วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558

กิจกรรมของชาวลุ่มน้ำบางปะกง ( ค่ายเยาวชนลำพูบ้านโพธิ์ ๒ )



ในวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘

เมื่อนิสิตจากมหาวิทยาลัยบูรพาเกือบสามสิบคน และเหล่าเยาวชนชาวบ้านโพธิ์มากันพร้อมหน้ากันที่หอประชุม อาจารย๋เอ๋และคุณตั้มก็จัดกิจกรรมทำความรู้จักกัน ตามหมายกำหนดเดิมและใช้แนวคิดสลายพฤติกรรม เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีเกม ต่าง ๆ มากมาย ที่เป็นสนุกสนาน และเกิดความคุ้นเคยร่วมมือร่วมใจกันทำกิจกรรมหรือเล่นเกมได้อย่างตรงตามวัตถุประสงค์ของอาจารย์เอ๋และคุณตั้ม จนถึงเวลาพักรับประทานอาหารกลางวัน

ซึ่งเดิมช่วงเวลา ๑๐.๓๐ - ๑๒.๐๐ น. นั้นจัดเวลาสำหรับทำความรู้จักบ้านโพธิ์ แบ่งฐานเป็น ๔ ฐาน ๆ ละ ๑๕ นาที
๑. ของดีบ้านโพธิ์ โดยพี่อมร
๒. ๑๑๑ ปี บ้านโพธิ์ โดยลุงสมนึกและป้าเปี่ยมจิต
๓. หากิน หาอยู่....โดยพี่ระ (พีระศักดิ๋)
๔. มุมที่เปลี่ยนไป โดยกำนันมด (สมภพ วงศ์พยัคฆ์)
แล้วจึงพักรับประทานอาหารกลางวัน













เยาวชนที่อายุน้อยที่สุดจากอำเภอบางคล้า น้องเกื้อ ทัตติยกุล ทายาทของคุณกัญจน์ คุณกอบมณี ทัตติยกุล





ของว่างเบรคช่วงเช้า คือขนมหวานของดีอำเภอบางคล้า เป็นข้าวเหนียวหน้ากุ้ง และข้าวเหนียวสังขยา ห่อด้วยใบตองตามวิถีดั้งเดิมชาวบางคล้า และคนไทยทั่วไปในอดีต เมื่อแรกมาถึงขนมนั้นเต็มตะกร้า

พักรับประทานอาหารกลางวัน





กุ้งก้ามกรามของดีบ้านโพธิ์ โดยอาจารย์สมบัติ อาจารย์บังอร รัตนโยธิน คุณเบญจวรรณ วิชกูล  เป็นผู้กำกับการปิ้งย่าง



อาหารกลางวันคือแกงส้มผักรวมและปลานิลแดดเดียว

ในภาคบ่าย
๑๓.๐๐ -๑๔.๓๐ น. เรียนรู้บ้านโพธิ์จากลุง ป้า ป้า น้า อา และพี่ แบ่งกลุ่มออกเป็น ๓ กลุ่ม ลง ๓ พื้นที่
กลุ่มที่ ๑ ศาลเจ้าพ่อโหรา โดยป้าเปี่ยมจิต
กลุ่มที่ ๒ วัดเกาะชัน โดยลุงสนั่น
กลุ่มที่ ๓ โรงเจโรงสีล่าง โดยพี่อมร

เนื่องจากพลอยโพยมไม่สามารถ ถ่ายภาพกิจกรรมในช่วงนี้ได้ โดยเฉพาะ ศาลเจ้าพ่อโหรา สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวตลาดบ้านโพธิ์ สนามจันทร์เคารพนับถือมาเนิ้นนาน   และวัดเกาะชัน วัดที่สร้างขึ้นมาจากแรงศรัทธา ความร่วมมือร่วมใจ ของชาวพุทธ

ส่วนโรงเจโรงสีล่าง พลอยโพยมใคร่ขอกราบขอบพระคุณท่านกำนันวุฒิ ขวัญใจพานิช ที่พลอยโพยมได้โทรศัพท์ไปเรียนขออนุญาตพาเยาวชนเข้าไปเยี่ยมชมภายในโรงเจซึ่งปกติจะปิดอยู่ จะเปิดเมื่อมีงานหรือเทศกาลต่าง ๆ ท่านกำนันวุฒิ เคยเป็นผู้มารับซื้อข้าวเปลือกจากคุณยายของพลอยโพยมที่บ้านบางกรูดทุกปี จึงทำให้สามารถลัดขั้นตอน ไม่ต้องทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรและไปยื่นด้วยตนเอง ลัดขั้นตอนเพียงเรียนขออนุญาต ทางโทรศัพท์

ในวันพาเยาวชนไปจริง ๆ ท่านกำนันวุฒิ ได้สั่งการให้ผู้ดูแลสถานที่คอยต้อนรับ ให้คำอธิบายเล่าความเป็นมา และ จัดน้ำดื่มแช่เย็นเจี๊ยบไว้คอยต้อนรับ คุณพีระศักดิ์ที่อุตสาห๋ใช้รถปิิคอัพวิ่งตระเวนส่งน้ำดื่มให้ทั้งสามกลุ่ม มาที่กลุ่มโรงเจโรงสีล่างท้ายสุด จึงเป็นผู้คอยเสริฟน้ำเย็นแทนคุณลุงผู้ดูแลสถานที่ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างศาลาเจ้าแม่กวนอิมซึ่งมีผู้ใจบุญที่มากินเจที่โรงเจนี้มอบรูปปั้นเจ้าแม่กวนอืมองค์ใหญ่ให้กับโรงเจนี้ไว้

ขอเว้นการเล่ารายละเอียดของโรงเจนี้ไว้ก่อน และขอใช้ภาพที่เคยถ่ายไว้แทนกิจกรรมในวันนี้พอเป็นสังเขป





ภาพอาคารโรงเจหลังหน้าสุดเป็นอาคารชั้นเดียว มีอาคารขนาบซ้ายขวาอีก










อาคารโรงเจหลังที่อยู่ด้านหลังอาคารหลังแรกเป็นอาคารเรือนไม้สองชั้น







บริเวณชั้นบน















โรงเจโรงสีล่างนี้อยู่ริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง เมื่อหลายปีก่อนสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ออกสำรวจ ศาลเจ้าและโรงเจ ตลอดแนวแม่น้ำบางปะกง และได้ขึ้นทะเบีบนโรงเจโรงสีล่างเป็นโบราณสถานทางวัฒนธรรมของจังหวัดฉะเชิงเทรา

(เพิ่มเติมภาพ)





 ศาลเจ้าพ่อโหรา



วัดเกาะชัน




โรงเจโรงสีล่าง

เมื่อกลับมาที่หอประชุม

แต่ละกลุ่มก็จะมีตัวแทนกลุ่มหรือช่วยกันเล่าข้อมูลที่ตัวเองได้ไปเยี่ยมชมมา และทั้งอาจารย์เอ๋ และ คุณตั้ม ก็จะค่อย ๆ สอดแทรกภาวะให้เด็ก ๆ เยาวชน คิดและประเมินในสถานที่ต่าง ๆที่ตนเองได้ไปเยี่ยมชมมา

พักเบรคภาคบ่ายด้วยของดีบ้านโพธิ์


กล้วยฉาบชาวบ้านโพธิ์

หลังจากนั้น
เวลา ๑๔.๓๐  - ๑๖.๐๐ น.  นั่งเรือฟังเรื่องราววิถีประมง โดยลุงสายยัน  โดยมีรถนำพาไปส่งที่ท่าน้ำ                                                   ตำบลแสนภูดาษ แล้วล่องเรือกลับมายังท่านน้ำหน้าอำเภอบ้านโพธิ์
เวลา ๑๖.๐๐ - ๑๗.๐๐ น. สะท้อนเรื่องเล่าจาดการลงพื้นที่









ลุงสายยัน ผู้ทรนงแห่งลำน้ำบางปะกง (คนใส่เสื้อลายดอก)



การลงเรือครั้งนี้มีชูชีพให้อุ่นใจแต่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีคนนำมาใช้ป้องกันภัยกันนัก


มีการทำโป๊ะ ดักจับสัตว์น้ำที่ชายฝั่ง


จุดเล็ก ๆ ดำ ๆ เหนือยอดต้นแสม คือค้างคาวแม่ไก่ ที่มาอาศัยต้นแสม ชายฝั่งแม่น้ำบางปะกง บริเวณบ้านท่าไฟไหม้ ตำบลแสนภูดาษ




ริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง เขียวขจีไปด้วยหมู่พรรณไม้ป่าชายเลนแนวดอกสุด คือจาก ลำพู  และแสม
สายธารที่ดูเงียบสงบที่หล่อเลี้ยงเป็นแหล่งชีวิต ของพรรณไม้ สัตวฺ์น้ำ สัตว์บก และผู้คนทั้งสองริมฝั่งน้ำมาเนิ่นนาน


สะพานพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ผู้ที่ น.ม.ส.ยกย่องว่าท่านเป็นใหญ่ในภาษาไทยในสมัยรัชกาลที่ห้า
ท่านเป็นผู้แต่งแบบเรียนหลวง ๕ เล่มแรกของประเทศไทย  ( ต่อมาเป็น ๖ เล่ม ) เป็นชาวแปดริ้ว และเป็นคำขวัญวรรคที่สาม ของคำขวัญจังหวัดฉะเชิงเทรา ว่า พระยาศรีสุนทร ปราชญ์ภาษาไทย

และกลับขึ้นฝั่งที่บริเวณท่าน้ำหน้าอำเภอบ้านโพธิ๋ จับกลุ่มพูดคุยกันบริเวณที่ว่างตรงหน้าเสาธง ลุงสายยันเล่าชีวิตที่ผูกพันกับสายน้ำบางปะกงมาตั้งแต่เด็ก แม้ปัจจุบันก็ยังผูกพันชีวิตของครอบครัวและน้อง ๆ ด้วยแม่น้ำบางปะกงสายเดิม

คุณตั้มสรุปความคิดเห็นว่าเยาวชนได้พบเห็นอะไร รู้สึกอย่างไรกับแม่น้ำบางปะกง หากแม่น้ำบางปะกงเน่าเสีย ผู้คนจะเป็นอย่างไร ช่วยจุดประกายกระตุ้นให้เยาวชนตื่นตัวมีความรักและหวงแหนแม่น้ำ คิดอนุรักษ์แม่น้ำของเราไว้




เมื่อได้เพลาสายัณห๋ตะวันรอนอ่อนแสงลับลงยอดไม้ จึงแยกย้ายกันกลับที่พัก

ซึ่งท่านเจ้าอาวาสวัดเกาะชัน มีเมตตาให้คณะนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพาไปพักที่เรือนอาคารปฏิบัติธรรมของวัด และจัดอาหารเย็นรับรอง ส่วนเยาวชนบ้านโพธิ๋แยกย้ายกันกับเคหสถานบ้านเรือนแห่งตน

ขอขอบคุณภาพจากhttps://www.facebook.com/bangpakongriver

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น