วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

กิจกรรมของชาวลุ่มน้ำบางปะกง ( ค่ายเยาวชนลำพูบ้านโพธิ์ ๑ )



พลอยโพยมราวกับหายลับไปกับลำน้ำบางปะกง เนิ่นนานหลายเดือน เพราะมีภาระกิจที่สำคัญยิ่ง คือดูแลผู้มีพระคุณล้นเหลือเปรียบเหมือนเป็นพ่อคนที่สอง คือพี่ชายซึ่งบวชเป็นพระภิกษุเรื่องอาพาท เข้า ๆ ออก ๆ โรงพยาบาลและ Admit สามครั้ง จึงไม่มีเวลามาบอกเล่าเรื่องราวของแม่น้ำบางปะกง

ขอเล่ากิจกรรมย้อนหลังปันสู่ท่านผู้อ่าน




ในการประชุมทีมงานบางปะกง เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๘ อาจารย๋เอ๋ หรืออาจารย์ไพบูลย์ โสภณสุวภาพ อาจารย์ประจำสาขาดนตรีและการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และคุณตั้ม ทวีวัฒน์ กำเนิดเพ็ชร์ ได้มาร่วมประชุมด้วย ทั้งสองท่านได้เล่าเรื่องที่นำทีมอาสาสมัครกลุ่มละครเพื่อการเรียนรู้บางเพลย์ ไปแสดงละคร"บางปะกง สายน้ำแห่งมังกร " ไปร่ามแสดงที่จังหวัดเพชรบุรีซึ่งมีงาน"มหกรรมพื้นที่สร้างสรรค์เพชรบุรี...ดีจัง ไม่รู้จบ" ในระหว่างวันที่ ๒๐-๒๒ มีนาคม ๒๕๕๘ ณ ใจกลางเมืองเพชรบุรี มาเล่าสู่ และได้ให้คำแนะนำ ในการจัดหาเยาวชนมาช่วยสิืบสานงาน "บางปะกงสายน้ำแหล่งชีวิต"





ทีมงาน "บางปะกงสายน้ำแหล่งชีวิต" ได้หารืออย่างเร่งด่วน ได้เห็นพ้องที่จะจัดงานที่อำเภอบ้านโพธิ์ ในวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ซึ่งหลังจากการประชุมแล้ว ผู้เข้าร่วมประชุมต่างแยกย้ายกันไปชักชวนเยาวชนในพื้นที่อำเภอบ้านโพธิ์มาเข้าร่วมกิจกรรม

โดยอาจารย์เอ๋มีกำหนดนัดหมายว่าวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๘ อาจารย์จะมาพบปะกับเยาวชน และในวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘ จะเป็นการแบ่งกลุมเยาวชน วันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๘ เป็นวันพาเยาวชนลงพื้นที่ เพื่อเตรียมงานในวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๘
ซึ่งเน้นแนวทางในการทำงาน คือใช้การเก็บจัดเก็บข้อมูล (KM ) โดยหาวิธีการ/กลวิธีประสานเชื่อมคน มีการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์





ประเด็นการจัดงานคือ
๑. เศรษฐกิจชุมชนที่ขับเคลื่อนด้วยแม่น้ำบางปะกง มีการจัดทำแผนที่ และทำเนียบต่าง ๆ
เน้นให้ผู้คนในท้องถิ่นมองเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์แม่น้ำบางปะกง มีรายได้จากทรัพยากรธรรมชาติ อนุรักษ๋แล้วประชาชนจะมีกินมีใช้

๒. เน้นให้คนในชุมฃน เห็นความหลากหลายทางชีวภาพจาก ลำน้ำบางปะกง

โดยจะมีการจัดงานที่อำเภอบ้านโพธิ์ นำเสนอนิทรรศการมีชีวิต นำเสนอสิ่งดี ๆ ความภาคภูมิใจ ความผูกพันกับสายน้ำบางปะกง เช่น อาหารการกิน การใช้ประโบชน์จากพืชพรรณไม้ วัฒนธรรมความเชื่อต่าง ๆ นำเสนอต้นใม้ชายเลนขนาดใหญ่ ที่ได้ค้นพบมาก่อนหน้าแล้ว และให้คนในชุมชนได้ตื่นตัวว่าแม่น้ำบางปะกงมีดีกว่าที่คิด และเคยรู้จัก

การปลูกฝังเยาวชนในท้องที่จะมีทีมพี่เลี้ยงคอยดูแล ให้คำแนะนำ ตลอดการเข้าร่วมกิจกรรม

วันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๘ ชมรมลำพูบ้านโพธิ์ ประชุมเรื่องการจัดงาน วันที่ ๒๓ พ.ค. ๒๕๕๘






ทีมงานประชุมการเตรียมงานวันที่  ๒ - ๓ และ   ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๘


ในที่สุด วันที่ ๒๘ เมษายน ก็ได้เยาวชนจำนวนหนึ่งมาทำความรู้จักกับอาจารย์เอ๋

ในวันที่ ๒ - ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ก็เริ่มกิจกรรม เยาวชน ในพื้นที่ โดยมีนิสิตจากมหาวิทยาลัยบูรพามาเป็นพี่เลี้ยงเยาวชน และร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ กับเยาวชน มีการล่องเรือชมวิถีชาวน้ำของชาวอำเภอบ้านโพธิื ชมค้างคาวแม่ไก่ที่อาศัยที่ต้นแสมริมฝั่งแม่น้ำบางปะกงที่บ้านท่าไฟไฟม้ ตำบลแสนภูดาษ
สืบค้นความเป็นไปในท้องถิ่น เช่นความเป็นมาของตลาดชุมชนตัวอำเภอบ้านโพธิ์ โรงเจที่โรงสีล่าง เชิญผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนก นำพาเยาวชนและนิสิต ส่องกล้องชมนกที่อยู่ในท้องถิ่น โดยให้ความรู้และสาระต่าง ๆ ของนกที่ได้พบเห็น ซึ่งมีกำหนดการรายละเอียดดังนี้



กำหนดการค่ายเยาวชนลำพูบ้านโพธิ์ ณ หอประชุมโรงเรียนวัดสนามจันทร์
มีเป้าหมายการจัดค่ายเพื่อให้เยาวชนรู้จักและรักบ้านโพธิ์

วันเสาร์ที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘
๐๙.๐๐ - ๑๐.๓๐ น. ทำความรู้จักกัน
๑๐.๓๐ - ๑๒.๐๐ น. สลายพฤติกรรม
๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๐๐ - ๑๔.๓๐ น. เรียนรู้บ้านโพธิ์จาก ลุง ป้า น้า อา ในพื้นที่  โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มลงพื้นที่
               กลุ่มที่ ๑.ศาลเจ้าพ่อโหรา โดยป้าเปี่ยมจิต
               กลุ่มที่ ๒.วัดเกาะชัน โดยลุงสนั่น
               กลุ่มที่ ๓. โรงเจโรงสีล่าง โดยพี่อมร
๑๔.๓๐ - ๑๖.๐๐ น. นั่งเรือฟังเรื่องราววิถีประมง โดยลุงสายยัน
๑๖.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. สะท้อนเรื่องเล่าจากการลงพื้นที่

วันอาทิตย์ที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๘
๐๘.๐๐-๑๐.๐๐ น. ดูนกชมป่าชายเลน โดยผู้เชี่ยวชาญเรื่องนก คุณวิชา นรังสี ประธานมูลนิธิพื้นที่ชุ่มน้ำ                                                ไทย และพี่พีระศักดิ์
๑๐.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. ชมตลาด ฟังเรื่องเล่า ตลาดสนามจันทร๋ โดยป้าเปี่ยมจิต
๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๐๐ - ๑๕.๐๐ น. ร้อยเรียงเรื่องเล่า ระบายสีสร้างภาพ ขีดเขียนบทกวี
๑๕.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. รวบรวมเรื่องราว สร้างสรรค์เรื่องเล่า
18.00 น. วางแผนการจัดการร่วมกัน (งานวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๘ )

ผู้รับผิดชอบหลักสำหรับกิจกรรมนี้คือ ชมรมลำพูบ้านโพธิ์นั่นเอง




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น