ในที่สุดก็ได้ชื่อของงานที่จะจัดในวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ว่า บางปะกงส่งเสียงครั้งที่ ๒ ตอน บ้านเรา บ้านโพธิ์ บ้านแสนสุข ซึ่งเหล่าเยาวชนช่วยกันตั้งชื่อนี้
ในวันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ศึกษาธิการสมนึก เมธาวศิน ในฐานะประธานชมรมลำพูบ้านโพธิ์ จึงเรียกประชุมทีมงาน เพื่อชี้แจงรายละเอียดและมอบหมายภาระหน้าที่
ซึ่งในการจัดงานครั้งนี้ มีการแจกแจงวัตถุประสงค์งานการจัดงาน รายละเอียดของงานพร้อมทั้งมีการมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ
เพื่ือเน้นการอนุรักษ์แม่น้ำบางปะกงให้คงสภาพความอุดมสมบูรณ์ไว้ ให้ประชาชนที่มองข้ามความเป็นอยู่ของบรรพบุรุษที่มีแม่น้ำบางปะกงเป็นแหล่งชีวิตเลี้ยงดูบุตรหลานให้เติบโตมาจนทุกวันนี้ อย่างอยู่ดีมีสุข ซึ่งจะต่อยอดไปสู่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เพื่อย้ำให้เห็นว่า นอกจากการอนุรักษ์แล้วกินได้ ยังสามารถสร้างรายได้จากทรัพยากรแม่น้ำที่เคยมีให้ชาวลุ่มน้ำบางปะกงอย่างมากมายเหลือเฟือแม้จะลดน้อยลงจากอดีต แต่ก็ยังคงมีอยู่มากมายอย่างพอกินพอใช้ได้ในยุคปัจจุบัน
ดังนั้นนิยามของนิทรรศการที่แสดงในงานจริงเป็นนิทรรศการมีชีวิตบอกกล่าวเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่อาศัยภูมิปัญญาของเหล่าบรรพบุรุษที่ตกทอดมา ทั้งเรื่องอาหารการกินที่เป็นผลผลิตจากลำน้ำบางปะกง แม่น้ำแหล่งชีวิต ทั้งในสายน้ำ ทั้งบนบกไม่ว่าจะเป็นป่าชายเลน หรือฝั่งแม่น้ำที่อยู่สูงขึ้นมาจากป่าชายเลน นอกจากนี้ยังมีการประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับแม่น้ำ เช่นประมงพื้นบ้านที่ยังคงเหลืออยู่คู่ลำน้ำบางปะกงมา การเย็บตับจาก และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เกิดต่อเนื่องจากลำน้ำบางปะกง เช่น การเย็บตับจาก หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ มาจนทุกวันนี้
รายละเอียดของานพอเป็นสังเขปเบื้องต้นดังนี้
ดอกต้นรากสามสิบ
งานบางปะกงส่งเสียงครั้งที่ ๒
ตอนบ้านเรา บ้านโพธิ์ บ้านแสนสุข
ณ ท่าน้ำสำนักงานเทศบาลตำบลบ้านโพธิ์
วันเสาร์ที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๗.๓ๆ – ๒๐.๐๐ น
โดยมีกำหนดการดังนี้
๑๘.๐๐น. บางปะกงชวนชิม
อาหารพื้นบ้าน อาธิ แกงส้มใบหัวลิง แกงคั่วลูกจากอ่อน น้ำพริกเคียงด้วยพืชผักจากป่าชายเลน แกงบวดลูกรุ่ย รากสามสิบแช่อิ่ม มะนาวโห่แช่อิ่ม
๑๘.๓๐น. บางปะกงส่งเสียง
ผู้ส่งเสียง ๕ คน
๑.. เปี่ยมจิต เมธาวศิน
ชาวบ้านโพธิ์ที่เกิดและเติบโตมากับแม่น้ำบางปะกง
๒.. สายยัน ศรีจนพัน
ชาวประมงพื้นบ้าน ที่หาอยู่หากินกับแม่น้ำบางปะกงมากว่า ๕๐ ปี
๓.. วัธนา บุญยัง
นักเขียนเรื่องป่ากับผลงานหนังสือ ๔๓ เล่ม ผู้ที่เกิดและโตริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง
๔. ตัวแทนน้องเยาวชน **
๕.. ทัพพ์ มีทรัพย์วัฒนา
เจ้าของเพจ Adventura ผู้ทำสารคดีปลากระเบนราหู และ พิธีกรรายการท่องเที่ยว Escape ทางช่อง ๕
๑๙.๓๐ น. ละครบางปะกงสายน้ำแห่งมังกร โดย กลุ่มละครเพื่อการเรียนรู้บางเพลย์
บทกลอนปิดท้าย โดย พลอยโพยม
๒๐.๐๐ น. ปิดงาน
บางปะกงส่งเสียง จัดขึ้นเพื่อให้คนจากหลากหลายวงการได้มาบอกเล่าเรื่องราว มุมมอง ทัศนคติ ความประทับใจ และความคาดหวังของเขาเหล่านั้นต่อแม่น้ำบางปะกง เพื่อให้ผู้คนเห็นคุณค่าและเกิดแรงบันดาลใจในการส่งต่อแม่น้ำบางปะกงสายน้ำแห่งชีวิตที่อุดมสมบูรณ์และงดงามนี้ให้ลูกหลานต่อไป
นอกจากนี้ประธานชมรมได้เสนอการทอดผ้าป่าสามัคคีกับเจ้าอาวาสวัดเกาะชัน และปลูกป่าชายเลนให้วัด เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวันวิสาขาบูชา
ซึ่งชมรมนอกจากเตรียมการจัดงานบางปะกงส่งเสียงครั้งที่ ๒ แล้ว ยังต้องจัดหาพันธุ์ไม้ป่าชายเลนมาทำการเพาะชำเพื่อเตรียมไว้ก่อนการทอดผ้าป่าสามัคคีดังกล่าวด้วย
หลังจากประชุมรับทราบภาระหน้าที่ของแต่ละบุคคลแล้ว การเตรียมการก็เริ่มเลยในวันนั้น
มีการประชุมกลุ่มย่อย เมื่อแจกแจงรายละเอียดต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายมา สถานที่ประชุมคือท่าน้ำหน้าสำนักงานเทศบาลตำบลบ้านโพธิ์
เช่น สถานที่ (การปรับสถานที่ ทำความสะอาด )
อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่จัดงาน โต๊ะ เก้าอี้ เสื่ิอ เครื่องไฟฟ้า
ภาชนะใส่อาหาร โดยการขอยืมหน่วยงานต่าง ๆ และวัด
รายการอาหาร
ผู้ลงมือประกอบอาหาร มีทั้งการเชิญตัว การลงมือทำเอง การไหว้วานทำ การขอของทำเสร็จสำเร็จรูป การว่าจ้างประกอบอาหาร
คนล้างทำความสะอาดถ้วยชามช้อน แก้วน้ำ ระหว่างวันจัดงาน
ดอกต้นรากสามสิบ
สำหรับรายการอาหารแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ
๑.อาหารสำหรับรับประทานตอนกลางวันวันจัดงานสำหรับนิสิต และทีมงานที่ต้องมาเตรียมความพร้อมด้านสถานที่ อาหารหลักมื้อเย็นสำหรับทุกคนในงาน รับประทานฟรี
ได้แก่ หมูผัดพริกแกงกับถั่วฝักยาว ไข่เจียว ปลากะตักทอด ทั้งสองมือ
๒.อาหารคาวหวานในรายการ บางปะกงชวนชิม ประกอบด้วย
แกงส้มใบหัวลิง
แกงคั่วลูกจากอ่อนกีบไก่
ปลาอีกงทอด
ปลากะตักทอก
น้ำพริกกะปิ
เน้นผักที่เป็นพืชพรรณไม้ชายเลนชายทุ่ง เช่น ใบชะคราม ใบเสม็ดแดง ยอดอ่อนต้นรากสามสิบ ลูกลำพูอ่อน ยอดขลู่ ดอกจาก ลูกหัวลิง ราดด้วยกะทิ หรืออื่น ๆ (ถ้ามี) เสริมด้วยผักกระเฉดผัด ราดกะทิ
กุ้งต้มเค็ม (หวาน ) แนมกับน้ำพริกกะปิ
น้ำพริกเผา
ไข่เจียว
ลูกลำแพนกะปิหวาน
ลูกตะโก
มะขวิด
ขนมจาก
แกงบวดฝักรุ่ย
รากสามสิบแช่อิ่ม
มะนาวโห่แช่อื้ม
ไอศครีม
น้ำสมุนไพร คือ น้ำตะไคร้ น้ำฝาง น้ำดอกอัญชัน
ผลมะนาวโห่
เมื่อได้ผู้รับผิดชอบครบถ้วนทุกรายการแล้วจึงเลิกประชุมกลุ่มย่อย และทำให้ได้ทราบว่ายุงตอนพลบค่ำที่สถานที่จัดงานมีมากมาย
งานต่อไปคือการหาแหล่งวัตถุดิบประกอบรายการอาหาร เช่น ใบหัวลิง รากต้นรากสามสิบ มะนาวโห่ ฝักรุ่ยการหาผลไม้ ตะโก และมะขวิด ซึ่งมีฤดูกาลให้ผล รวมทั้งผักที่ใช้รับประทานกับน้ำพริกกะปิ น้ำพริกเผา
การลงมือทำรายการอาหารเพื่อประกอบภาพในการจัดนิทรรศการมีชีวิต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น