วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

ลุ่มน้ำบางปะกง ๑๑ อดีตกาลที่ผ่านมา ๗



กำแพงเมืองฉะเชิงเทรา
ขอขอบคุณภาพจากwww.zthailand.com

ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ฉะเชิงเทรามีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมพระกลาโหม ต่อมาภายหลังจึงได้มาสังกัดกรมมหาดไทย ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เกิดสงครามอานามสยามยุทธ ระหว่างไทยและญวนขึ้นในปีพ.ศ ๒๓๗๖ - พ.ศ.๒๓๙๐ อีกทั้งทรงเห็นภัยจากชาวตะวันตกจากการที่พม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ(พ.ศ ๒๓๖๗)และมีพระราชดำริว่าภัยของชาติน่าจะมาจากทางทะเล จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างเมืองและป้อมค่ายขึ้นหลายแห่ง รวมทั้งที่เมืองฉะเชิงเทราด้วย เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๗ และได้โปรดเกล้า ฯ ให้ขุดคลองบางขนากเพื่อใช้เป็นเส้นทางขนยุทธสัมภาระในราชการสงคราม




ขอขอบคุณภาพจากhttp://salakohok.freeforums.org/2-t11-270.html

สำหรับเมืองฉะเชิงเทรานั้น ได้รับบทบาทในฐานะเมืองหน้าด่านด้วย ทรงโปรดให้ ย้ายที่ว่าการเมืองฉะเชิงเทราจากเดิมที่ตั้งอยู่ปากน้ำโจ้โล้ มาสร้างกำแพงเมืองใหม่ ที่บ้านท่าไข่ แขวงเมืองฉะเชิเทรา ชิดกับลำน้ำบางปะกง ซึ่งเป็นเสมือนกำแพงธรรมชาติที่ป้องกีนศัตรูได้เป็นอย่างดี หมายให้ช่วยรักษาเมืองหลวงให้พ้นจากภัยข้าศึก ในการนี้ทรงโปรดเกล้าฯให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไกรสร กรมหลวงรักษ์รณเรศ เป็นแม่กองในการก่อสร้าง ถือว่าเป็นการสร้างบ้านแปลงเมืองของฉะเชิงเทรา



ขอขอบคุณภาพจากhttp://salakohok.freeforums.org/topic-t78-90.html

มีกำแพงเมืองกำหนดขอบเขตของเมืองแปดริ้ว เป็นปราการรักษาพระนครพร้อมทั้งเป็นการช่วยเหลือชาวบ้านชาวเมืองให้ปลอดภัยจากข่้าศึกศัตรูในสมัยนั้น
ในระหว่างสร้างกำแพงเมืองฉะเชิงเทรานั้นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไกรสร กรมหลวงรักษ์รณเรศ ได้สร้างวัดขึ้นพร้อม ๆ กับการสร้างกำแพงเมือง เพราะชาวไทยต่างมีความศรัทธาใในพระพุทธศาสนา เพื่อให้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมือง เป็นที่พึ่งทางใจในยามสงคราม เนื่องจากวัดนี้ตั้งอยู่ในเมือง ชาวบ้านจึงเรียกกันโดยทั่วไปว่า วัดเมือง






วัดนี้สร้างโดยฝีมือช่างปั้นจากเมืองหลวง วัดพระศรีรัตนศาสดารามในกรุงเทพมหานคร ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๑ ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จประพาสเมืองฉะเชิงเทรา และทำการบูรณะวัดขึ้นใหม่ พระองค์ได้สถาปนาชื่อใหม่ว่า "วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์" ซึ่งมีความหมายกับชื่อว่า "วัดที่ลุงของพระเจ้าแผ่นดินทรงสร้าง" และได้ชื่อมาจนถึงปัจจุบันนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น