ำมูรธาภิเษกไม่มีปัญจมหานทีในมัธยมประเทศ และไม่มีน้ำที่พลีกรรมตักมาจากแม่น้ำสำคัญและปูชนียสถานสำคัญในราชอาณาจักร ใช้น้ำเทพมนตร์ที่คณะพราหมณ์ประกอบพิธีตามลัทธิที่โบสถ์พราหมณ์อันเป็นเทวสถานของพราหมณ์ในกรุงเทพมหานคร ปนด้วยน้ำพระพุทธปริตรที่พระสงฆ์ไทย ๕ รูป รามัญ ๕ รูป ตั้งการพิธีเสก ณ พระที่นั่งดุสิดาภิรมย์ แล้วเชิญไปรวมในทุ้งสหัสธาราสำหรับสรงพระมูรธาภิเษกวันเถลิงศกขึ้นปีใหม่ ประทับผินพระพักตร์ไปยังทิศบูรพา สรงเพื่อความสุขสวัสดีแก่ประชาชนและบ้านเมือง ไม่ใช่เพื่อพระองค์ เว้นแต่การสรงพระมูรธาภิเษกในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระราชพิธีฉัตรมงคล หรือรัชดาภิเษก จะทรงผินพระพักตร์ไปตามทิศมงคลประจำวันหรือการเปลี่ยนพระมหาทักษาตามที่โหรหลวงคำนวณถวาย


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.econnews.org/487/ekw0487.html

น้ำมูรธาภิเษก
เป็นชื่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้รดพระเศียร ในพระราชพิธีราชาภิเษก หรือพระราชพิธีอื่น ๆ เรียกว่า น้ำมูรธาภิเษก ในคำว่า สรงน้ำมูรธาภิเษก หรือสรงมูรธาภิเษก แปลว่า การยกให้ หรือการแต่งตั้งโดยการทำพิธีรดน้ำ

ตามคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ถือว่า การยกให้ผู้ใดเป็นใหญ่ ทรงสิทธิ์อำนาจนั้น จะต้องทำด้วยพิธีรดน้ำศักดิ์สิทธิ์ และเชื่อถือกันมาว่า น้ำที่ศักดิ์สิทธิ์นั้น ได้แก่ น้ำในแม่น้ำคงคาซึ่งไหลลงมาจากสวรรค์ และแม่น้ำที่นับเนื่องในแม่น้ำคงคา ซึ่งเรียกรวมว่า สัปตสินธวะ ได้แก่ แม่น้ำเจ็ดสายที่ไหลแยกออกจากแม่น้ำคงคา ตั้งแต่แรกเกิดแม่น้ำคงคาคือ ยมุนา สรัสวดี โคธาวรี นัมมทา สินธุ และกาเวรี แต่คติทางไทยซึ่งถือตามคัมภีร์เวสสันดรชาดก ถือว่าแม่น้ำที่ไหลแยกจากแม่น้ำคงคามีสี่สายคือ ยมุนา อจิรวดี สรภู และมหิ เมื่อรวมกับแม่น้ำคงคา จึงเป็นห้าสายเรียกว่า ปัญจมหานที


น้ำสรงมูรธาภิเษก ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกที่บรรจุในทุ้งสหัสธารานั้น เจือด้วยน้ำปัญจมหานทีในมัธยมประเทศและน้ำเบญจสุทธคงคา ในแม่น้ำสำคัญทั้งห้าของราชอาณาจักรไทย ได้แก่ แม่น้ำเพชรบุรี ตักที่ ต.ท่าชัย แขวง จ.เพชรบุรี แม่น้ำราชบุรี ตักที่ ต.ดาวดึงส์ แขวง จ.สมุทรสงคราม แม่น้ำเจ้าพระยา ตักที่ ต.บางแก้ว แขวง จ.อ่างทอง แม่น้ำป่าสัก ตักที่ ต.ท่าราบ แขวง จ.สระบุรี แม่น้ำบางปะกง ตักที่ ต.บึงพระอาจารย์ แขวง จ.นครนายก
และน้ำสี่สระ คือ สระเกศ สระแก้ว สระคงคา สระยมุนา แขวง ต.สุพรรณบุรี ซึ่งเคยแต่งเป็นน้ำสรงมูรธาภิเษก สมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชมาแต่โบราณกาล
นอกจากนี้ ยังเจือด้วยน้ำอภิเษก ซึ่งทำพิธีพลีกรรม ตักมาจากปูชนียสถานสำคัญในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักร และปนด้วย น้ำพระพุทธปริต ที่พระสงฆ์ราชาคณะหนึ่งรูป พระครูปริตรสี่รูป พระสงฆ์ราชาคณะรามัญหนึ่งรูป พระครูปริตรรามัญสี่รูป รวมสิบรูป เจริญพระพุทธมนต์เสกทำน้ำพระพุทธปริตร

http://www.baanjomyut.com/library/knowledge_of_encyclopedias/650.html