วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สายน้าแหล่งชีวิต ๒





ขอขอบคุณภาพจากสารานุกรมวิกิพีเดีย

จากบทความสายน้ำแหล่งอารยธรรม ๑-๕ นั้นเป็นเพียงบอกเล่าเสริมข้อความ ที่ว่าน้ำเป็นสัญลักษณ์แห่งการเริ่มต้น
เป็นการเริ่มต้นสร้างบ้านแปลงเมือง มาตั้งแค่ยุคกรุงสุโชทัย จนมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นการเริ่มต้นของการเลือกสร้างราชธานีของชนชาติไทยมาแต่โบราณ เริ่มต้นนับเป็นประวัติศาสตร์ของไทยในดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งเมื่อได้มีบ้านเมือง ประเทศชาติแล้ว ก็เป็นที่เกิดของ วิถีชีวิต ภูมิปัญญา ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อความอยู่รอดของการดำรงชีพ ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒธรรม ของชนชาติ

น้ำและสายน้ำ กับวิถึชีวิตของคนไทย

ขอเริ่มต้นด้วยวัฒนธรรมประเพณีที่เกี่ยวข้องกับน้ำ

๑. พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ในพระราชพิธีนี้มีขั้นตอนที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับน้ำ คือน้ำมูรธาภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์ ซึ่งจะนำน้ำจากสถานที่ต่าง ๆ อันเป็นที่นับถือว่าศักดิ์สิทธิ์ทั้วราชอาณาจักร

ซึ่งในสมัยรัชกาลปัจจุบันมีการตักน้ำและตั้งพิธีเสกน้ำสำหรับถวายเป็นน้ำอภิเษก และน้ำสรงมูรธาภิเษก สำหรับน้ำอภิเษกนั้น ต้นตำราให้ใช้น้ำจากสถานที่ สำคัญต่าง ๆ ๑๘ แห่ง และทำพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ ณ พุทธเจดีย์ที่สำคัญตามจังหวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร แล้วส่งเข้ามาเจือปนเป็นน้ำมูรธาภิเษกให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสรง และทรงรับน้ำอภิเษกในวันพระราชพิธีราชาอภิเษกต่อไป




วัดโสธรวรารามวรวิหาร
ขอขอบคุณภาพจากเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา

พระพุทธเจดีย์ที่สำคัญที่ตั้งพิธีทำน้ำอภิเษก ทั้ง ๑๘ แห่ง คือ

จังหวัดสระบุรี ที่ตั้งพระพุทธบาท
จังหวัดพิษณุโลก ที่ตั้งวัดพระศรีมหาธาตุ
จังหวัดสุโขทัย ที่ตั้งวัดพระมหาธาตุ
จังหวัดนครปฐม ที่ตั้งพระปฐมเจดีย์
จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ตั้งวัดพระมหาธาตุ
จังหวัดลำพูน ที่ตั้งวัดพระธาตุหริภุญชัย
จังหวัดนครพนม ที่ตั้งวัดพระธาตุพนม
จังหวัดน่าน ที่ตั้งวัดพระธาตุแช่แห้ง
จังหวัดร้อยเอ็ด ที่ตั้งวัดบึงพระลานชัย
จังหวัดเพชรบุรี ที่ตั้งวัดมหาธาตุ
จังหวัดชัยนาท ที่ตั้งวัดพระบรมธาตุ
จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ตั้งวัดโสธร
จังหวัดนครราชสีมา ที่ตั้งวัดพระนารายณ์มหาราช
จังหวัดอุบลราชธานี ที่ตั้งวัดศรีทอง
จังหวัดจันทบุรี ที่ตั้งวัดพลับ
จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ตั้งวัดมหาธาตุ อำเภอไชยา
จังหวัดปัตตานี ที่ตั้งวัดตานีณรสโมสร
จังหวัดภูเก็ต ที่ตั้งวัดทอง



วัดโสธรวรารามวรวิหาร
ขอขอบคุณภาพจากเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา



น้ำสำหรับมูรธาภิเษกเป็นน้ำที่เจือด้วยน้ำจากปัญจมหานทีในอินเดีย คือ แม่น้ำคงคา ยมนา อิรวดี สรภู มหิ และจากปัญจสุทธคงคา
ในแม่น้ำสำคัญทั้ง ๕ ของไทย คือ

แม่น้ำเจ้าพระยา ตักที่ตำบลบางแก้ว จังหวัดอ่างทอง
แม่น้ำเพชรบุรี ตักที่ตำบลท่าชัย จังหวัดเพชรบุรี
แม่น้ำราชบุรี ตักที่ตำบลดาวดึงส์ จังหวัดสมุทรสงคราม
แม่น้ำป่าสัก ตักที่ตำบลท่าราบ จังหวัดสระบุรี
แม่น้ำบางปะกง ตักที่ตำบลบึงพระอาจารย์ จังหวัดนครนายก


และน้ำ ๔ สระ คือสระเกษ สระแก้ว สระคงคา สระยมนา ในจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเคยใช้เป็นน้ำสรงมาแต่โบราณ



 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับ นำพระมูรธาภิเษก
 ขอขอบคุณภาพจาก สารานุกรม วิกิพีเดีย




พิธีในเบื้องต้น
มีการตั้งน้ำวงด้ายจุดเทียนชัยละเจริญพระพุทธมนต์ในการพระบรมราชาภิเษก

เมื่อนำน้ำศักดิ์สิทธิ์มารวมกันแล้ว จะทำพิธีตั้งน้ำวงด้วยสายสิญจ์ โดยมีพระสงฆ์ทำพิธีสวดมนต์และประกาศต่อเทพารักษ์ เป็นเวลา สามวัน ในวันที่สี่พระมหากษัตริย์จะทรงาสรงพระองค์ด้วยน้ำมูรธาภิเษก ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าสู่ความเป็นกษัตริย์



ขอขอบคุณภาพจากhttp://download.clib.psu.ac.th/datawebclib/exhonline/coronation/page2E.html


พิธีบรมราชาภิเษก
เริ่มด้วยการสรงพระมูรธาภิเษกจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพร
พระราชอาสน์ ราชบัณฑิตและพราหมณ์นั่งประจำ ๘ ทิศ กล่าวคำถวายพระพรชัยมงคล ถวายดินแดนแต่ละทิศให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงคุ้มครอง (ในรัชกาลนี้ได้เปลี่ยนจากราชบัณฑิตเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน)




ขอขอบคุณภาพจากhttp://download.clib.psu.ac.th/datawebclib/exhonline/coronation/page2E.html


ในวันที่ ๕ พฤษภาคม อันเป็นวันประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสรงมูรธาภิเษก แล้วทรงเครื่องต้นเสด็จออกประทับ เหนือพระที่นั่งอัฐทิศภายใต้สตปฎลเศวตฉัตร (ฉัตร ๗ ชั้น)
สมาชิกรัฐสภาถวายน้ำอภิเษก และพราหมณ์ทำพิธีพวายน้ำเทพมนต์เวียนไปครบ ๘ ทิศ
เจ้าพระยาศรีธรรมธิเบศ (จิตต์ ณ สงขลา)ประธานวุฒิสมาชิกสภา ถวายพระพรเป็นภาษามคธ และ
นายเพียร ราชธรรมนิเทศ ประธานสภาผู้แทนราษฎรถวายพระพรเป็นภาษาไทย
พระราชครูวามเทพมุนี ถวายนพปฎลมหาเศวตฉัตร (ฉัตร ๙ ชั้น) แล้วเสด็จพระราชดำเนินสู่พระที่นั่งภัทรบิฐ
พราหมณ์ร่ายเวทเปิดศิวาลัยไกลาลทูลเกล้าฯ ถวายพระสุพรรณบัฎ เครื่องราชกกุธภัณฑ์ เครื่องราชูปโภค และพระแสงอัษฎาวุธ ด้วยภาษามคธ

สำหรับพระสุพรรณบัฎ ได้จารึกพระปรมาภิไธยว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี
จักรีนฤบดินทร์ สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร"




พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับพระแสงอัษฎาวุธจากพระมหาราชครู
ขอขอบคุณภาพจากสารานุกรมวิกิพีเดีย


เมื่อทูลเกล้าฯ ถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ต่างๆ แล้ว พระราชครูวามเทพมุนี ถวายพระพรชัยมงคลด้วยภาษามคธ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชโองการตอบ พระราชอารักษาแต่ปวงชนชาวไทย ด้วยภาษาไทยว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"

เมื่อพระราชครูวามเทพมุนีรับพระราชโองการด้วยภาษามคธและภาษาไทยแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรางหลั่งน้ำทักษิโณทก ตั้งพระราชสัตยาธิษฐาน จะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจปกครองราชอาณาจักรไทยโดยทศพิธราชธรรมจริยา

จากนั้นทรงเปลื้องพระมหาพิชัยมงกุฎ พระธำมรงค์รัตนวราวุธ และพระธำมรงค์วิเชียรจินดา จมื่นสิริวังรัตน (เฉลิม คชาชีวะ)เลขาธิการพระราชวัง ทูลเกล้าฯ ถวายดอกพิกุลทอง พิกุลเงิน ทรงโปรยพระราชทานแก่พราหมณ์ แล้วเสด็จฯ ออกจากพระที่นั่งไพศาลทักษิณ สู่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมแด่พระสงฆ์ ๘๐ รูป พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา สมเด็จพระสังฆราช
ถวายอดิเรกเป็นปฐม สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ถวายพระพรลา แล้วเสด็จขึ้น สมเด็จพระสังฆราชดับเทียนชัย

ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://download.clib.psu.ac.th/datawebclib/exhonline/coronation/page2E.html
หนังสือวิถึชีวิตคนไทยกับน้ำ เรียบเรียงโดยฐาพร

(ไปปฏิบัตืธรรมกลับวันที่ 26 พ.ย. คะ)

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สายน้ำแหล่งอารยธรรม ๕


กรุงเทพมหานคร




ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.lanna108.com/article/ภาพ-ชุดนางรำ-โขนโบราณ

ในสมัยอาณาจักรอยุธยา กรุงเทพมหานครยังเป็นเพียงสถานีการค้าขนาดเล็กอยู่ที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมา มีขนาดเพิ่มขึ้นและเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงสองแห่ง

คือ กรุงธนบุรีในปี พ.ศ. ๒๓๑๑
และกรุงรัตนโกสินทร์ใน พ.ศ. ๒๓๒๕



ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.dek-d.com/board/view/1865272/


พื้นที่บริเวณกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน เดิมเป็นที่ตั้งของเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทร ชาวต่างชาติเรียกกันว่า "บางกอก" มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

มีความสำคัญเนื่องจากเป็นเส้นทางออกสู่ทะเลและติดต่อค้าขายกับอาณาจักรต่าง ๆ เป็นเมืองหน้าด่านขนอน คอยดูแลเก็บภาษีกับเรือสินค้าทุกลำที่ผ่านเข้าออก

ส่วนบริเวณปากน้ำตรงอ่าวไทย เรียกกันว่า "นิวอัมสเตอร์ดัม" มีชุมชนใหญ่และโกดังของชาวต่างประเทศไว้สำหรับพักสินค้า ปัจจุบันคือพื้นที่บริเวณอำเภอพระประแดง





ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.dek-d.com/board/view/1865272/




ที่มาของคำว่า "บางกอก" นั้น มีข้อสันนิษฐานว่าอาจมาจากการที่แม่น้ำเจ้าพระยาคดเคี้ยวไปมา บางแห่งมีสภาพเป็นเกาะเป็นโคก จึงเรียกกันว่า "บางเกาะ" หรือ "บางโคก"

หรือไม่ก็เป็นเพราะบริเวณนี้มีต้นมะกอกอยู่มาก จึงเรียกว่า "บางมะกอก" โดยคำว่า "บางมะกอก" มาจากวัดอรุณ ซึ่งเป็นชื่อเดิมของวัดดังกล่าว และต่อมาต่อมากร่อนคำลงจึงเหลือแต่คำว่าบางกอก


ครั้นสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ในวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ขึ้นเสวยราชสมบัติ ทรงพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี

มีพระราชดำริว่า ฟากตะวันออกของกรุงธนบุรีมีชัยภูมิดีกว่าตะวันตก เพราะมีลำน้ำเป็นขอบเขตอยู่กว่าครึ่ง หากข้าศึกยกมาติดถึงชานพระนคร ก็จะต่อสู้ป้องกันได้ง่ายกว่าอยู่ข้างตะวันตก

จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาให้เป็นราชธานีแห่งใหม่ โดยสืบทอดศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมจากพระราชวังหลวงของกรุงศรีอยุธยา



ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.dek-d.com/board/view/1865272/



โดยนามเดิมที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ พระราชทานในตอนแรกนั้น ใช้ชื่อว่า “กรุงรัตนโกสินทร์อินท์อโยธยา”
ต่อมาในในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแก้นามพระนครเป็น “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินท์ มหินทอยุธยา”
จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนคำว่า บวร เป็น อมร เปลี่ยนคำว่า มหินทอยุธยา โดยวิธีการสนธิศัพท์เป็น มหินทรายุธยา และเติมสร้อยนามต่อ ทั้งเปลี่ยนการสะกดคำ สินท์ เป็น สินทร์ จนเป็นที่มาของชื่อเต็มของกรุงรัตนโกสินทร์ ข้างต้น


กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์




ขอขอบคุณภาพจากsanamluang2008.blogspot.com


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

http://th.wikipedia.org/wiki/กรุงเทพมหานคร
http://www.trueplookpanya.com

วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สายน้ำแหล่งอารยธรรม ๔




ขอขอบคุณภาพจากhttps://www.gotoknow.org/posts/178265

ความเป็นมาของเมืองธนบุรี

เมืองธนบุรี หรือ บางกอกในอดีต คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรีในปัจจุบัน ซึ่งเคยเป็นแผ่นดินเดียวกันมาก่อน
เป็นที่ราบสามเหลี่ยมปากน้ำเจ้าพระยาที่อุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำเจ้าพระยา และลำคลองต่างๆ ที่กระจายอยู่ทั่วบริเวณ
ดังนั้นจึงมีข้อสันนิษฐานว่าคำว่า “บางกอก” นั้นอาจจะเพี้ยนมาจากเดิมว่า “บางเกาะ” ด้วยความที่พื้นที่ดังกล่าวมีลักษณะเป็นเกาะเล็กเกาะน้อยจากแม่น้ำลำคลองต่างๆ

เดิมแม่น้ำเจ้าพระยาไหลคดเคี้ยวมากตั้งแต่นนทบุรี ลงมายังพระนคร

กล่าวคือ แม่น้ำเจ้าพระยาจะไหลจากทางเหนือ ผ่านเขตเมืองนนทบุรีลงมาถึงสะพานปิ่นเกล้า แล้วไหลวกไปทางตะวันตกเข้ามาทางคลองบางกอกน้อย อ้อมผ่านตลิ่งชัน บางระมาดแล้ววกกลับเข้าคลองบางกอกใหญ่ (หรือคลองบางหลวง) แล้วไหลลงทางใต้ไปออกทะเลอ่าวไทย เป็นลักษณะรูปเกือกม้า
ซึ่งความคดเคี้ยวของแม่น้ำนี้ ทำให้สองฟากฝั่งของแม่น้ำกลายเป็นที่ดอนซึ่งเหมาะแก่การตั้งบ้านเรือน และกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ซึ่งเรียกกันภายหลังว่า “ย่านบางกอก” แต่ในเวลาเดียวกัน ก็ทำให้เสียเวลาในการเดินทางไปมา ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับหัวเมืองชายทะเลตะวันออก




ขอขอบคุณภาพจากhttps://www.gotoknow.org/posts/178265



ดังนั้นในสมัยของสมเด็จพระไชยราชาธิราช (พ.ศ. ๒๐๗๗-๒๐๘๙ ) จึงโปรดให้ขุดคลองลัดบางกอกขึ้น เพื่อเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม ที่ไหลอ้อมเข้าไปทางคลองบางกอกน้อย ออกคลองบางกอกใหญ่ (คือขุดตั้งแต่หน้าสถานีรถไฟบางกอกน้อย จนถึงหน้าวัดอรุณราชวรารามในปัจจุบัน)
การขุดคลองลัดดังกล่าวทำให้กระแสน้ำเปลี่ยนทางเดิน น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาส่วนใหญ่ จึงไหลไปทางคลองขุดใหม่ และเซาะตลิ่งสองข้างจนกว้างขึ้น กลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาใหม่ (บริเวณที่ผ่านหน้าโรงพยาบาลศิริราช และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทุกวันนี้)



ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.infoforthai.com/forum/topic/8561

ส่วนลำน้ำเดิมก็ค่อยๆ ตื้นเขินขึ้นลดขนาดลงเป็นลำคลอง ได้แก่ คลองบางกอกน้อย คลองชักพระ (คลองตลิ่งชัน) คลองบางขุนศรี คลองบางเชือกหนัง คลองวัดประดู่ และคลองบางกอกใหญ่ ดังที่เห็นในปัจจุบัน




คลองบางกอกน้อย
ขอขอบคุณข้อมูลจากhttps://sites.google.com/site/taesunday/prawati-khlxng-bangkxknxy


เมื่อขุดคลองลัดสำเร็จ เมืองบางกอกหรือเมืองธนบุรีจึงถือกำเนิดขึ้น ทางฝั่งตะวันตก หัวมุมคลองบางกอกใหญ่ กลายเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ และได้รับการยกฐานะขึ้น เป็นเมืองหน้าด่านทางทะเล ทำหน้าที่ป้องกันศัตรูที่จะเข้ามาทางใต้ของกรุงศรีอยุธยา พร้อมทั้งตรวจตราจัดเก็บภาษีสินค้าที่ผ่านเข้าออก

โดยปรากฏชื่อครั้งแรกในพระราชพงศาวดาร ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ (พ.ศ. ๒๐๙๑ - ๒๑๑๑ ) ว่า
“เมืองธนบุรีศรีมหาสมุทร” แต่โดยทั่วไปนิยมเรียกกันสั้นๆ เพียง “ธนบุรี”

ส่วนชื่อ “เมืองบางกอก” นั้นคงเป็นชื่อสามัญ ที่ชาวบ้านและชาวต่างประเทศนิยมเรียก ดังปรากฏชื่อบางกอกในแผนที่และเอกสารของชาวต่างชาติ



ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://suppanutclub.wordpress.com/2013/09/22//ภูมิหลังทางประวัติศารต-2/

วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สายน้ำแหล่งอารยธรรม ๓

กรุงธนบุรี


ขอขอบคุณภาพจากhttp://suppanutclub.wordpress.com/2013/09/22/การสถาปณากรุงธนบุรีเป็/



กรุงธนบุรี

เมื่อ เจ้าตากทรงขับไล่พม่าออกไปจากกรุงศรีอยุธยาแล้ว ก็ทรงรวบรวมผู้คนและทรัพย์สมบัติซึ่งสุกี้พระนายกองยังมิได้ส่งไปยังเมือง พม่า และได้นำมาเก็บรักษาไว้ในค่ายนั้น มีแม่ทัพนายกอง ข้าราชการ และเจ้านายหลายพระองค์ในพระราชวงศ์แห่งกรุงศรีอยุธยาตกค้างถูกกุมขังอยู่ใน ค่าย เจ้าตากได้ประทานอุปการะเลี้ยงดูตามสมควร ส่วนเมืองลพบุรีก็ยอมอ่อนน้อม ปรากฏว่าที่ลพบุรี มีพระบรมวงศานุวงศ์ของพระเจ้าเอกทัศลี้ภัยมาพำนักอยู่มาก

เจ้าตากทรงสั่งให้คนไปอัญเชิญไว้ยังเมืองธนบุรี และกระทำการขุดพระบรมศพของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศขึ้นมาถวายพระเพลิงตามโบราณ ราชประเพณี ต่อจากนั้นเจ้าตากได้เสด็จออกตรวจตราดูความพินาศเสีย
หายของ ปราสาทราชมณเฑียรและวัดวาอารามทั้งปวงแล้ว ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อพยพผู้คนเคลื่อนย้ายลงมาทางใต้ ตั้งราชธานีขึ้นใหม่ที่เมืองธนบุรี เรียกนามราชธานีนี้ว่า กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร

เหตุผลที่ทรงเลือกเมืองธนบุรีเป็นราชธานี การที่เจ้าตากได้ทรงเลือกเมืองธนบุรีเป็นที่ตั้งราชธานีแห่งใหม่ มีเหตุผลสำคัญ ดังนี้

๑. กรุงธนบุรีตั้งอยู่ที่น้ำลึกใกล้ทะเล หากข้าศึกยกมาทางบก โดยไม่มีทัพเรือ เป็นกำลังสนับสนุน
ด้วยแล้วก็ยากที่จะตีได้สำเร็จ และในกรณีที่ข้าศึกมีกำลังมากกว่าที่จะรักษากรุงไว้ได้ ก็อาจย้ายไป
ตั้งมั่นที่จันทบุรี โดยทางเรือได้สะดวก

๒. กรุงธนบุรีมีป้อมปราการอยู่ทั้ง ๒ ฟากแม่น้ำ คือ ป้อมวิชัยประสิทธิ์และป้อมวิไชเยนทร์ที่สร้างไว้
ตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หลงเหลืออยู่พอที่ใช้ป้องกันข้าศึกที่จะเข้ามา
รุกรานโดยยกกำลังมาทางเรือได้บ้าง




ขอขอบคุณภาพจากhttp://siwakon19.wordpress.com/tag/การสถาปณากรุงธนบุรีเป็/


๓. กรุงธนบุรีตั้งอยู่บนเกาะเหมือนกรุงศรีอยุธยา และยังมีสภาพเป็นที่ลุ่ม มีบึงใหญ่น้อยอยู่ทั่วไป ซึ่ง
จะเป็นเครื่องกีดขวางข้าศึกมิให้โอบล้อมพระนครได้ง่าย

๔. กรุงธนบุรีตั้งปิดปากน้ำระหว่างเส้นทางที่หัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวงจะได้ไปมาค้าขายติดต่อกับ
ต่างประเทศ จึงสามารถกีดกันมิให้หัวเมืองฝ่ายเหนือที่ตั้งตัวเป็นใหญ่ ซื้อหาเครื่องศัสตราวุธ
ยุทธภัณฑ์จากต่างประเทศได้

๕. กรุงธนบุรีอยู่ใกล้ทะเล สะดวกแก่การไปมาค้าขายและติดต่อกับต่างประเทศ เรือสินค้าสามารถเข้า
จอดเทียบท่าได้โดยไม่ต้องขนถ่ายสินค้าลงเรือเล็กอย่างสมัยกรุงศรีอยุธยาทำให้ประหยัดเวลา
และค่าใช้จ่ายได้มาก



ขอขอบคุณภาพจากhttp://swantunbomb.wordpress.com/2013/08/30/สังคมและวัฒนธรรมสมัยกร/


๖. กรุงธนบุรีเป็นเมืองเก่า มีวัดจำนวนมากที่สร้างไว้แต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เพียงแต่บูรณะและ
ปฏิสังขรณ์บ้างเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องสร้างวัดขึ้นใหม่ทั้งหมด

๗. กรุงธนบุรี มีดินดี มีคลองหลายสาย มีน้ำใช้ตลอดปีเหมาะแก่การทำนา ปลูกข้าว ทำสวนผัก และ
ทำไร่ผลไม้

ด้วยเหตุนี้ เจ้าตากจึงทรงพาผู้คนมาตั้งเมืองหลวงใหม่ที่ธนบุรี และได้ทรงทำพิธีปราบดาภิเษก ประกาศพระเกียรติยศขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ ในปี พ.ศ. 2310 ทรงครอบครองกรุงธนบุรีสืบมา มีพระนามอย่างเป็นทางการว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช



ขอขอบคุณภาพจากhttp://suppanutclub.wordpress.com/2013/09/22/สาเหตุที่ทรงเลือกกรุงธ/




ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://suppanutclub.wordpress.com/2013/09/22/การสถาปณากรุงธนบุรีเป็/

http://www.trueplookpanya.com



วันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สายน้ำแหล่งอารยธรรม ๒


กรุงศรีอยุธยา





ขอขอบคุณภาพจากhttp://haab.catholic.or.th/history/history01/protuget.html

กรุงศรีอยุธยาเป็น อาณาจักรของไทยในอดีตมีหลักฐานของการเป็นเมืองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘ โดยมีร่องรอยของที่ตั้งเมือง โบราณสถาน โบราณวัตถุและเรื่องราวเหตุการณ์ในลักษณะตำนาน พงศาวดารไปจนถึงศิลาจารึก ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานร่วมสมัยที่ใกล้เคียงเหตุการณ์มากที่สุด ว่า ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาในพ.ศ. ๑๘๙๓ นั้น ได้มีบ้านเมืองตั้งอยู่ก่อนแล้วมีชื่อเรียกว่าเมืองอโยธยา หรืออโยธยาศรีรามเทพนครหรือเมืองพระราม
มีที่ตั้งอยู่บริเวณด้านตะวันออกของเกาะเมืองอยุธยาเป็นเมืองที่มีความเจริญทางการเมืองการปกครองและมีวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองแห่งหนึ่ง


ขอขอบคุณภาพจากhttp://shalawan.www2.50megs.com/our-ayuttaya-2.htm

การสถาปนากรุงศรีอยุธยา

ชาวไทยเริ่มตั้งถิ่นฐานบริเวณตอนกลางและตอนล่างของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๘ แล้ว มีเมืองสำคัญหลายเมือง อาทิละโว้,อยุธยา,สุพรรณบุรี,นครปฐม เป็นต้น ต่อมาราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ อาณาจักรขอม และสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง

พระเจ้าอู่ทองเสด็จมาสร้างกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๓ ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าพระองค์มีเชื้อสายมาจากราชวงศ์ใด และมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่เมืองใด

แต่มีข้อสันนิษฐานว่า พระเจ้าอู่ทองสืบเชื้อสายมาจากทางเหนือ ตอนบนของแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อนที่จะอพยพมาสร้างกรุงศรีอยุธยา

ส่วนความคิดเห็นหนึ่งก็ว่า พระเจ้าอู่ทองอยู่ที่เมืองอโยธยา และทรงอพยพไพร่พลหนีโรคระบาดข้ามฝั่งแม่น้ำมาสร้างกรุงศรีอยุธยา

นอกจากนี้ยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างออกไปว่า พระเจ้าอู่ทองซึ่งเป็นฝ่ายละโว้ได้อภิเษกสมรสกับพระราชธิดาของกษัตริย์แห่งสุพรรณภูมิ เพื่อจุดมุ่งหมายทางการเมืองที่จะสร้างความมั่นคงให้กับอาณาจักร
ต่อมาเมื่อเมืองอู่ทองเกิดโรคระบาด เกิดภัยธรรมชาติ ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก พระเจ้าอู่ทองจึงอพยพผู้คนไปยังทำเลที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ ในระยะแรกได้ตั้งพระตำหนักอยู่ที่เวียงเหล็ก
ทรงใช้เวลาในการสร้างพระนครถึง ๓ ปี

ทรงสร้างเมืองใหม่ที่บริเวณหนองโสนหรือบึงพระราม ในบริเวณซึ่งเป็นที่ตั้งของ วัดพระศรีสรรเพชญ์ ในปัจจุบัน ส่วนเวียงเหล็กนั้นได้สถาปนาเป็นวัดพุทไธศวรรย์ อันเป็นอนุสรณ์สถานแห่งแรกของการสร้างราชธานี

แล้วสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีในปี พ.ศ.๑๘๙๓ มีชื่อตามพงศาวดารว่า

" กรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุธยามหาดิลกภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์อุดมพระราชนิเวศน์มหาสถาน "

พระเจ้าอู่ทองเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์ต้นราชวงศ์อู่ทอง ทรงพระนามว่า "สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ "


ขอขอบคุณภาพจากhttps://sites.google.com/site/xyuthyakrungkea/pra-wati-x-yuth

บริเวณที่ตั้งเมืองนั้นมีแม่น้ำล้อมรอบถึง ๓ สาย
อันได้แก่

แม่น้ำลพบุรีทางทิศเหนือ
แม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันตก
และทิศใต้, แม่น้ำป่าสักทางทิศตะวันออก

แม่น้ำทั้ง ๓ สายนี้ ไหลมาบรรจบกันล้อมรอบราชธานี ทำให้กรุงศรีอยุธยามีลักษณะเป็นเกาะที่มีสัณฐานคล้ายเรือสำเภา คนทั่วไปจึงเรียกอยุธยาว่า "เกาะเมือง"

เดิมทีบริเวณนี้ไม่ได้มีสภาพเป็นเกาะ ต่อมาพระองค์ทรงดำริให้ขุดคูเชื่อมแม่น้ำทั้ง ๓ สาย กรุงศรีอยุธยาจึงมีน้ำเป็นปราการธรรมชาติให้ปลอดภัยจากข้าศึก

นอกจากนี้ที่ตั้งกรุงศรีอยุธยายังห่างจากปากแม่น้ำไม่มาก เมื่อเทียบกับเมืองใหญ่ ๆ อีกหลายเมืองในบริเวณเดียวกัน
ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าสู่ภูมิภาคอื่นๆในอาณาจักร รวมทั้งอาณาจักรใกล้เคียงอีกด้วย

อาณาจักรอยุธยาสถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๓ และดำรงความเป็นอาณาจักรไว้ได้นานถึง ๔๑๗ ปี

อารยธรรมและความเจริญในดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมานานหลายร้อยปีแล้ว ทั้งนี้จากการศึกษาค้นคว้าหลักฐานทางด้านโบราณสถาน โบราณวัตถุ ตำนานต่างๆ และเอกสารของชาวต่างชาติ ทำให้เชื่อกันว่ากลุ่มชนชาวไทยได้สร้างสรรค์ความเจริญและมีพัฒนาการทางอารยธรรม อยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง เป็นเวลานานหลายร้อยปี ก่อนสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสถาปนาอาณาจักรอยุธยา สันนิษฐานว่าก่อนปี พ.ศ. ๑๘๙๓

ศูนย์กลางทางด้านวัฒนธรรมในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างคงจะอยู่ที่ลพบุรี
ส่วนศูนย์กลางทางด้านการเมืองการปกครองนั้นอนุมานว่าอยู่ระหว่างลพบุรีกับสุพรรณบุรี

ทัในเวลานั้นกรุงสุโขทัยเริ่มอ่อนแอลงทำให้กลุ่มคนไทยในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ที่มีกำลังเข้มแข็งตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนขึ้นส่วนพวกที่อ่อนแอ ที่ไม่สามารถรวมกำลังเป็นปึกแผ่นก็จะเข้ามาอยู่ในความปกครองของคนกลุ่มอื่นผู้นำกลุ่มคนไทยที่มีกำลังเข้มแข็งกว่าสามารถตั้งตนเป็นใหญ่ในบริเวณภาคกลาง ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและสถาปนาราชธานีคือ “กรุงศรีอยุธยา” ขึ้นในปี พ.ศ. ๑๘๙๓ ทรงพระนามว่า “สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)”

ต่อมาศูนย์กลางทั้งทางด้านการปกครอง วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ จึงได้ย้ายมาอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาและเป็นที่รวมของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และอารยธรรมที่สำคัญของไทยที่ตกทอดมาถึงยุคปัจจุบัน



ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.manager.co.th/indochina/viewnews.aspx?NewsID=9560000008955

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/1752-00/
http://www.comingthailand.com/ayutthaya/wat-phutthaisawan.html
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/nakhonsithamrat/tawat_k/laktanprawattisat/3page01.htm
http://www.varunee-raikhing.com/

วันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สายน้ำแหล่งอารยธรรม ๑


วิถีคนไทยกับน้ำ

การเริ่มต้นชีวิต



ขอขอบคูณภาพจากhttp://punnathon.blogspot.com/2010/05/blog-post.html


ราชธานีแรกของประวัติศาสตร์ชาติไทยคือกรุงสุโขทัย
อาณาจักรสุโขทัย นับเป็นอาณาจักรของคนไทยที่ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นราชธานีในปี พ.ศ. ๑๗๖๒


การก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย เท่าที่ปรากฏหลักฐาน แว่นแคว้นสุโขทัยได้ก่อตั้งขึ้นโดยศูนย์กลางอำนาจของสุโขทัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำยม และลุ่มแม่น้ำน่าน
อันเป็นที่ตั้งของเมืองศรีสัชนาลัย สุโขทัยในลุ่มแม่น้ำยม
สระหลวง และสองแควในลุ่มแม่น้ำน่าน ต่อมาจึงได้ขยายตัวไปทางด้านตะวันตกบริเวณลุ่มแม่น้ำปิง และทิศตะวันออกบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสัก

ก่อนหน้าที่จะมีการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้นมา ได้มีเมืองสุโขทัยที่มีความเก่าแก่ เจริญรุ่งเรืองมาก่อน ผลจากการตีความในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๒ ระบุว่าเดิมเมืองสุโขทัยมีผู้นำคนไทยชื่อพ่อขุนศรีนาวนำถุม เป็นเจ้าเมืองปกครองอยู่

ภายหลังเมื่อพ่อขุนศรีนาวนำถุมสิ้นพระชนม์แล้ว ขอมสมาดโขลญลำพง* เป็นนายทหารขอมที่เป็นใหญ่ ได้นำกำลังทหารเข้ายึดเมืองสุโขทัยไว้ได้ ทางฝ่ายไทยได้มีการเตรียมการเพื่อยึดเมืองสุโขทัยกลับคืนจากขอมสมาดโขลญลำพง โดยมีผู้นำไทย ๒ คน ได้แก่

พ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง และ
พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด

พ่อขุนทั้งสอง เป็นสหายสนิทกัน และมีความสัมพันธ์กันทางเครือญาติ ร่วมกันนำกำลังเข้าชิงเมืองสุโขทัยกลับคืนมา เมื่อยึดเมืองสุโขทัยจากขอมได้เรียบร้อยแล้ว

พ่อขุนผาเมืองได้ยกทัพออกจากเมืองสุโขทัย เพื่อให้กองทัพของพ่อขุนบางกลางหาวเข้าสู่เมืองสุโขทัย
พร้อมกันนั้น พ่อขุนผาเมืองทรงสถาปนาพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นกษัตริย์ครองเมืองสุโขทัย แล้วถวายพระนามของพระองค์ที่ได้รับจากกษัตริย์ขอม คือ ศรีอินทรบดินทราทิตย์ ให้เป็นเกียรติแก่พ่อขุนบางกลางหาว
พร้อมทั้งมอบพระขรรค์ไชยศรี แต่พ่อขุนบางกลางหาว ทรงใช้พระนามใหม่ว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ซึ่งเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง ของอาณาจักรสุโขทัย นับตั้งแต่พ.ศ. ๑๗๖๒ เป็นต้นมา

อาณาจักรสุโขทัยได้กลายเป็นศูนย์กลางที่มี อาณาเขตกว้างขวางมีหัวเมืองต่าง ๆ ที่คนไทยรวมตัวกันอยู่เป็นส่วนหนึ่งในอาณาจักรที่ตั้งขึ้นใหม่


(พ่อขุนผาเมือง ปรากฏความในจารึกว่ากษัตริย์ขอมในสมัยนั้น ซึ่งสันนิษฐานว่า คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ยกราชธิดาคือ ”นางสุขรมหาเทวี” ให้เพื่อสร้างสัมพันธไมตรีพร้อมทั้งพระราชทานเครื่องราชูปโภค คือพระขรรค์ชัยศรี และพระนามเฉลิมพระเกียรติว่า ศรีอินทราทิตย์ หรือ ศรีอินทรบดินทราทิตย์ )


( ขอมสมาดโขญลำพง ตีความหมายไว้ว่า ขอม = ชาติขอม, โขลญ = ตำแหน่ง , ลำพง = ชื่อเมือง , สมาด = กล้าหาญ รวมความคือ เจ้าเมืองลำพงเป็นชาวขอมที่มีความสามารถ แต่ก็ไม่ทราบอีกเช่นกันว่าชื่ออะไรกันแน่ )



ขอขอบคุณภาพจากhttp://pantip.com/topic/31499474





ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.bloggang.com/data/mystorymontonmai/picture/1226471623.jpg

ปัจจัยที่เอื้อต่อการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย

๑. ขอมเสื่อมอำนาจลง หลังจากพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (ครองราชย์เมื่อ พ.ศ. ๑๗๒๔ - ๑๗๖๑ ) สิ้นพระชนม์
พระเจ้าอินทรวรมันที่ ๒ ปกครองต่อมาอ่อนแอ ขาดความเข้มแข็ง จึงเกิดช่องว่างของอำนาจทางการเมืองขึ้นในดินแดนแถบนี้ เปิดโอกาสให้บรรดาหัวเมืองต่าง ๆ เติบโตและตั้งตนเป็นอิสระ

๒. ความสามารถของผู้นำและความสามัคคีของคนไทย ได้แก่ พ่อขุนผาเมืองเจ้าเมืองราดและพ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง ได้ร่วมกันผนึกกำลังต่อสู้นายทหารขอม จนได้รับชัยชนะ สามารถประกาศตนเป็นอิสระจากอิทธิพลของขอม

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัย และมีพระมหากษัตริย์ปกครองสืบต่อกันมา ๙ พระองค์



ขอขอบคุณภาพจากhttp://pawi2845.wordpress.com/ส30207/อาณาจักรสุโขทัย/ความเสื่อมของอาณาจักรส/

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

http://www.muslimthaipost.com/main/content.php?page=sub&category=104&id=9591
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/malaiwan_c/historym1/unit03.html



สภาพภูทิศาสตร์ปัจจุบันของจังหวัดสุโขทัย



ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.aecnews.co.th/travel/read/401

จังหวัดสุโขทัยมี พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม โดยตอนเหนือเป็นที่ราบสูงมีภูเขาเป็นพืดยาวมาทางทิศตะวันตก พื้นที่ตอนกลางเป็นที่ราบและตอนใต้เป็นที่ราบสูง มีแม่น้ำไหลผ่านจากเหนือลงใต้ โดยผ่านพื้นที่อำเภอศรีสัชนาลัย สวรรคโลก ศรีสำโรง เมืองสุโขทัย และอำเภอ กงไกรลาศ เป็นระยะทางประมาณ ๑๗๐ กิโลเมตร

กล่าวโดยรวมการตั้งราชธานีกรุงสุโขทัยเลือกตั้งบนที่ราบลุ่ม แม่น้ำที่ไหลผ่านจากเหนือลงใต้ก็คือแม่น่ำยมนั่นเอง

แม่น้ำยม เกิดจากสันเขาผีปันน้ำ อำเภอปง จังหวัดพะเยา ไหลผ่านจังหวัดแพร่ และจังหวัดสุโขทัย จากทางเหนือสู่ทางใต้ ผ่านพื้นที่อำเภอศรีสัชนาลัย อำเภอสวรรคโลก อำเภอศรีสำโรง อำเภอเมืองสุโขทัย อำเภอกงไกรลาศ เป็นระยะทางประมาณ  ๑๗๐  กิโลเมตร ไปบรรจบแม่น้ำน่านที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์

แม่น้ำยมเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญที่สุดของจังหวัดสุโขทัย เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของจังหวัด ราษฎรส่วนใหญ่ได้อาศัยน้ำจากแม่น้ำยมในการทำการเกษตรและการอุปโภค บริโภค

นอกจากแม่น้ำยมแล้ว อาณาจักรสุโขทัยยังมีแหล่งน้ำธรรมชาติอีกคือ+

ห้วยแม่มอก เกิดจากเทือกเขาในเขตจังหวัดลำปาง ไหลจากทิศตะวันตกไปตะวันออกผ่านอำเภอทุ่งเสลี่ยม อำเภอสวรรคโลก อำเภอศรีสำโรง และเข้าสู่อำเภอเมืองสุโขทัย จะถูกกลืนไปกับลักษณะพื้นที่ราบลุ่มขนาดใหญ่ เป็นระยะทางประมาณ ๙๐ กิโลเมตร

ห้วยแม่ลำพัน เกิดจากเทือกเขาในเขตอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ไหลจากทางทิศตะวันตกไปตะวันออก ผ่านอำเภอบ้านด่านลานหอย แล้วมาบรรจบกับแม่น้ำยมที่อำเภอเมืองสุโขทัย เป็นระยะทางประมาณ ๑๐๐ กิโลเมตร

ห้วยแม่ท่าแพ เกิดจากเทือกเขาในเขตอำเภอศรีสัชนาลัย ไหลลงมาทางทิศใต้ ผ่านพื้นที่อำเภอสวรรคโลก ไปบรรจบกับห้วยแม่มอกที่อำเภอศรีสำโรง เป็นระยะทางประมาณ ๗๐กิโลเมตร

อาณาจักรสุโขทัยเลือกตั้งในพื้นที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์


วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สายน้ำแหล่งชีวิต ๑



ขอขอบคุณภาพจาก 10 FOTOS



จากลำห้วย ลำธาร และลำน้ำหลายสาย ได้ไหลมารวมกัน เป็นแม่น้ำสายใหญ่ ในภาคตะวันออก
ลำน้ำบางปะกงนับเป็นแหล่งชีวิตที่สำคัญของผู้คนริมฝั่งน้ำทุกจังหวัดที่ลำน้ำไหลผ่าน แม้ปัจจุบันการเรียกชื่อแม่น้ำจะเรียกตามจังหวัดที่สายน้ำไหลผ่าน แต่ในความเป็นจริงก็คือสายธารหนึ่งเดียวกัน เป็นลุ่มน้ำที่กว้างใหญ่ อันอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรทางน้ำโดยตรง และเอื้อประโยชน์ต่อทรัพยากรอื่น ๆ ของมวลมนุษย์ และกลายเป็นแหล่ง  ชีวิต อารยธรรม วัฒนธรรม ของชาวภาคตะวันออกที่จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา มาเนิ่นนาน คนไทยมีพื้นฐานการดำเนินชีวิตอยู่ด้วยความผูกพันกับสายน้ำ


ขอขอบคุณภาพจาก 10 FOTOS

อารยธรรม วัฒนธรรมและวิถึชีวิตของผู้คนริมฝั่งแม่น้ำบางปะกงในอดีต เป็นเรื่องราวที่ผู้เขียนพยายามร้อยเรียงเล่าเรื่องความเป็นมา หากจำกัดความคำเรียกขานแม่น้ำบางปะกงในปัจจุบันตั้งแต่ทีี่ตำบลโยธะกาอำเภอบางน้ำเปรี้ยว อันเป็นที่ไหลมาบรรจบกันของแม่น้ำปราจีนบุรี และแม่น้ำนครนายก แม่น้ำบางปะกงที่ไหลผ่านจังหวัดฉะเชิงเทรา ก็มีเรื่องราว แห่งประวัติศาสตร์ แห่งความเชื่อ แห่งความศรัทธา เรื่องราวของปูชนียบุคคล ดังได้กล่าวมาพอเป็นสังเขป เพื่อบอกกล่าวเรื่องราวให้อนุชนรุ่นหลังได้ตระหนักถึงความงดงามแห่งอดีตกาลของเรื่อราวริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง


ขอขอบคุณภาพจากเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา

และเรื่องราวในปัจจุบันของวิถีชีวิตริมฝั่งชายน้ำบางปะกงที่มีคนจำนวนมากมองข้ามสิ่งที่เคยพบเห็นทุกเมื่อเชื่อวันจนไม่เห็นความสำคัญ และไม่ใส่ใจกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงแปรไปจากอดีต ไม่คำนึงถึงอนาคตของแม่น้ำบางปะกงในวันข้างหน้า

ไม่เพียงแม่น้ำบางปะกงเท่านั้นที่เป็นสายน้ำแห่งชีวิต แม่น้ำทุกสายในโลกนี้ล้วนเป็นสายน้ำแห่งชีวิตด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งมีบทความย่อ ๆ ของลุ่มน้ำที่สำคัญในโลก ในบทความเรื่อง
สายน้ำ...นำมาอารยธรรมโลกเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๗


น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่ายิ่งต่อมวลมนุษยชาติ แต่เรามักลืมเลือนความสำคัญของแหล่งที่มาของน้ำเพราะไม่ว่าจะไปที่ใดก็จะพบเห็น น้ำ เสมอไม่ว่าที่ภูเขาเราก็จะเห็นสายธารเล็ก ๆ บ่างก็เป็นน้ำตก สทะเล มหาสมุทร แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง คลองชลประทาน บ่่อน้ำจากการขุด บ่อบาดาล ท่อน้ำประปา

แต่โบราณกาลมาน้ำมีความผูกพันกับวิถีชีวิตของผู้คนบนโลก มีความสำคัญในการเลือกเป็นทำเลที่ตั้งของถิ่นฐานมนุษย์ ที่เมื่อได้ตั้งรกรากลงแล้วการดำเนินชีวิตและเพื่อการอยู่รอดก็นำพามาซึ่ง อารยธรรมต่าง ๆ ภูมิปัญญาต่างมากมายก่อเกิดเป็น ความเชื่อ ขนบธรรมเรียม ประเพณี และวิถึการดำรงชีวิตของท้องถิ่น มีผู้กล่าวว่า น้ำเป็นสัญลักษณ์แห่งการเริ่มต้น การดำรงอยู่ และการสิ้นสุดของสรรพสิ่งทั้งมวล




ขอขอบคุณภาพจากเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา